ประกันภัยรถยนต์,สาระสำคัญ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ 2535 โดย Asn Broker (asnbroker)

สาระสำคัญของพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535

ประกันภัยรถยนต์, ประกันรถยนต์ ,ประกันชั้น1, โบรกเกอร์, ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส, ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส, ต่อประกันรถยนต์, broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ, ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

1.วัตถุประสงค์

พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 กำหนดให้รถทุกประเภทต้องจัดให้มีการประกันภัยโดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

1.1 เพื่อให้ความคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนทุกคน ซึ่งได้รับความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยเพราะเหตุประสบภัยจากรถให้ได้รับการแก้ไขเยียวยา โดยให้ได้รับค่าเสียหายเพื่อนำไปเป็นค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลในกรณีได้รับอันตรายแก่กายหรืออนามัยหรือให้ได้รับเงินช่วยเหลือเป็นค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการจัดการศพในกรณีเสียชีวิตโดยเร็วที่สุด หลังจากที่ได้รับอุบัติเหตุจากรถโดยไม่ต้องรอการพิสูจน์ความรับผิด พร้อมทั้งให้มีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนเป็นจำนวนพอสมควรหลังจากที่มีการพิสูจน์ ความรับผิดแล้ว
1.2 เพื่อเป็นหลักประกันให้กับโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลทุกแห่งว่าจะได้รับค่ารักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลอย่างแน่นอนและรวดเร็ว เมื่อได้รับผู้ประสบภัยจากรถเข้ารักษาตัว
1.3 เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้ธุรกิจประกันภัยเข้ามามีส่วนร่วมในการแบ่งเบาภาระค่าเสียหาย ทั้งนี้เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประสบภัยและครอบครัว
1.4 เพื่อให้การประกันภัยเข้ามาช่วยร่วมในการแบ่งเบาภาระของรัฐบาล ในด้านการให้สวัสดิการสงเคราะห์แก่ผู้ประสบภัยจากรถ1

2.การบังคับใช้

พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน 2536 เป็นต้นไป โดยกำหนดบทเฉพาะกาลให้เจ้าของรถซึ่งใช้รถหรือมีรถไว้เพื่อใช้ ต้องดำเนินการจัดให้มีประกันภัยเพื่อคุ้มครองความเสียหายที่อาจเกิดแก่ผู้ประสบภัยจากรถให้เสร็จสิ้นภายใน 180 วัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัติใช้บังคับ (สิ้นสุด 1 ตุลาคม 2536) มิฉะนั้นจะมีความผิดและได้รับโทษตามที่กฎหมายระบุ

แต่เนื่องจากความไม่พร้อมของเจ้าของรถบางประเภท (เช่น รถจักรยานยนต์ ที่จดทะเบียนไว้ก่อนวันที่ 5 เมษายน 2536 รถสกายแลป (รถยนต์สามล้อที่แปรสภาพมาจากรถจักรยานยนต์) และรถอีแต๋น) ซึ่งส่วนใหญ่มีรายได้น้อย ประกอบกับความไม่พร้อมของบริษัทประกันภัย ที่จะให้บริการและไม่อาจรองรับต่อปริมาณของรถที่จะมาทำประกันภัย

จึงได้มีการออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 9 (พ.ศ.2536) และฉบับที่ 10 (พ.ศ.2538) เพื่อผ่อนผันการจัดทำประกันภัย ภาคบังคับตาม พระราชบัญญัติฉบับนี้ ซึ่งขณะนี้พ้นระยะเวลาผ่อนผันทั้งหมดแล้ว

ดังนั้น ในปัจจุบันรถทุกคันทุกชนิด และทุกประเภทจะต้องจัดให้มีการทำประกันภาคบังคับตามพระราชบัญญัตินี้ มิฉะนั้นจะมีความผิดได้รับโทษตามที่กฎหมายกำหนด

3.ขอบเขตความคุ้มครอง

3.1 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถให้ความคุ้มครองแก่ประชาชน ทุกคนที่ประสบภัยจากรถ ไม่ว่าผู้นั้นจะอยู่ในฐานะเป็นเจ้าของรถ ผู้ขับขี่รถ ผู้โดยสาร คนเดินถนน และไม่ว่าผู้นั้นจะอยู่ในรถหรือนอกรถ หรือแม้แต่คนที่กำลังนอนอยู่ที่บ้าน หากปรากฏว่า บุคคลดังกล่าวนั้นได้รับความเสียหายแก่ร่างกายหรืออนามัยหรือได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิต อันเนื่องมาจากอุบัติเหตุที่เกิดจากรถที่ใช้หรือเนื่องจากสิ่งที่บรรทุกหรือติดตั้งในรถนั้น โดยไม่คำนึงว่าผู้ประสบภัยนั้นจะเป็นฝ่ายผิดหรือไม่ จะได้รับความคุ้มครองในทันทีที่ประสบภัยจากรถ โดยจะได้รับการชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นตามจำนวนที่กฎหมายกำหนดไว้ เพื่อเป็นค่ารักษาพยาบาลในกรณีที่ประสบภัยได้รับอันตรายแก่กายหรืออนามัย หรือเพื่อเป็นค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการจัดการศพในกรณีเสียชีวิต นอกจากนั้นยังได้รับค่าทดแทนในกรณีสูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพถาวร ตลอดจนมีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนอย่างอื่นเป็นจำนวนเงินพอสมควรตามวงเงินคุ้มครอง ที่กฎหมายกำหนดไว้หลังจากที่มีการพิสูจน์ความรับผิดตามกฎหมายแล้ว

3.2 การให้ความคุ้มครองผู้ประสบภัยตามพระราชบัญญัตินี้คลุมถึงกรณีผู้ขับขี่รถคันที่เอาประกันภัยซึ่งมิใช่ผู้เอาประกันภัย ตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ แต่ขับขี่รถโดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัย เช่น สมชายยืมรถของสมโชค ซึ่งทำประกันภัยไว้กับบริษัท และเกิดอุบัติเหตุชนสมหญิงได้รับอันตรายสาหัส กรณีนี้บริษัทรับประกันภัยจะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่สมหญิงเต็มตามจำนวนคุ้มครอง จะปฏิเสธความรับผิดว่ามิได้เกิดจากความประมาทของผู้เอาประกันภัยไม่ได้

3.3 การให้ความคุ้มครองตามพระราชบัญญัตินี้ยังคุ้มครองไปถึงความรับผิดของผู้โดยสารในรถคันที่เอาประกันภัยด้วย เช่น แดง ขับรถคันที่เอาประกันภัยไว้ โดยมีขาวและเขียวนั่งโดยสารไปด้วย ขณะแดงจอดรถไว้ข้างถนน เขียวซึ่งนั่งอยู่ด้านหลังเปิดประตูโดยมิได้ระมัดระวัง ทำให้ดำซึ่งขี่รถจักรยานยนต์ตามหลังมาพุ่งชนเสียหลักล้มลง ดำถึงแก่ความตาย เมื่อเขียวผู้โดยสารเป็นฝ่ายที่ต้องรับผิดตามกฎหมายแล้ว บริษัท ในฐานะผู้รับประกันภัยจะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ทายาทของดำ ในนามเขียว จะปฏิเสธความรับผิดอ้างว่ามิใช่เป็นการกระทำของผู้เอาประกันภัยไม่ได้2

4.คณะกรรมการ และหน่วยงานตามกฎหมาย

4.1 คณะกรรมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ

พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2540 มาตรา 6 กำหนดให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ” ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน ผู้แทนกระทรวงกลาโหม ผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนกระทรวงคมนาคม ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข ผู้แทนทบวงมหาวิทยาลัย ผู้แทนกรมการปกครอง ผู้แทนกรมตำรวจ ผู้ซึ่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคตามกฎหมาย ว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภคมอบหมายหนึ่งคน ผู้แทนสมาคมนายหน้าประกันภัย ผู้แทนสมาคมประกันวินาศภัย ผู้แทนสมาคมโรงพยาบาลเอกชน ผู้แทนแพทยสภาและ ผู้ทรงคุณวุฒิอีกไม่เกิน 4 คน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นกรรมการ โดยมีอธิบดีกรมการประกันภัยเป็นกรรมการและเลขานุการ และผู้อำนวยการสำนักนายทะเบียนคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถเป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

หมายเหตุ ตามพระราชกฤษฎีกาแก้ไขบทบัญญัติสอดคล้องกับการโอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545 พ.ศ.2545 มาตรา 48 ได้แก้ไขคำว่า “ผู้แทนกรมการปกครอง” ในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 เป็น “ผู้แทนกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย”

ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้

– ให้คำแนะนำแก่รัฐมนตรีในการออกกฎกระทรวงต่าง ๆ

– กำหนดมาตรฐานกลางของรายการและจำนวนเงินค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่บริษัทหรือกองทุนต้องจ่ายให้แก่ผู้ประสบภัย

– พิจารณาปัญหาเกี่ยวกับการจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นและหรือเงินอื่นตามพระราชบัญญัตินี้หรือเกี่ยวกับรายการและจำนวนเงินค่ารักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามที่นายทะเบียนขอความเห็นหรือตามที่ประสบภัยร้องขอ

– ปฏิบัติการอื่นตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ หรือตามที่รัฐมนตรีมอบหมาย

4.2 สำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย

พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2540 มาตรา 33 กำหนดให้มีการจัดตั้งกองทุนขึ้นมา กองทุนหนึ่งเรียกว่า “กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย” มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นทุนสำหรับจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ ผู้ประสบภัย ในกรณีที่ผู้ประสบภัยไม่สามารถเรียกร้องค่าเสียหายจากที่ใดได้ โดยผู้ประสบภัยสามารถยื่นคำร้องขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นได้จาก สำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ซึ่งตั้งอยู่ในกรมการประกันภัย กระทรวงพาณิชย์ หรือเรียกร้องจากสำนักงานคุ้มครองผู้เอาประกันภัยเขตทั้ง 4 เขต ในกรุงเทพมหานคร หรือที่สำนักงานประกันภัยจังหวัดทุกจังหวัด

ผู้ประสบภัยจากรถ หรือทายาทจะสามารถยื่นคำร้องขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยได้ก็เฉพาะแต่ในกรณีที่กำหนดในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2540 มาตรา 22 คือ

– เจ้าของรถที่ก่อให้เกิดความเสียหายไม่ได้ทำประกันภัยไว้ และไม่ยอมจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ ผู้ประสบภัย หรือจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้ไม่ครบจำนวน

– ขณะเกิดเหตุ รถที่ก่อให้เกิดความเสียหายไม่ได้อยู่ในความครอบครองของเจ้าของรถเพราะรถนั้นได้ถูกยักยอก ฉ้อโกง กรรโชก ลักทรัพย์ รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ หรือปล้นทรัพย์ และเจ้าของรถได้ร้องทุกข์ไว้กับพนักงานสอบสวนแล้ว ซึ่งกรณีเช่นนี้บริษัท ประกันภัยหรือเจ้าของรถจะไม่ต้องรับผิด

– ไม่มีผู้แสดงตนเป็นเจ้าของรถที่ก่อให้เกิดความเสียหาย และรถไม่มีการประกันภัยกับบริษัท เช่น ขับรถชนแล้วทิ้งรถไว้ในที่เกิดเหตุ คนขับหลบหนีไป และไม่มีใครแสดงตนว่าเป็นเจ้าของรถและรถคันนั้นไม่มีการประกันภัยไว้กับบริษัท

– มีความเสียหายเกิดขึ้นแก่ผู้ประสบภัย และรถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหายนั้นหลบหนีไปหรือ ไม่อาจทราบได้ว่ารถคันใดก่อให้เกิดความเสียหาย

– บริษัทประกันภัยปฏิเสธการจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัย หรือจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้ไม่ครบจำนวน

– ความเสียหายเกิดจากรถที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องทำประกันตามพระราชบัญญัตินี้ เช่น รถสำหรับเฉพาะองค์ พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท รถของสำนักพระราชวัง รถของส่วนราชการต่าง ๆ ทั้งส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น รถยนต์ทหาร ฯลฯ

ข้อสังเกต การขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย จะขอรับได้เฉพาะค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น ผู้ประสบภัยหรือทายาทจะไม่มีสิทธิขอรับค่าเสียหายในส่วนที่เกินกว่าค่าเสียหายเบื้องต้นเหมือนกับกรณีขอรับค่าเสียหายจากบริษัทประกันภัย หรือจากบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด 3

4.3 บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2540 มาตรา 10 ทวิ กำหนดให้มีการจัดตั้ง บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ขึ้น ทำหน้าที่ให้บริการเกี่ยวกับการรับคำร้องขอและจ่าย ค่าสินไหมทดแทนหรือเงินต่าง ๆ ตามพระราชบัญญัตินี้รวมทั้งดำเนินกิจการต่าง ๆ ตามที่บริษัทประกันภัยหรือสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยมอบหมาย ทั้งนี้ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประสบภัย ในกรณีที่ไม่สามารถเรียกร้องค่าเสียหายเอาจากบริษัทประกันภัยรถคันที่เกิดเหตุได้ ให้สามารถเรียกร้องค่าเสียหายผ่านทางบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ได้

นอกจากนี้ บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ยังได้รับทำประกันภัยสำหรับรถจักรยานยนต์ตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย ขณะนี้ บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ได้เปิดดำเนินการเพื่อให้บริการครอบคลุมครบทุกจังหวัด รวมทั้งกรุงเทพมหานครแล้ว

5.ข้อพึงปฏิบัติสำหรับผู้เกี่ยวข้อง

5.1 ผู้ประสบภัยหรือบุคคลทั่วไปเมื่อประสบภัยจากรถ

เมื่ออุบัติเหตุจากรถเกิดขึ้น ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุหรือผู้พบเห็นอุบัติเหตุจากรถทุกคันควรปฏิบัติ ดังนี้
– ในกรณีมีผู้ได้รับบาดเจ็บให้รีบนำผู้ได้รับบาดเจ็บส่งโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่ใกล้และสะดวกที่สุดเพื่อรับการรักษาโดยเร็ว และอย่าลืมแจ้งกับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลว่าเป็นผู้ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุที่เกิดจากรถ

– ให้ตรวจดูเครื่องหมายสี่เหลี่ยมที่ติดอยู่ที่กระจกหน้ารถด้วยว่ารถคันที่เกิดเหตุได้ทำประกันไว้หรือไม่ ถ้าทำประกันภัยไว้ได้ทำไว้กับบริษัทอะไร กรมธรรม์เลขที่เท่าใด เพื่อที่จะได้แจ้งกับโรงพยาบาลและบริษัทประกันภัยได้อย่างถูกต้อง

– แจ้งเหตุที่เกิดขึ้นให้ตำรวจทราบและขอสำเนาบันทึกประจำวันของตำรวจเก็บไว้

– ให้แจ้งชื่อ ที่อยู่ ผู้ที่พบเห็นเหตุการณ์เพื่อช่วยเหลือในการเป็นพยานให้แก่คนเจ็บ

– แจ้งให้บริษัททราบถึงอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งแจ้งวัน เวลา และสถานที่เกิดเหตุ แต่ถ้าหากไม่มีบริษัทประกันภัยในพื้นที่ ให้แจ้งเหตุไปที่บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประกันภัยจากรถ จำกัด ซึ่งมีอยู่ทุกจังหวัด

– ติดต่อขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นและค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัย หรือมอบอำนาจให้ทายาทโดยธรรมหรือโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลยื่นคำร้องขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นแทนก็ได้ โดยเตรียมเอกสารต่าง ๆ เช่น ใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาลฉบับจริง สำเนากรมธรรม์ประกันภัยรถคันที่เกิดเหตุ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือหลักฐานอื่นใดที่ออกโดยราชการ เป็นต้น

– กรณีไม่สามารถจดจำหมายเลขทะเบียนรถคันที่เฉี่ยวชนได้ ให้ผู้บาดเจ็บนำเอกสารคือ ใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาลฉบับจริง สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนารายงานประจำวันในคดีของพนักงานสอบสวน ไปติดต่อขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจาก สำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ซึ่งตั้งอยู่ที่กรมการประกันภัย กระทรวงพาณิชย์ หรือที่สำนักงานคุ้มครองผู้เอาประกันภัยเขตทั้ง 4 เขต ในกรุงเทพมหานคร หรือที่สำนักงานประกันภัยจังหวัดทุกจังหวัด

– กรณีไม่ได้รับความสะดวก หรือไม่สามารถติดต่อบริษัทประกันภัยได้ เนื่องจากบริษัท ไม่มีสาขาอยู่ในต่างจังหวัด สามารถติดต่อผ่านทางบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ซึ่งมีอยู่ทุกจังหวัดให้เป็นผู้ประสานงานให้

5.2 สถานพยาบาลเมื่อรับผู้ประสบภัยจากรถ
โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่รับผู้ประสบภัยที่ประสบอุบัติเหตุจากรถ ควรปฏิบัติ ดังนี้
– ให้การรักษาพยาบาลผู้ประสบภัยโดยเร็วที่สุดและอย่างดีที่สุด

– ทำประวัติคนไข้ และขอสำเนาบัตรประจำตัวผู้ประสบภัย

– ขอสำเนาบันทึกประจำวันของตำรวจ

– บันทึกชื่อบริษัทประกันภัยที่รับประกันภัยไว้ และถ้าอุบัติเหตุเกิดจากรถตั้งแต่ 2 คัน ขึ้นไปชนกัน ก็บันทึกชื่อบริษัทประกันภัยทุกบริษัท พร้อมทั้งขอถ่ายสำเนากรมธรรม์ประกันภัยไว้ด้วย

– บันทึกชื่อ ที่อยู่ ผู้นำคนเจ็บส่งเข้ารับการรักษา

5.3 ผู้เอาประกันภัยหรือผู้ขับขี่เมื่อประสบภัยจากรถ
– แจ้งให้บริษัทรับประกันภัยทราบโดยไม่ชักช้า ทั้งนี้เพื่อบริษัทจะได้เข้าไปดูแลและรักษาสิทธิอันพึงมีพึงได้ของผู้เอาประกันภัยและบริษัท
– ส่งให้บริษัททันทีเมื่อได้รับหมายศาล หรือคำสั่ง หรือคำบังคับของศาล ทั้งนี้ เนื่องจากกระบวนพิจารณาความมักจะกำหนดเวลาในการดำเนินคดีไว้ เช่น เมื่อผู้เอาประกันภัยถูกฟ้อง จะต้องยื่นคำให้การแก้คดีภายใน 15 วัน มิฉะนั้น ศาลอาจสั่งขาดนัดยื่นคำให้การ ทำให้ไม่มีประเด็นจะต่อสู้ อาจแพ้คดีได้ ดังนั้น ผู้เอาประกันภัยจึงต้องส่งหมายศาล หรือคำสั่งศาลหรือคำบังคับให้แก่บริษัท โดยเร็ว เพื่อที่บริษัทจะได้หาแนวทางต่อสู้คดีได้ทันการณ์

แต่ถึงแม้ผู้เอาประกันภัยจะมิได้ปฏิบัติดังกล่าว ก็ไม่ทำให้บริษัทพ้นความรับผิด เพียงแต่บริษัทมีสิทธิเรียกค่าเสียหายอันเกิดจากการที่มิได้ปฏิบัติดังกล่าวนี้เท่านั้น โดยเป็นหน้าที่ของบริษัทที่จะต้องพิสูจน์ถึงความเสียหายที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม แม้ว่าความเสียหายจะเกิดแก่บริษัทก็ตาม ผู้เอาประกันภัยก็ไม่ต้องรับผิด หากพิสูจน์ได้ว่าตนไม่สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดนี้ได้

– มีหนังสือบอกกล่าวให้บริษัททราบทันทีเมื่อมีการดำเนินคดีแพ่งหรือคดีอาญาทางศาลอันอาจทำให้เกิดสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์นี้ ถ้าผู้เอาประกันภัยมิได้ปฏิบัติตามข้อนี้ บริษัทอาจเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากผู้เอาประกันภัย เพื่อความเสียหายใด ๆ อันเกิดจากการนั้น เว้นแต่ผู้เอาประกันภัยจะพิสูจน์ได้ว่าไม่สามารถปฏิบัติได้

– ผู้เอาประกันภัยจะต้องไม่ตกลงยินยอม เสนอ หรือให้สัญญาว่าจะชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บุคคลใด โดยไม่ได้รับความยินยอมจากบริษัทประกันภัย เว้นแต่ความเสียหายนั้น ผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายที่จะต้องรับผิดตามกฎหมาย และบริษัทไม่จัดการต่อการเรียกร้องนั้น ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้ผู้เอาประกันภัยไปตกลงยินยอมรับผิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ซึ่งอาจมีผลเสียหายต่อ ผู้เอาประกันเองได้ ถ้าหากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นมิได้เป็นความผิดของผู้เอาประกันภัย
แต่ถ้าเป็นความผิดของผู้เอาประกันภัยแล้ว แม้ผู้เอาประกันภัยจะไปตกลงว่าจะชดใช้ค่าเสียหายโดยไม่ได้รับความยินยอมจากบริษัทก็ตาม บริษัทก็ไม่สามารถยกเป็นข้อปฏิเสธความรับผิดได้ เพียงแต่บริษัทไม่ผูกพันรับผิดตามจำนวนที่ผู้เอาประกันไปตกลงไว้ คงรับผิดตามจำนวนค่าเสียหายที่แท้จริงเท่านั้น เช่น แดงขับรถชนขาวได้รับบาดเจ็บ และแดงเป็นฝ่ายที่ต้องรับผิดตามกฎหมาย แดงตกลงชดใช้ค่าเสียหายให้ขาวจำนวน 50,000 บาท โดยไม่รับความยินยอมจากบริษัท โดยความเสียหายที่แท้จริงมีเพียง 30,000 บาท ดังนี้ บริษัทปฏิเสธความรับผิดไม่ได้ เพียงแต่ไม่ต้องรับผิดจำนวน 50,000 บาท คงรับผิดเพียง 30,000 บาท ตามความเสียหายที่แท้จริงเท่านั้น สำหรับค่าเสียหายส่วนที่เกินอีก 20,000 บาท ขาวจะต้องไปเรียกร้องเอาจากแดงเอง

– เมื่อมีการกระทำความผิดในทางอาญาโดยบุคคลใด ซึ่งทำให้เกิดสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ ผู้เอาประกันภัยต้องแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยไม่ชักช้า แต่อย่างไรก็ตาม การที่ผู้เอาประกันภัยมิได้แจ้งความก็ไม่เป็นเหตุให้บริษัทปฏิเสธความรับผิดได้ หากปรากฏข้อเท็จจริงชัดเจนว่ามีความเสียหายที่อาจเรียกร้องจากบริษัทได้ตามสัญญานี้จริง4

6.การชดใช้ค่าเสียหาย

6.1 บริษัทประกันภัยต้องจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นแก่ ผู้ประสบภัยหรือทายาทภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ผู้ประสบภัยหรือทายาทร้องขอต่อบริษัทโดยไม่ต้องรอการพิสูจน์ความถูกผิดของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น

6.2 ในกรณีที่บริษัทประกันภัยไม่จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นหรือจ่ายให้ไม่ครบ ให้ผู้ประสบภัยหรือทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัยแล้วแต่กรณียื่นคำร้องขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นตามแบบฟอร์มของทางราชการ ต่อสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ซึ่งตั้งอยู่ที่กรมการประกันภัย กระทรวงพาณิชย์ เลขที่ 44/100 ถ.สนามบินน้ำ – นนทบุรี ต.บางกระสอ อ.เมือง จ.นนทบุรี และส่วนคุ้มครองผู้เอาประกันภัยเขตทั้ง 4 เขต เขต 1 พระโขนง เขต 2 บางเขน เขต 3 ธนบุรี เขต 4 ตลิ่งชัน สำหรับต่างจังหวัดสามารถติดต่อได้ที่ สำนักงานประกันภัยจังหวัดทุกจังหวัด

6.3 ผู้ประสบภัยที่เป็นผู้ขับขี่และเป็นฝ่ายผิดหรือไม่มีผู้ใดรับผิดตามกฎหมายจะได้รับการชดใช้เฉพาะค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น

6.4 ผู้ประสบภัยสามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในส่วนที่เกินกว่าความคุ้มครองตามกฎหมายนี้ได้จากผู้กระทำละเมิดและผู้กระทำความผิดต้องได้รับโทษทางอาญาด้วย

6.5 ในกรณีที่รถตั้งแต่สองคันขึ้นไปก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ประสบภัยซึ่งอยู่ในรถ ให้บริษัทที่รับประกันภัยรถแต่ละคันนั้นจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยที่อยู่ในรถคันที่เอาประกันกับบริษัท แต่ถ้าผู้ประสบภัยเป็นผู้ที่อยู่นอกรถ (อาจเดินอยู่บนถนน หรือในบ้าน ฯลฯ) ให้บริษัทที่รับประกันภัยรถที่ก่อเหตุแต่ละคันนั้นร่วมกันจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยทุกคนโดยเฉลี่ยจ่ายในอัตราส่วนที่เท่ากัน

6.6 ในกรณีที่บริษัท หรือเจ้าของรถ บอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยก่อนครบกำหนดความคุ้มครอง (ก่อนวันสิ้นสุดอายุสัญญา) ไม่ว่าด้วยเหตุใด บริษัทต้องแจ้งบอกการเลิกนั้นให้นายทะเบียนทราบและเจ้าของรถต้องส่งคืนเครื่องหมาย (สติกเกอร์) แสดงว่ามีการประกันภัยให้แก่นายทะเบียน (อธิบดีกรมการประกันภัย หรือผู้ซึ่งนายทะเบียนมอบหมาย) หรือทำให้เครื่องหมายนั้นใช้ต่อไปไม่ได้ 5

7.บทกำหนดโทษ
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ได้กำหนดโทษของการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายไว้หลายกรณี อาทิ

7.1 เจ้าของผู้ถือกรรมสิทธิ์ในรถ หรือผู้ครอบครองในฐานะผู้เช่าซื้อรถ ผู้ใดไม่จัดให้มีการประกันภัยตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท (มาตรา 37)

7.2 ผู้ใดนำรถที่ไม่ได้จัดให้มีการประกันภัยตามพระราชบัญญัตินี้ออกใช้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท (มาตรา 39)

7.3 เจ้าของผู้ถือกรรมสิทธิ์ในรถ หรือผู้ครอบครองในฐานะผู้เช่าซื้อรถ ผู้ใดไม่ติดเครื่องหมายแสดงว่ามีการประกันภัยตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท (มาตรา 40)

7.4 ผู้ประสบภัยผู้ใดยื่นคำขอรับชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นโดยทุจริตหรือแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จ เพื่อขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นตามกฎหมายนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 45)

7.5 ผู้ใดปลอมเครื่องหมายที่ระบุว่าได้มีการประกันภัยแล้ว หรือนำเครื่องหมายปลอมมาติด ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 10,000 บาท ถึง 100,000 บาท (มาตรา 41)

7.6 บริษัทประกันวินาศภัยใด ซึ่งได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการรับประกันภัยรถ ฝ่าฝืนไม่ยอมรับประกันภัยตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 50,000 บาท ถึง 250,000 บาท (มาตรา 38)

บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ที่มีโทษปรับสถานเดียว ให้นายทะเบียน (อธิบดีกรมการประกันภัยหรือผู้ที่อธิบดีกรมการประกันภัยมอบหมาย) มีอำนาจเปรียบเทียบปรับได้ และเมื่อได้ชำระค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบภายใน 30 วัน ให้ถือว่าคดีเลิกกัน

8.หน่วยงานให้คำปรึกษา

8.1 กรมการประกันภัย กระทรวงพาณิชย์

44/100 ถนนสนามบินน้ำ – นนทบุรี ตำบลบางกระสอ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี โทร.0-2547-4500-3

ประกันภัยรถยนต์, ประกันรถยนต์ ,ประกันชั้น1, โบรกเกอร์, ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส, ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส, ต่อประกันรถยนต์, broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ, ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

8.2 สำนักงานคุ้มครองผู้เอาประกันภัยเขตทั้ง 4 เขต

– เขต 1
446/3 อาคารปาร์ค อเวนิว ถนนสุขุมวิท 71 แขวงพระโขนงฝั่งเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 โทร.0-2711-0570-1
รับผิดชอบพื้นที่
คลองเตย บางนา พระโขนง ลาดกระบัง วัฒนา ประเวศ สวนหลวง สะพานสูง บางกะปิ วังทองหลาง ห้วยขวาง ดินแดง ราชเทวี ปทุมวัน

– เขต 2

8/8 ซอยวิภาวดี 44 ถนนวิภาวดี แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทร.0-2562-0751-4
รับผิดชอบพื้นที่
เขตพญาไท จตุจักร บางซื่อ ดุสิต ดอนเมือง สายไหม บางเขน มีนบุรี หนองจอก คลองสามวา คันนายาว บึงกุ่ม ลาดพร้าว หลักสี่

– เขต 3
287 ซอยรัชดาภิเษก 6 ถนนรัชดาภิเษก – ท่าพระ แขวงบุคคโล เขตธนบุรี กรุงเทพฯ 10600 โทร.0-2476-9940-3
รับผิดชอบพื้นที่
เขตคลองสาน จอมทอง บางบอน บางขุนเทียน ธนบุรี ราษฎร์บูรณะ ทุ่งครุ ยานนาวา สาธร บางรัก บางคอแหลม

– เขต 4
60/78-79 ถนนปิ่นเกล้า-นครชัยศรี แขวงตลิ่งชัน เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร.0-2880-8500, 0-2880-7990
รับผิดชอบพื้นที่
เขตบางกอกน้อย บางกอกใหญ่ บางพลัด บางแค ภาษีเจริญ ทวีวัฒนา ตลิ่งชัน หนองแขม พระนคร ป้อมปราบศัตรูพ่าย สัมพันธวงศ์

8.3 สำนักงานประกันภัยจังหวัดทุกจังหวัด 6

ประกันภัยรถยนต์, ประกันรถยนต์ ,ประกันชั้น1, โบรกเกอร์, ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส, ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส, ต่อประกันรถยนต์, broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ, ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

 

เรียบเรียงข้อมูลโดย Asn Broker

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง Asn Broker Blog , Asn Broker Blogspot , Asn Broker Exteen , Asn Broker Wikidot , Asn Broker on WordPress Asn Broker Journal Blog

ขอฝากกิจกรรม ไว้ด้วยนะครับ  กิจกรรม จับ แจก ฟรี ตั๋วหนัง !! 

ดูรายละเอียดกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่ Asn Broker Campaign

ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันชั้น1,โบรกเกอร์,ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส,ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส,ต่อประกันรถยนต์,broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ,ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

 

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s