การประกันภัยรถยนต์,วิธีการตรวจสอบ และการเลือกซื้อรถยนต์มือสอง โดย Asn Broker (asnbroker)

วิธีการตรวจสอบ และการเลือกซื้อรถยนต์มือสอง

ความหมายของรถยนต์มือสอง
รถยนต์มือสอง หมายถึง รถยนต์ที่ผ่านการใช้มาแล้ว แต่ยังอยู่ในสภาพที่ยังใช้งานได้ และสามารถนำมาประเมินราคาตามสภาพของรถยนต์ได้
 
 
การซื้อ-ขายรถยนต์มือสองหลักๆแล้ว จะมีการซื้อขายรถยนต์มือสองอยู่ 2 ประเภท
1.รถบ้าน คือรถมือสองที่เจ้าของขายเอง หรือ ซื้อขายโดยตรงกับผู้ใช้รถ
2.รถเต็นท์ คือการซื้อขายรถมือสองกันเป็นธุรกิจ การซื้อขายรถมือสองผ่านคนกลาง หรือ ไม่ใช่โดยตรงกับผู้ใช้รถ
 
 
ข้อแนะนำในการเลือกซื้อรถยนต์มือสอง 
การเลือกซื้อรถมือสองมาใช้สักคันหนึ่งนั้น เป็นเรื่องที่เราควรให้ความสำคัญ เราควรตรวจสอบสภาพรถมือสองนั้นๆ อย่างถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจซื้อ อย่าซื้อโดยใช้อารมณ์หรือความชอบเป็นหลัก แต่ควรเน้นเรื่องสภาพและความสมบูรณ์ของรถยนต์ เพื่อไม่ให้เสียใจและเสียเงินโดยเปล่าประโยชน์ วันนี้ทางเราขอแนะนำวิธีการตรวจสอบรถยนต์มือสอง สำหรับผู้ที่กำลังมองหารถมือสองอยู่ ซึ่งไม่ใช่เรื่องยากในการที่จะเลือกรถใช้แล้วที่ยังสภาพดีสักคันมาใช้ครับ
 
ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันชั้น1,โบรกเกอร์,ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส,ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส,ต่อประกันรถยนต์,broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ,ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์
 

สิ่งที่ท่านต้องเตรียม

ท่านควรแต่งกายให้ทะมัดทะแมงด้วยเสื้อผ้าที่พร้อมจะลุย เพราะท่านอาจจะต้องก้มลงมอง ใต้ท้องรถ ตลอดทั้งตรวจอุปกรณ์ต่างๆ ภายในห้องเครื่องยนต์ และอย่าลืมเตรียมอุปกรณ์เหล่านี้
1. ไฟฉายสำหรับส่งดูจุดต่างๆ ที่เห็นไม่ชัดเจน เช่น ในห้องเครื่องยนต์
2. แม่เหล็กขนาดเล็ก สำหรับตรวจสอบวัสดุชิ้นนั้นๆ ว่าเป็นเหล็กหรือพลาสติก
3. ผ้าขนาดกะทัดรัด สำหรับเช็ดคราบน้ำมันและคราบต่างๆ เพื่อที่จะได้เห็นการรั่วซึมได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
4. สมุดบันทึกสำหรับจดบันทึกข้อมูลของรถแต่ละคันเพื่อทำการเปรียบเทียบ
5. เพื่อนสนิทสักคน (โดยเฉพาะคนที่มีความรู้เรื่องรถยนต์ยิ่งดี) สำหรับปรึกษาหารือ รวมทั้งช่วยตรวจสภาพ เช่น
ช่วยฟังเสียงในขณะที่ท่านเร่องเครื่องยนต์ ช่วยวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้นับว่ามีผลทางจิตวิทยา
ในการต่อรองเป็นอย่างมาก อย่างน้อยที่สุดผู้ขายก็จะไม่มีความรู้สึกว่าไม่ง่ายในการที่จะโน้มน้าวให้ท่านซื้อได้ง่ายๆ
6.การไปดูรถหรือเลือกซื้อรถควรทำในเวลากลางวัน ควรหลีกเลี่ยงไปดูรถในเวลากลางคืน หรือโพล้เพล้เด็ดขาด เพราะความมืดสลัวนั้นจะซ่อนเร้นริ้วรอยต่างๆ
 

ขั้นตอนตรวจสภาพรถยนต์ 

การตรวจสภาพภายในรถยนต์อย่างละเอียดถี่ถ้วนจะสามารถบอกเราได้ว่า เจ้าของเดิมใช้รถคันนี้อย่างไร หาก ภายในถูกปล่อยปะละเลยนั้นย่อมหมายความว่าส่วนอื่นๆ ก็คงจะถูกปล่อยปะละเลยเช่นกัน สิ่งที่ควรได้รับการ ตรวจสอบภายในมีดังต่อไปนี้

1. เบาะที่นั่ง วัสดุหุ้มแผงประตู พรมปูพื้น เบาะที่นั่งจะบอกเราได้ว่า รถถูกใช้งานหนักเพียงใด ให้สังเกต ที่ความอ่อนยวบ หรือฉีกขาด หากเบาะที่นั่งถูกหุ้มไว้ควรสำรวจความเสียหายใต้สิ่งที่ห่อหุ้มด้วย โดยปกติเบาะที่นั่งด้าน คนขับจะอ่อนยวบมากที่สุด หากเบาะด้านคนนั่งเป็นเช่นเดียวกันแสดงว่า โดยปกติรถคันนั้นนั่ง 2 คน หากเบาะที่นั่งด้าน หลังมีสภาพยับเยินมาก ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า รถคันดังกล่าวอาจเคยเป็นรถแท็กซี่มาก่อน ในกรณีเบาะที่นั่งด้านหน้าและ ด้านหลังอ่อนยวบ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่ารถคันดังกล่าวใช้ในครอบครัวใหญ่ นอกเหนือจากเบาะที่นั่งแล้วควรสำรวจ วัสดุหุ้มแผงประตู และพรมปูพื้นและใต้พรมปูพื้นด้วยเช่นกัน

2. ทดสอบคันบังคับต่างๆ เช่น ลองเหยียบคันเร่ง คันเหยียบเบรก คันเหยียบเกียร์ รู้สึกว่าฝืดหรือหลวมเกินไปหรือไม่ มีเสียงปกติหรือไม่ ก้านปัดน้ำฝนทำงานทุกตำแหน่งหรือไม่ ก้านปรับไฟสูง-ต่ำทำงานปกติหรือไม่

3.ตรวจสอบมาตรวัดระยะทาง โดยเฉลี่ยรถยนต์จะถูกใช้งานประมาณ 20,000-30,000 กิโลเมตรต่อปี ให้เอาจำนวนปีที่ใช้งานของรถคูณด้วยระยะทางใช้งานเฉลี่ยเปรียบเทียบกับมาตรวัดระยะทาง หากตัวเลข ต่ำผิดปกติ ให้สันนิษฐานว่าตัวเลขอาจถูกหมุนกลับหรือตัวเลขหมุนขึ้นรอบที่สอง ทั้งนี้ควรเปรียบเทียบ กับสภาพของรถยนต์และเครื่องยนต์ด้วย สิ่งหนึ่งที่พึงระลึกไว้เสมอคือรถที่ใช้งานในเมืองอาจมีอัตราการสึกหรอ ของเครื่องยนต์มากว่ารถที่ใช้งานทางไกล โดยอัตราประมาณ 3 ต่อ 1 เมื่อเปรียบเทียบกับระยะทางที่เท่ากัน เนื่องจากรถที่ใช้งานในเมืองต้องประสบปัญหาการจราจรติดขัด

4.ตรวจการทำงานของอุปกรณ์และสัญญาณเตือนต่างๆ บนแผงหน้าปัทม์ โดยเปิดสวิทช์กุญแจไปตำแหน่ง I ณ ตำแหน่ง นี้นาฬิกา วิทยุ-เทป พร้อมที่จะทำงาน บิดสวิทช์ต่อไปตำแหน่ง II ที่ฉีดน้ำล้างกระจกก้านปัดน้ำฝน ไล่ฝ้ากระจกหลัง พัดลมระบายความเย็นในรถยนต์ พร้อมที่จะทำงาน สัญญาณไฟเตือนต่างๆ สว่างค้าง ยกเว้นสัญญาณไฟเตือน รูปเครื่องยนต์ ABS, SRS จะสว่างชั่งครู่แล้วดับ บิดสวิช์กุญแจสตาร์ทเครื่องยนต์เมื่อเครื่องยนต์ติดสัญญาณไฟ ต่างๆ จะดับ ยกเว้นสัญญาณไฟบอกตำแหน่งเกียร์แบบอัตโนมัติ

5.ตรวจสอบภายในลิ้นชักเก็บของ หาดูว่าคู่มือประจำรถและเอกสารสำคัญต่างๆ เช่นประกันภัย คู่มือจดทะเบียน อยู่หรือไม่เงื่อนไขการรับประกันยาวนานแค่ไหน หมดระยะเวลาประกันหรือยัง หากเราไม่ใช่ผู้ซื้อมือที่สองจริงๆ ก็อาจจะลองเก็บข้อมูลไปสอบถามเจ้าของรถมือแรกดูก็ได้ และหากตรวจสอบได้ว่าเป็นรถที่มาจากการเลหลัง หรือจากการประมูล (เนื่องจากถูกยึด) ให้พึงระลึกเอาไว้ว่าเหตุใดเจ้าของรถมือแรกถึงปล่อยให้ถูกยึด ที่สำคัญ ต้องตรวจสอบหมายเลขตัวถังรถ และหมายเลขเครื่องยนต์ว่าตรงกับในเอกสารประจำรถหรือไม่ หากไม่ อาจ แสดงว่าเป็นรถขโมยมา หรือมาจากการประกอบรถสองคันเข้าด้วยกันก็ได้

6.พิสูจน์กลิ่นภายในรถยนต์มีกลิ่นดินโคลน หรือกลิ่นสาบอาจหมายถึงมีรอยรั่วผุของห้องโดยสาร หรือที่แย่กว่านั้น ก็อาจเคยจมน้ำมาก่อน ให้เลิกดูใต้พรมว่าบริเวณนั้นเป็นสนิมหรือไม่ตลอดทั้งควรดูบริเวณใต้เบาะที่นั่งด้วย

7.ตรวจสอบประตูและหน้าต่างกระจกทุกบาน ตรวจดูว่าประตูแต่ละบานสึกหรอหรือผ่านการใช้งานหนักมาแค่ไหน ขอบบนประตูด้านคนขับซึ่งมักจะเป็นที่พักท้าวแขนคนขับนั้น สีซีดหรือสึกไปแค่ไหน อย่าลืมตรวจดูมือจับด้านใน ว่าผ่านการใช้งานมาแค่ไหน ตัวเลขกิโลบนหน้าปัทม์สัมพันธ์กับสภาพของรถหรือไม่ ถ้าหากต่ำผิดปกติอาจหมายถึง รถถูกใช้มาจนตัวเลขกิโลเมตรครบรอบมาแล้ว หรือมีการแก้ไขเลขวัดระยะทางมาก่อนแล้วก็ได้ ทดสอบหน้าต่าง ทุกบานไม่ว่ากระจกหน้าต่างจะเปิด/ปิด ด้วยระบบไฟฟ้าหรือไม่กระตาม ให้ทดลองเปิดประตูทุกบานว่าเปิด/ปิด คล่องหรือไม่ มีบานใดค้างไม่สามารถเปิด/ปิดได้หรือไม่ นอกจากนี้ให้ตรวจสอบว่าที่นั่งสามารถเลื่อนเดินหน้า ถอยหลังได้อย่างที่ควร

8.ตรวจสอบรอบหยดน้ำจากวัสดุบุใต้หลังคา หากมีรอยคราบน้ำตามวัสดุบุใต้หลังคา ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า รถคันดังกล่าวมีการรั่วซึมของน้ำจากหลังคา ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากหลังคาผุเนื่องจากสนิม

9.การตรวจสภาพภายนอกตัวรถ ดูรอบๆ ตัวรถ แล้วก้มลงดูว่าตัวรถขนานกับพื้นถนน ในระยะที่เท่ากันหรือไม่..หรือสูงต่ำไปข้างใดข้างหนึ่ง หรือเอียงไปข้างหนึ่ง นั่นแสดว่าช่วงล่างมีปัญหาแน่นอน เดินตรวจสอบรอบๆ ตัวรถในที่สว่างๆ สังเกตรอบบุบ ระยะห่างของอุปกรณ์ต่างๆ ไฟหน้า ไฟหลัง กันชนหน้า กันชนหลัง ระยะห่างของอุปกรณ์เท่ากันหรือไม่ ถ้าไม่เท่ากันให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่ารถคันดังกล่าวได้รับอุบัติเหตุ มาแล้ว และมีการเปลี่ยนอุปกรณ์ดังกล่าว

10.ขั้นต่อมาสังเกตดูละอองสี ว่ามีละอองสีติดที่หนึ่งที่ไดหรือไม่ ส่วนมากแล้วรถที่ทำสีใหม่ จะมีละอองสีติดอยู่ เช่นใต้กันชนหน้า กันชนหลัง ดูรางน้ำฝน สังเกตการผุกร่อน ดูช่องไฟระหว่างขอบประตู หน้าต่างต้องมีความสม่ำเสมอ ไม่ชิด ไม่ห่างไปข้างใด ข้างหนึ่ง

11.เคาะฟังเสียง โดยการแอบไล่เคาะรถบางส่วนหรือรอบคันเพื่อฟังเสียง รถที่ทำสีแล้วมักจะมีการโป๊ว การโป๊วหนาย่อมหมายถึงอุบัติเหตุมาก เราสามารถเคาะดูเสียงที่แตกต่างกันได้ โดยการไล่เคาะฟังเสียงไปทั้งๆคัน

12.ให้สังเกตไฟหน้า-ไฟท้าย ไฟเลี้ยง ไฟถอย ว่ามีความสว่างเท่ากันหรือไม่ ไฟซ้ายไฟขวาเก่าใหม่ต้องเท่ากันหรือไม่ หัวนอตฝาครอบต้องไม่เยิน เปิดฝากระโปงหน้ารถ ให้สังเกตดูว่ามีรอยเชื่อมหรือรอยอ๊อกหรือไม่ ดูหม้อน้ำ ถ้าเกิดการชนมา หม้อน้ำจะใหม่ เข็มขัดหม้อน้ำ พัดลมหม้อน้ำต้องเป็นของเก่า ดูสายพานไดชาจน์-แอร์ เบ้าหัวเทียน ดูตรงเบ้าซอฟเบอร์ โช๊คอัพ ถ้ามีการทำสีหรือรอยซ่อม จะต้องมีการชนมาอย่างรุนแรง ดูว่ามีลอยหยดน้ำมันตรงที่รถจอดหรือไม่ เพราะการเปลี่ยนประเก็นใหม่ อาจต้องเสียเงินมากพอสมควร จะไม่คุ้มกับคุณที่จะซื้อรถคันนั้นไป

13.ปิดฝากระโปงหน้า แล้วลองดึงสลักเปิดฝากระโปรง ว่ามีการดีดตัวดีหรือไม่ ถ้าไม่มีการดีดตัวของฝากระโปง ที่ดี รถคันนั้นผ่านการซ่อมมาอย่างแน่นอน

14.ตรวจสอบรอบตัวรถให้ละเอียดโดยการจดบันทึก ว่ามีรอบบุบ รอยขีด หรือรอยสนิมหรือไม่ สังเกตุสีของรถยนต์ ว่าลักษณะสีกลมกลืนกันหรือไม่ ถ้าลักษณะของสีรถไม่มีความกลมกลืนกัน หรือเนื้อสีของตัวถังไม่เหมือนกัน ให้สันนิศฐานก่อนว่า รถคันดังกล่าวเกิดอุบัติเหตุและทำสีรถใหม่

15.ตรวจสอบโช๊คอัพ โดยกดที่มุมรถว่ามีการยุบของโช๊คอัพ แล้วค่อยๆ เด้งคืนตัวของโช็คอัพหรือไม่ ถ้ากดลงไปแล้ว โช๊คอัพเด้งขี้นทันที ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า โช๊คของรถคันดังกล่าวเริ่มเสียแล้ว

16.ตรวจสอบช่วงล่างด้วยการก้มลงไปดูใต้ท้องรถ สังเกตแชสซี ว่ามีรอยต่อเติม หรือรอยเชื่อมต่อของเหล็กหรือเปล่า ถ้ามีให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่ารถยนต์คันดังกล่าวเกิดอุบัติเหตุมาแล้ว

17.ตรวจสอบใต้ท้องรถให้ละเอียด สังเกตุว่ามีคราบน้ำมัน หรือรอยรั่วซึม หรือไหลเยิ้มของน้ำมันในส่วนต่างๆ หรือเปล่า ถ้ามี ชิ้นส่วนนั้นย่อมเกิดการชำรุด ซึ่งจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงหรือเปลี่ยนชิ้นส่วนนั้นๆ

18.การเลือกซื้อรถยนต์มือสอง ต้องคำนึงถึงเรื่องสภาพของตัวถังและช่วงล่างด้วย เพราะการซ่อมตัวถังหรือทำสีใหม่ท่านจะต้องใช้งบประมาณมาก ดังนั้นควรเลือกที่สภาพดีๆ มันจะได้ใช้งานได้นานๆ

19.เครื่องยนต์ ถือเป็นหัวใจหลักในการขับเคลื่อน สังเกตหาการซ่อมแซม สตารท์เครื่องฟังเสียง เปิดฝาเติมน้ำมันเครื่อง แล้วสังเกตไอน้ำมันเครื่อง เสียงท่อไอเสีย ควันจากท่อ หรือถ้ามีบุ๊กเซอร์วิสติดมา จะเป็นการดีครับ รองเปิดดูประวัติการซ่อม และดูด้วยว่าต้องต้องตรงกับทะเบียนรถ และเลขไมล์ในตัวรถ

20.สุดท้าย ข้อนี้สำคัญมากครับ ต้องลองขับดูด้วยตัวเอง!!! เพื่อดูสมรรถภาพของรถยนต์ว่าเป็นไปตามคำสาธยายของผู้ขายหรือไม่ อีกอย่างหนึ่ง ดูตัวเลขเรือนไมล์วัดระยะทางว่ามาก-น้อย ผิดปกติหรือไม่ ให้สูตรคำนวณโดยประมาณดังนี้ครับ 1 ปี เท่ากับ 25,000 Km. 

7 วิธีรอบรู้ก่อนซื้อรถมือสอง

ทุกวันนี้พวกเราหลายต่อหลายคนฝันอยากที่จะสะดวกสบายในการเดินทาง แม้ในความเป็นจริงในสภาวะสังคมเมืองปัจจุบัน การเดินทางโดยรถสาธารณะนั้นต้องยอมรับว่าปลอดภัยกว่าแต่อาจจะไม่สามารถตอบโจทย์ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสะดวกสบาย ที่นับเป็นเรื่องสำคัญที่ทำให้หลายคนใฝ่ที่อยากจะมีรถยนต์เป็นของตัวเอง

หลากเรื่องที่คุณน่ารู้ไว้เกี่ยวกับการซื้อรถยนต์มือสองนั้นความจริงแล้วยังมีอีกมากมายและวันนี้ถ้าคุณมีความตั้งใจจริงในการหาคู่ใจคันใหม่มาเคียงข้าง เรามีข้อแนะนำกับ 7 กฏที่ห้ามพลาดเมื่อคุณต้องการจะเลือก รถมือสอง ตามตลาดรถ จะมีอะไรบ้างนั้นไปดูกันเลย

1.หาข้อมูลมากที่สุดเท่าที่จะทำได้

ในข้อแรกนั้นเราถือว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญที่สุดในการซื้อรถมือสอง เพราะเปรียบเหมือนการเตรียมการให้รู้เท่าทันกับเซลล์ขายรถ ซึ่งจะมีข้อมูลในเชิงลึกมากกว่าเรา สิ่งที่สำคัญไปยิ่งกว่าการมองหารถสักคันคือการรู้จักรถยนต์คันที่เรากำลังจะซื้อว่ามันมีคุณสมบัติอะไรบ้าง ราคาเท่าไร พร้อมเปรียบเทียบความคุ้มค่าระหว่างยี่ห้ออื่น 

2.จงอดทน

คนจำนวนมากมักไม่มีความอดทนในการซื้อรถมือสอง ซึ่งในความหมายของความอดทนนี้ไม่ได้หมายถึงการอดทนรอรถคันใหม่ ทว่าคือการอดทนในการเลือกรถที่ดีที่สุด โดยเฉพาะเมื่อบางครั้งการอดทนมีค่าเท่ากับรถรุ่นใหม่ล่าสุด ดังนั้น หากจะซื้อรถอย่างชาญฉลาดจำไว้ว่า ความอดทนคือเรื่องหนึ่งที่สำคัญ ติดตามข่าวสารให้ดีๆ

3.ซื้อรถที่โชว์รูมใกล้บ้าน

การซื้อรถมือสองนั้นในความจริงที่ถูกที่สุดคือควรซื้อรถใกล้บ้านเพื่อให้ได้รับการดูแลเป็นประจำอย่างดีที่สุด แม้ความเป็นจริงในการซื้อรถเราไม่ปฏิเสธว่าโชว์รูมแต่ละแห่งมีข้อเสนอที่ต่างกัน

4.อย่าซื้อถ้าไม่ได้ลองขับ

หลายครั้งที่เราพบว่าคนจำนวนมากซื้อรถแล้วกลับขายทิ้งในเวลาไม่นานด้วยสาเหตุที่ว่า รถคันนั้นไม่สามารถตอบสนองการใช้งานได้อย่างที่คาดหวัง สาเหตุนี้นับเป็นเรื่องที่สำคัญที่คุณจะต้องทำความเข้าใจและพิจารณาให้ดี และทางที่ดีที่สุดคือลองขับรถคันนั้นที่คุณอยากได้

5.ต่อรองอย่างมีสติ

ในการซื้อขายของทุกอย่างนั้นการต่อรองถือว่ามีบทบาทสำคัญในการกำหนดราคา รถมือสอง ตาม ตลาดรถ ก็เช่นกัน และถ้าคุณกำลังคิดจะซื้อรถพยายามเจรจาต่อรอง โดยอยู่บนพื้นฐานความพยายามอย่าต่อรองมากเกินไปหรือ ไม่ต่อรองเลย แต่ใช้เหตุผลคุยกับเซลล์ทั้งในเรื่องราคา ของแถม และอื่นๆที่คุณต้องการ โดยหากเซลล์ยืนกรานไม่ได้ให้พยายามต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้เว้นแต่ถ้าไม่ได้จริงๆ ลองมองว่ามันเยอะไปหรือเปล่า สำหรับรถในระดับราคาที่คุณกำลังซื้อ

6.มองดีๆข้อเสนอไฟแนนซ์

เรารู้ว่าปัจจุบันน้อยคนนักที่จะซื้อรถยนต์มือสองด้วยเงินสด และที่เข้ามาเกี่ยวข้องนั้นก็เป็นบรรดาสถาบันการเงินต่างๆมากมาย เราหลายคนอยากที่เป็นเจ้าของรถโดยใช้เงินให้น้อยที่สุดตอนเริ่มเป็นเจ้าของ แต่นั้นก็จะทำให้คุณชีช้ำได้ในภายหลังด้วยดอกเบี้ยแสนแพง ดังนั้นจำไว้ว่าให้ดูให้ดี ทั้งเรทเงินดาวน์และดอกเบี้ยในการผ่อน บางครั้งต่างกันนิดหน่อยแต่คำนวนจริงหลายบาทอยู่

7.ค่าใช้จ่ายแฝงเรื่องนี้ที่ห้ามลืม

การซื้อรถหลายครั้งมีค่าใช้จ่ายแฝงพ่วงมาด้วยลองมองให้ดีเพราะมันเป็นเรื่องสำคัญ ค่าจดทะเบียน ค่ามัดจำป้าย หรือกระทั่งค่าอื่นๆอีกจิปาถะเช่น ประกันภัยรถยนต์ ค่าต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ ค่าดูแลรักษา ฯลฯ ที่ทำให้คุณได้รถมานั้นพยายามทำให้มันน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้

ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันชั้น1,โบรกเกอร์,ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส,ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส,ต่อประกันรถยนต์,broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ,ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

ข้อแนะนำเพิ่มเติม

การเลือกซื้อรถมือสอง มีรายละเอียดย่อยๆ อีกหลายอย่างที่ต้องคำนึงถึง เช่น การตัดต่อตัวถังรถยนต์ การสวมทะเบียนรถ การทำเลขตัวถังขึ้นใหม่ การทำทะเบียนปลอม การดัดแปลงรถแท็กซี่ การซ่อมรถจากซากรถ เป็นต้น แต่การเลือกที่ดีที่สุด คือการหาผู้ที่เชี่ยวชาญดูรถและช่วยตัดสินใจให้ การซื้อจากเจ้าของรถที่รู้จักกัน เต้นรถที่มีชื่อเสียงและไว้ใจได้ เพราะส่วนใหญ่แล้วเต้นรถส่วนมามักจะเลือกซื้อรถที่สภาพดี เพื่อป้องกันการขาดทุน การขายไม่ได้ หรือปัญหาหลังการขายอยู่แล้ว เอาเป็นว่าจะซื้อรถมือสองสักคันต้องใจเย็นๆ เลือกให้ดี พิจารณาให้รอบคอบ ก่อนค่อยซื้อครับ

เรียบเรียงข้อมูลโดย Asn Broker , http://www.asnbroker.co.th

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง Asn Broker Blog , Asn Broker Blogspot , Asn Broker Exteen , Asn Broker Wikidot , Asn Broker on WordPress Asn Broker Journal Blog

ขอฝากกิจกรรม ไว้ด้วยนะครับ  กิจกรรม จับ แจก ฟรี ตั๋วหนัง !! 

ดูรายละเอียดกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่ Asn Broker Campaign

ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันชั้น1,โบรกเกอร์,ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส,ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส,ต่อประกันรถยนต์,broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ,ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

การประกันภัยรถยนต์,การโอนรถ โดย Asn Broker (asnbroker)

การประกันภัยรถยนต์,การโอนรถ โดย Asn Broker

การโอนรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์

ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันชั้น1,โบรกเกอร์,ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส,ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส,ต่อประกันรถยนต์,broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ,ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

คำจำกัดความ และความหมายตาม พ.ร.บ.รถยนต์ ปี 2522
รถ หมายความว่า รถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถพ่วง รถบดถนน รถแทรกเตอร์ และรถอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
นายทะเบียน หมายความว่า ข้าราชการซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม แต่งตั้งให้เป็นนายทะเบียน
การโอนรถ ตามความหมายพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 มาตรา 17 ที่ผู้โอนและผู้รับโอนมีหน้าที่ต้องแจ้งต่อนายทะเบียนเฉพาะการโอนกรรมสิทธิ์ในรถและเป็นรถที่จดทะเบียนแล้ว ส่วนการโอนสิทธิครอบครองรถที่จดทะเบียนแล้ว เช่นการเปลี่ยนผู้เช่าซื้อจากคนหนึ่งเป็นอีกคนหนึ่งนั้น ในระบบทะเบียนรถถือเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมรายการทางทะเบียนรถโดยการแก้ไขเปลี่ยนในรายการผู้ครอบครอง คือ ผู้เช่าซื้อเท่านั้น

เจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้อง และรับผิดชอบ ระหว่างการโอนรถ
นายทะเบียน : ลงนามในเอกสารการโอนรถ ใบคู่มือจดทะเบียน ได้แก่ หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถ และรายการจดทะเบียนรถ หัวหน้างานทะเบียน หรือผู้ได้รับคำสั่งมอบหมาย
นายช่างตรวจสภาพ : ตรวจสอบ/ตรวจสภาพรถ
เจ้าหน้าที่ฝ่ายทะเบียน : ตรวจสอบหลักฐานประกอบการโอน, คำนวณภาษีและค่าธรรมเนียมออกใบเสร็จรับเงิน ตรวจสอบก่อนเสนอนายทะเบียนลงนาม
เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล : บันทึกรายการทางทะเบียน

ขั้นตอนทั่วไปในการให้บริการการโอนรถ
1. ใช้แบบคำขอโอน และรับโอน ยื่นคำร้องขอโอนรถ พร้อมหลักฐาน ณ ส่วนทะเบียนรถยนต์
2. นำรถเข้ารับการตรวจสภาพ
3. ชำระเงินค่าธรรมเนียม และเสียภาษีรถ
4. รับใบคู่มือจดทะเบียนรถ

รูปแสดงขั้นตอนการให้บริการ

ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันชั้น1,โบรกเกอร์,ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส,ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส,ต่อประกันรถยนต์,broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ,ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

รอบระยะเวลามาตรฐานในการให้บริการ เฉลี่ยที่ประมาณ 2 ชั่วโมง หรืออาจจะเร็วกว่านั้น แต่ไม่เกิน 3 ชั่วโมง 30 นาที

หมายเหตุ
1. เฉพาะรถของประชาชนที่ติดต่อเป็นรายคัน
2. ไม่รวมกรณีเอกสารไม่ครบถ้วน และกรณีตรวจสภาพรถไม่ผ่าน

อัตราค่าธรรมเนียมใน การโอนรถยนต์

การโอนรถ ตามระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ.2531 กำหนดให้ยื่นคำขอตามแบบคำขอโอนและรับโอนพร้อมด้วยเอกสารหลักฐานตามลักษณะการโอนที่จะกล่าวต่อไป โดยมีค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย ดังนี้

1. ค่าคำขอ 5 บาท**
2. ค่าธรรมเนียมโอน 100 บาท**
3. ค่าอากรแสตมป์ซื้อขายยานพาหนะตามประมวลรัษฎากร (กรณีไม่มีใบกำกับภาษี จึงต้องประเมินราคารถ เพื่อติดอากรแสตมป์) ในอัตราร้อยละ 0.50 บาท ของราคาที่เจ้าหน้าที่ประเมิน เช่น
หากเจ้าหน้าที่ประเมินราคารถ 300,000 บาท จะต้องชำระค่าอากรแสตมป์ เท่ากับ 1,500 บาท

***ค่าตรวจสภาพรถ (ค่าตรวจสอบรถ) ไม่ต้องเรียกเก็บ***

ดังนั้นผมขอสรุปอัตราค่าธรรมเนียมที่กล่าวมาด้านบนว่า

1.ค่าอากร 10,000 ละ 50 บาท(10,000 คือ ราคารถที่เจ้าหน้าที่ตรวจสภาพที่ขนส่งตีประเมิน แต่ละคันราคาไม่เท่ากัน และจะต่ำกว่าราคาซื้อขายอยู่พอสมควร)
2.**ค่าธรรมเนียมโอน 105 บาท (ค่าคำขอ + ค่าธรรมเนียมการโอน)

***กรณีมีค่าบริการเพิ่มเติมด้านอื่นๆ ก็จะมี***

3.ค่าเปลี่ยนป้ายทะเบียน 200 บาท
4.ค่าเปลี่ยนเล่มทะเบียน 100 บาท(กรณีที่เป็นรถหลายมือ หรือเล่มชำรุด ก็ให้เปลี่ยนเล่มใหม่)

เอกสาร และหลักฐานในการโอนรถ

เอกสารและหลักฐานการโอนรถ ให้ยื่นคำขอตามแบบพิมพ์ที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด พร้อมด้วยหลักฐาน ประกอบคำขอในแต่ละกรณี ดังนี้
1.การโอนกรรมสิทธิ์รถ
     1.1 หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
1.2 หลักฐานการโอนกรรมสิทธิ์ เช่น ใบเสร็จรับเงิน สัญญาเช่าซื้อ สัญญาซื้อขายโดยมีเงื่อนไข หรือ สัญญาอย่างอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน เป็นต้น
1.3 หลักฐานประจำตัวผู้โอนและผู้รับโอน ได้แก่ ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นซึ่งใช้ แทนบัตรประจำตัวประชาชน และภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้าน หรือสำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการ จดทะเบียนนิติบุคคล

2.การโอนสิทธิการใช้รถ
2.1 หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
2.2 หลักฐานการถอนรถออกจากบัญชี ขส.บ.11 ของผู้โอน เฉพาะในกรณีที่ผู้โอนมีใบอนุญาตประกอบการขนส่ง
2.3 หลักฐานการโอนสิทธิการใช้รถ เช่น สัญญาเช่าซื้อ หนังสือโอนสิทธิการเช่าซื้อ สัญญาเข้าร่วมกิจการ หรือหลักฐานการเป็นสมาชิกสหกรณ์เดินรถ ซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมกิจการกับสหกรณ์เดินรถ เป็นต้น
2.4 หลักฐานประจำตัวผู้โอนและผู้รับโอน ได้แก่ ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นซึ่งใช้แทน บัตรประจำตัวประชาชน และภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้าน หรือสำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล

3.การโอนกรรมสิทธิ์และสิทธิการใช้รถ
3.1 หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
3.2 หลักฐานการถอนรถออกจากบัญชี ขส.บ.11 ของผู้โอน เฉพาะในกรณีที่ผู้โอนมีใบอนุญาตประกอบการขนส่ง
3.3 หลักฐานการโอนกรรมสิทธิ์ เช่น ใบเสร็จรับเงิน สัญญาซื้อขาย สัญญาเช่าซื้อ หรือสัญญาอย่างอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน เป็นต้น
3.4 หลักฐานประจำตัวผู้โอนและผู้รับโอน ได้แก่ ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นซึ่งใช้ แทนบัตรประจำตัวประชาชน และภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้าน หรือสำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล

4.การโอนรถโดยการรับมรดก หรือโดยศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
4.1 หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
4.2 สำเนาหรือภาพถ่ายใบมรณบัตรของเจ้าของรถซึ่งเป็นเจ้ามรดก แล้วแต่กรณี
4.3 หลักฐานประจำตัวผู้รับมรดก และหรือผู้จัดการมรดก ได้แก่ ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือ บัตรอื่นซึ่งใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชน และภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้าน หรือสำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือ รับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล

5.การโอนรถโดยการรับมรดกที่ไม่มีพินัยกรรม และไม่มีคำสั่งศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดก 
5.1 หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
5.2 สำเนาใบมรณบัตรของเจ้าของรถซึ่งเป็นเจ้ามรดก
5.3 หลักฐานประจำตัวผู้โอนและผู้รับโอน ได้แก่ ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นซึ่งใช้ แทนบัตรประจำตัวประชาชน และภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้าน หรือสำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล

6.การโอนรถโดยคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาล หรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจตามกฎหมาย
6.1 หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
6.2 คำสั่งหรือคำพิพากษาของศาล หรือหนังสือของเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจตามกฎหมายให้โอนรถให้กับ ผู้รับโอน พร้อมทั้งรายละเอียดของรถคันดังกล่าว
6.3 หลักฐานประจำตัวผู้รับโอน ได้แก่ ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นซึ่งใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชน และภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้าน หรือสำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล

เมื่อได้รับคำขอ (ยกเว้นการโอนรถโดยการรับมรดกที่ไม่มีพินัยกรรม และไม่มีคำสั่งศาล แต่งตั้งผู้จัดการมรดก) และได้ตรวจสอบหลักฐานประกอบคำขอถูกต้องแล้ว ให้ดำเนินการ ดังนี้
1. ตรวจสอบการบรรจุรถในบัญชี ขส.บ.11
2. ตรวจสอบว่าผู้โอนได้รับอนุญาตให้ถอนรถออกจากบัญชี ขส.บ.11 แล้วหรือไม่ หากปรากฎว่ายังมิได้ ถอนรถ ก็ให้ดำเนินการให้เรียบร้อยเสียก่อน
3. (ก) ออกหนังสือนำรถไปตรวจสอบ (ออก ทก.1) พร้อมประเมินราคารถ เพื่อเสียอากรตามประมวลรัษฎากร
(ข) ออกหนังสือนำรถไปตรวจสอบ (ออก ทภ.1) สำหรับกรณีการโอนรถ โดยไม่มีค่าตอบแทนหรือผู้โอน อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่ต้องประเมินราคารถเพื่อเสียอากรตามประมวลรัษฎากรแต่อย่างใด
4. ตรวจสอบรถ
5. ตรวจสอบหลักฐานประกอบคำขอ พร้อมทั้งตรวจสอบการลงลายมือชื่อของผู้ประกอบการขนส่ง หรือ เจ้าของรถในหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ ผลการตรวจสอบรถและการเสียอากรตามประมวลรัษฎากร (ถ้ามี) เมื่อเห็นว่าถูกต้องแล้ว ให้จัดเก็บค่าธรรมเนียมการโอน
6. บันทึกรายการโอนรถในหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ สำเนาหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ และ ออกเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปี (กรณีเปลี่ยนชื่อผู้ประกอบการขนส่ง) เสนอนายทะเบียนลงนาม
7. จ่ายหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ และเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปี (กรณีเปลี่ยนชื่อ ผู้ประกอบการขนส่ง)

การโอนรถโดยการรับมรดกที่ไม่มีพินัยกรรม และไม่มีคำสั่งศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดก เมื่อได้รับคำขอโอนและได้ตรวจสอบหลักฐานประกอบคำขอถูกต้องแล้ว ให้ดำเนินการ ดังนี้
1. จัดทำหนังสือไปถึงเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองหรือพนักงานสอบสวนท้องที่ตามภูมิลำเนาของเจ้ามรดก เพื่อขอความร่วมมือให้สอบปากคำบรรดาทายาทของเจ้ามรดก พร้อมทั้งขอให้ดำเนินการประกาศรับโอน มรดกนั้นด้วย ถ้าปรากฎว่าเจ้าหน้าที่ดังกล่าวไม่อาจดำเนินการสอบปากคำบรรดาทายาท และประกาศรับ
มรดกตามที่ขอความร่วมมือไปได้ ให้นายทะเบียนแจ้งผู้รับโอนนั้นไปยื่นคำร้องต่อศาลให้มีการแต่งตั้ง ผู้จัดการมรดก แล้วนำคำสั่งศาลมาเป็นหลักฐานประกอบการโอนรถ โดยให้ดำเนินการเช่นเดียวกับการ โอนรถโดยศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
2. เมื่อได้รับแจ้งผลการดำเนินการตามข้อ 1 แล้ว ให้ดำเนินการตามขั้นตอนเดียวกับการโอนรถ

หมายเหตุ ในการโอนรถ ผู้โอนและผู้รับโอนต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายใน 15 วัน นับแต่วันโอน (วันซื้อ-ขาย) ในกรณีไม่แจ้งภายในกำหนด ต้องเสียค่าปรับตามอัตราที่กำหนดไว้ก่อน

เรื่องหลักฐาน และเอกสารการโอน ถ้าจะลงสาระสำคัญตามกฎหมายจริงๆ มันค่อนข้างเยอะมาก ผู้สนใจอ่านจริงๆ ผมได้แนบไฟล์ PDF ให้แล้วด้านล่างบทความนี้นะครับ Download ไปอ่านได้เลยครับ หรือ กดที่นี่ เพื่อเข้าไปอ่านผ่านระบบ Document Online นะครับ

ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันชั้น1,โบรกเกอร์,ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส,ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส,ต่อประกันรถยนต์,broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ,ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

มีอีกคำหนึ่ง ที่ผู้อ่านทุกท่านเคยได้ยินคือคำว่า “โอนลอย” ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมกำลังจะพูดถึง เรามาดูกันนะครับว่ามันคืออะไร และมีผลดี ผลเสียอย่างไร

การโอนลอย

โอนลอย คือ การที่ผู้ขายรถ ทำการขายรถโดยส่งมอบรถให้ผู้ซื้อ พร้อมมอบแบบ “คำขอโอน และรับโอนรถ” ที่ได้ ทำการลงลายมือชื่อในช่องผู้โอน(โดยไม่กรอกรายละเอียดอะไร) แล้วมอบให้ผู้ซื้อไป พร้อมกับเอกสารอื่นของผู้ขาย คือ เล่มทะเบียน ,สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขาย และหนังสือมอบอำนาจที่ผู้ขายลงลายมือชื่อไว้(โดยไม่กรอกรายละเอียดอะไร) โดยไม่ไปจดทะเบียนโอนที่สำนักงานขนส่งแต่อย่างใด จึงไม่ถือว่าเป็นการโอนตามความหมายของทางราชการแต่อย่างใด

ผลดีของการโอนลอย

1.สะดวกเหมาะกับการซื้อขายในธุรกิจซื้อขายรถยนต์มือสอง เพราะสามารถถือเอกสารไว้รอใครที่มาซื้อรถ ก็สามารถส่งรถ-ส่งเอกสารต่อไปให้คนที่ซื้อได้เลย
2.สามารถเปลี่ยนตัวผู้รับโอนได้เสมอ

ผลเสียของการโอนลอย

1.หากบัตรประชาชนของผู้ขายสิ้นอายุ จะมีปัญหาในการโอนกับนายทะเบียนกรมการขนส่ง ต้องตามตัวคนขาย หาเอกสารใหม่ที่ไม่สิ้นอายุมาให้ได้ ถ้าเขาตายละ จะไปหาที่ไหน ขอเอกสารใหม่ไม่ได้ จะโอนไม่ได้ตามมา ยุ่งยากและหนักใจมาก
2.ในระหว่างที่ยังไม่ไปจดทะเบียนโอนที่สำนักงานขนส่ง หากคนที่เอาไปเกิดขับไปชนคนแล้วหนีไป หรือเอาไปขนยาบ้า ตำรวจเขาจะตรวจสอบทางทะเบียนว่าใครเป็นเจ้าของรถ ซึ่งยังมีชื่อคุณอยู่ เขาก็อาจจะต้องเชิญคุณไปให้ปากคำ หรือตั้งข้อหา …….ทำให้ยุ่งยาก กว่าจะพิสูจน์ตนเองว่าไม่ได้เกี่ยวข้อง
3.หากเขาไม่ไปโอน มิหนำซ้ำไม่เคยไปต่อทะเบียนเสียภาษีเลย ดังนั้น ในทางเอกสารราชการจะถือว่า คุณเป็นคนค้างภาษีป้ายวงกลม

สุดท้าย ขอขอบคุณ กรมการขนส่งทางบก ทั้งส่วนกลาง และภูมิภาค ที่เอื้อเฟื้อข้อมูลมา ณ ที่นี้ ครับ

เรียบเรียงข้อมูลโดย Asn Broker , http://www.asnbroker.co.th

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง Asn Broker Blog , Asn Broker Blogspot , Asn Broker Exteen , Asn Broker Wikidot , Asn Broker on WordPress Asn Broker Journal Blog

ขอฝากกิจกรรม ไว้ด้วยนะครับ  กิจกรรม จับ แจก ฟรี ตั๋วหนัง !! 

ดูรายละเอียดกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่ Asn Broker Campaign

ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันชั้น1,โบรกเกอร์,ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส,ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส,ต่อประกันรถยนต์,broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ,ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

 

ประกันภัยรถยนต์,สาระสำคัญ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ 2535 โดย Asn Broker (asnbroker)

สาระสำคัญของพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535

ประกันภัยรถยนต์, ประกันรถยนต์ ,ประกันชั้น1, โบรกเกอร์, ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส, ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส, ต่อประกันรถยนต์, broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ, ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

1.วัตถุประสงค์

พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 กำหนดให้รถทุกประเภทต้องจัดให้มีการประกันภัยโดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

1.1 เพื่อให้ความคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนทุกคน ซึ่งได้รับความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยเพราะเหตุประสบภัยจากรถให้ได้รับการแก้ไขเยียวยา โดยให้ได้รับค่าเสียหายเพื่อนำไปเป็นค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลในกรณีได้รับอันตรายแก่กายหรืออนามัยหรือให้ได้รับเงินช่วยเหลือเป็นค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการจัดการศพในกรณีเสียชีวิตโดยเร็วที่สุด หลังจากที่ได้รับอุบัติเหตุจากรถโดยไม่ต้องรอการพิสูจน์ความรับผิด พร้อมทั้งให้มีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนเป็นจำนวนพอสมควรหลังจากที่มีการพิสูจน์ ความรับผิดแล้ว
1.2 เพื่อเป็นหลักประกันให้กับโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลทุกแห่งว่าจะได้รับค่ารักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลอย่างแน่นอนและรวดเร็ว เมื่อได้รับผู้ประสบภัยจากรถเข้ารักษาตัว
1.3 เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้ธุรกิจประกันภัยเข้ามามีส่วนร่วมในการแบ่งเบาภาระค่าเสียหาย ทั้งนี้เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประสบภัยและครอบครัว
1.4 เพื่อให้การประกันภัยเข้ามาช่วยร่วมในการแบ่งเบาภาระของรัฐบาล ในด้านการให้สวัสดิการสงเคราะห์แก่ผู้ประสบภัยจากรถ1

2.การบังคับใช้

พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน 2536 เป็นต้นไป โดยกำหนดบทเฉพาะกาลให้เจ้าของรถซึ่งใช้รถหรือมีรถไว้เพื่อใช้ ต้องดำเนินการจัดให้มีประกันภัยเพื่อคุ้มครองความเสียหายที่อาจเกิดแก่ผู้ประสบภัยจากรถให้เสร็จสิ้นภายใน 180 วัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัติใช้บังคับ (สิ้นสุด 1 ตุลาคม 2536) มิฉะนั้นจะมีความผิดและได้รับโทษตามที่กฎหมายระบุ

แต่เนื่องจากความไม่พร้อมของเจ้าของรถบางประเภท (เช่น รถจักรยานยนต์ ที่จดทะเบียนไว้ก่อนวันที่ 5 เมษายน 2536 รถสกายแลป (รถยนต์สามล้อที่แปรสภาพมาจากรถจักรยานยนต์) และรถอีแต๋น) ซึ่งส่วนใหญ่มีรายได้น้อย ประกอบกับความไม่พร้อมของบริษัทประกันภัย ที่จะให้บริการและไม่อาจรองรับต่อปริมาณของรถที่จะมาทำประกันภัย

จึงได้มีการออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 9 (พ.ศ.2536) และฉบับที่ 10 (พ.ศ.2538) เพื่อผ่อนผันการจัดทำประกันภัย ภาคบังคับตาม พระราชบัญญัติฉบับนี้ ซึ่งขณะนี้พ้นระยะเวลาผ่อนผันทั้งหมดแล้ว

ดังนั้น ในปัจจุบันรถทุกคันทุกชนิด และทุกประเภทจะต้องจัดให้มีการทำประกันภาคบังคับตามพระราชบัญญัตินี้ มิฉะนั้นจะมีความผิดได้รับโทษตามที่กฎหมายกำหนด

3.ขอบเขตความคุ้มครอง

3.1 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถให้ความคุ้มครองแก่ประชาชน ทุกคนที่ประสบภัยจากรถ ไม่ว่าผู้นั้นจะอยู่ในฐานะเป็นเจ้าของรถ ผู้ขับขี่รถ ผู้โดยสาร คนเดินถนน และไม่ว่าผู้นั้นจะอยู่ในรถหรือนอกรถ หรือแม้แต่คนที่กำลังนอนอยู่ที่บ้าน หากปรากฏว่า บุคคลดังกล่าวนั้นได้รับความเสียหายแก่ร่างกายหรืออนามัยหรือได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิต อันเนื่องมาจากอุบัติเหตุที่เกิดจากรถที่ใช้หรือเนื่องจากสิ่งที่บรรทุกหรือติดตั้งในรถนั้น โดยไม่คำนึงว่าผู้ประสบภัยนั้นจะเป็นฝ่ายผิดหรือไม่ จะได้รับความคุ้มครองในทันทีที่ประสบภัยจากรถ โดยจะได้รับการชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นตามจำนวนที่กฎหมายกำหนดไว้ เพื่อเป็นค่ารักษาพยาบาลในกรณีที่ประสบภัยได้รับอันตรายแก่กายหรืออนามัย หรือเพื่อเป็นค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการจัดการศพในกรณีเสียชีวิต นอกจากนั้นยังได้รับค่าทดแทนในกรณีสูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพถาวร ตลอดจนมีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนอย่างอื่นเป็นจำนวนเงินพอสมควรตามวงเงินคุ้มครอง ที่กฎหมายกำหนดไว้หลังจากที่มีการพิสูจน์ความรับผิดตามกฎหมายแล้ว

3.2 การให้ความคุ้มครองผู้ประสบภัยตามพระราชบัญญัตินี้คลุมถึงกรณีผู้ขับขี่รถคันที่เอาประกันภัยซึ่งมิใช่ผู้เอาประกันภัย ตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ แต่ขับขี่รถโดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัย เช่น สมชายยืมรถของสมโชค ซึ่งทำประกันภัยไว้กับบริษัท และเกิดอุบัติเหตุชนสมหญิงได้รับอันตรายสาหัส กรณีนี้บริษัทรับประกันภัยจะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่สมหญิงเต็มตามจำนวนคุ้มครอง จะปฏิเสธความรับผิดว่ามิได้เกิดจากความประมาทของผู้เอาประกันภัยไม่ได้

3.3 การให้ความคุ้มครองตามพระราชบัญญัตินี้ยังคุ้มครองไปถึงความรับผิดของผู้โดยสารในรถคันที่เอาประกันภัยด้วย เช่น แดง ขับรถคันที่เอาประกันภัยไว้ โดยมีขาวและเขียวนั่งโดยสารไปด้วย ขณะแดงจอดรถไว้ข้างถนน เขียวซึ่งนั่งอยู่ด้านหลังเปิดประตูโดยมิได้ระมัดระวัง ทำให้ดำซึ่งขี่รถจักรยานยนต์ตามหลังมาพุ่งชนเสียหลักล้มลง ดำถึงแก่ความตาย เมื่อเขียวผู้โดยสารเป็นฝ่ายที่ต้องรับผิดตามกฎหมายแล้ว บริษัท ในฐานะผู้รับประกันภัยจะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ทายาทของดำ ในนามเขียว จะปฏิเสธความรับผิดอ้างว่ามิใช่เป็นการกระทำของผู้เอาประกันภัยไม่ได้2

4.คณะกรรมการ และหน่วยงานตามกฎหมาย

4.1 คณะกรรมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ

พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2540 มาตรา 6 กำหนดให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ” ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน ผู้แทนกระทรวงกลาโหม ผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนกระทรวงคมนาคม ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข ผู้แทนทบวงมหาวิทยาลัย ผู้แทนกรมการปกครอง ผู้แทนกรมตำรวจ ผู้ซึ่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคตามกฎหมาย ว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภคมอบหมายหนึ่งคน ผู้แทนสมาคมนายหน้าประกันภัย ผู้แทนสมาคมประกันวินาศภัย ผู้แทนสมาคมโรงพยาบาลเอกชน ผู้แทนแพทยสภาและ ผู้ทรงคุณวุฒิอีกไม่เกิน 4 คน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นกรรมการ โดยมีอธิบดีกรมการประกันภัยเป็นกรรมการและเลขานุการ และผู้อำนวยการสำนักนายทะเบียนคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถเป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

หมายเหตุ ตามพระราชกฤษฎีกาแก้ไขบทบัญญัติสอดคล้องกับการโอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545 พ.ศ.2545 มาตรา 48 ได้แก้ไขคำว่า “ผู้แทนกรมการปกครอง” ในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 เป็น “ผู้แทนกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย”

ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้

– ให้คำแนะนำแก่รัฐมนตรีในการออกกฎกระทรวงต่าง ๆ

– กำหนดมาตรฐานกลางของรายการและจำนวนเงินค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่บริษัทหรือกองทุนต้องจ่ายให้แก่ผู้ประสบภัย

– พิจารณาปัญหาเกี่ยวกับการจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นและหรือเงินอื่นตามพระราชบัญญัตินี้หรือเกี่ยวกับรายการและจำนวนเงินค่ารักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามที่นายทะเบียนขอความเห็นหรือตามที่ประสบภัยร้องขอ

– ปฏิบัติการอื่นตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ หรือตามที่รัฐมนตรีมอบหมาย

4.2 สำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย

พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2540 มาตรา 33 กำหนดให้มีการจัดตั้งกองทุนขึ้นมา กองทุนหนึ่งเรียกว่า “กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย” มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นทุนสำหรับจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ ผู้ประสบภัย ในกรณีที่ผู้ประสบภัยไม่สามารถเรียกร้องค่าเสียหายจากที่ใดได้ โดยผู้ประสบภัยสามารถยื่นคำร้องขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นได้จาก สำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ซึ่งตั้งอยู่ในกรมการประกันภัย กระทรวงพาณิชย์ หรือเรียกร้องจากสำนักงานคุ้มครองผู้เอาประกันภัยเขตทั้ง 4 เขต ในกรุงเทพมหานคร หรือที่สำนักงานประกันภัยจังหวัดทุกจังหวัด

ผู้ประสบภัยจากรถ หรือทายาทจะสามารถยื่นคำร้องขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยได้ก็เฉพาะแต่ในกรณีที่กำหนดในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2540 มาตรา 22 คือ

– เจ้าของรถที่ก่อให้เกิดความเสียหายไม่ได้ทำประกันภัยไว้ และไม่ยอมจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ ผู้ประสบภัย หรือจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้ไม่ครบจำนวน

– ขณะเกิดเหตุ รถที่ก่อให้เกิดความเสียหายไม่ได้อยู่ในความครอบครองของเจ้าของรถเพราะรถนั้นได้ถูกยักยอก ฉ้อโกง กรรโชก ลักทรัพย์ รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ หรือปล้นทรัพย์ และเจ้าของรถได้ร้องทุกข์ไว้กับพนักงานสอบสวนแล้ว ซึ่งกรณีเช่นนี้บริษัท ประกันภัยหรือเจ้าของรถจะไม่ต้องรับผิด

– ไม่มีผู้แสดงตนเป็นเจ้าของรถที่ก่อให้เกิดความเสียหาย และรถไม่มีการประกันภัยกับบริษัท เช่น ขับรถชนแล้วทิ้งรถไว้ในที่เกิดเหตุ คนขับหลบหนีไป และไม่มีใครแสดงตนว่าเป็นเจ้าของรถและรถคันนั้นไม่มีการประกันภัยไว้กับบริษัท

– มีความเสียหายเกิดขึ้นแก่ผู้ประสบภัย และรถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหายนั้นหลบหนีไปหรือ ไม่อาจทราบได้ว่ารถคันใดก่อให้เกิดความเสียหาย

– บริษัทประกันภัยปฏิเสธการจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัย หรือจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้ไม่ครบจำนวน

– ความเสียหายเกิดจากรถที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องทำประกันตามพระราชบัญญัตินี้ เช่น รถสำหรับเฉพาะองค์ พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท รถของสำนักพระราชวัง รถของส่วนราชการต่าง ๆ ทั้งส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น รถยนต์ทหาร ฯลฯ

ข้อสังเกต การขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย จะขอรับได้เฉพาะค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น ผู้ประสบภัยหรือทายาทจะไม่มีสิทธิขอรับค่าเสียหายในส่วนที่เกินกว่าค่าเสียหายเบื้องต้นเหมือนกับกรณีขอรับค่าเสียหายจากบริษัทประกันภัย หรือจากบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด 3

4.3 บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2540 มาตรา 10 ทวิ กำหนดให้มีการจัดตั้ง บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ขึ้น ทำหน้าที่ให้บริการเกี่ยวกับการรับคำร้องขอและจ่าย ค่าสินไหมทดแทนหรือเงินต่าง ๆ ตามพระราชบัญญัตินี้รวมทั้งดำเนินกิจการต่าง ๆ ตามที่บริษัทประกันภัยหรือสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยมอบหมาย ทั้งนี้ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประสบภัย ในกรณีที่ไม่สามารถเรียกร้องค่าเสียหายเอาจากบริษัทประกันภัยรถคันที่เกิดเหตุได้ ให้สามารถเรียกร้องค่าเสียหายผ่านทางบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ได้

นอกจากนี้ บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ยังได้รับทำประกันภัยสำหรับรถจักรยานยนต์ตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย ขณะนี้ บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ได้เปิดดำเนินการเพื่อให้บริการครอบคลุมครบทุกจังหวัด รวมทั้งกรุงเทพมหานครแล้ว

5.ข้อพึงปฏิบัติสำหรับผู้เกี่ยวข้อง

5.1 ผู้ประสบภัยหรือบุคคลทั่วไปเมื่อประสบภัยจากรถ

เมื่ออุบัติเหตุจากรถเกิดขึ้น ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุหรือผู้พบเห็นอุบัติเหตุจากรถทุกคันควรปฏิบัติ ดังนี้
– ในกรณีมีผู้ได้รับบาดเจ็บให้รีบนำผู้ได้รับบาดเจ็บส่งโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่ใกล้และสะดวกที่สุดเพื่อรับการรักษาโดยเร็ว และอย่าลืมแจ้งกับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลว่าเป็นผู้ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุที่เกิดจากรถ

– ให้ตรวจดูเครื่องหมายสี่เหลี่ยมที่ติดอยู่ที่กระจกหน้ารถด้วยว่ารถคันที่เกิดเหตุได้ทำประกันไว้หรือไม่ ถ้าทำประกันภัยไว้ได้ทำไว้กับบริษัทอะไร กรมธรรม์เลขที่เท่าใด เพื่อที่จะได้แจ้งกับโรงพยาบาลและบริษัทประกันภัยได้อย่างถูกต้อง

– แจ้งเหตุที่เกิดขึ้นให้ตำรวจทราบและขอสำเนาบันทึกประจำวันของตำรวจเก็บไว้

– ให้แจ้งชื่อ ที่อยู่ ผู้ที่พบเห็นเหตุการณ์เพื่อช่วยเหลือในการเป็นพยานให้แก่คนเจ็บ

– แจ้งให้บริษัททราบถึงอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งแจ้งวัน เวลา และสถานที่เกิดเหตุ แต่ถ้าหากไม่มีบริษัทประกันภัยในพื้นที่ ให้แจ้งเหตุไปที่บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประกันภัยจากรถ จำกัด ซึ่งมีอยู่ทุกจังหวัด

– ติดต่อขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นและค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัย หรือมอบอำนาจให้ทายาทโดยธรรมหรือโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลยื่นคำร้องขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นแทนก็ได้ โดยเตรียมเอกสารต่าง ๆ เช่น ใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาลฉบับจริง สำเนากรมธรรม์ประกันภัยรถคันที่เกิดเหตุ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือหลักฐานอื่นใดที่ออกโดยราชการ เป็นต้น

– กรณีไม่สามารถจดจำหมายเลขทะเบียนรถคันที่เฉี่ยวชนได้ ให้ผู้บาดเจ็บนำเอกสารคือ ใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาลฉบับจริง สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนารายงานประจำวันในคดีของพนักงานสอบสวน ไปติดต่อขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจาก สำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ซึ่งตั้งอยู่ที่กรมการประกันภัย กระทรวงพาณิชย์ หรือที่สำนักงานคุ้มครองผู้เอาประกันภัยเขตทั้ง 4 เขต ในกรุงเทพมหานคร หรือที่สำนักงานประกันภัยจังหวัดทุกจังหวัด

– กรณีไม่ได้รับความสะดวก หรือไม่สามารถติดต่อบริษัทประกันภัยได้ เนื่องจากบริษัท ไม่มีสาขาอยู่ในต่างจังหวัด สามารถติดต่อผ่านทางบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ซึ่งมีอยู่ทุกจังหวัดให้เป็นผู้ประสานงานให้

5.2 สถานพยาบาลเมื่อรับผู้ประสบภัยจากรถ
โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่รับผู้ประสบภัยที่ประสบอุบัติเหตุจากรถ ควรปฏิบัติ ดังนี้
– ให้การรักษาพยาบาลผู้ประสบภัยโดยเร็วที่สุดและอย่างดีที่สุด

– ทำประวัติคนไข้ และขอสำเนาบัตรประจำตัวผู้ประสบภัย

– ขอสำเนาบันทึกประจำวันของตำรวจ

– บันทึกชื่อบริษัทประกันภัยที่รับประกันภัยไว้ และถ้าอุบัติเหตุเกิดจากรถตั้งแต่ 2 คัน ขึ้นไปชนกัน ก็บันทึกชื่อบริษัทประกันภัยทุกบริษัท พร้อมทั้งขอถ่ายสำเนากรมธรรม์ประกันภัยไว้ด้วย

– บันทึกชื่อ ที่อยู่ ผู้นำคนเจ็บส่งเข้ารับการรักษา

5.3 ผู้เอาประกันภัยหรือผู้ขับขี่เมื่อประสบภัยจากรถ
– แจ้งให้บริษัทรับประกันภัยทราบโดยไม่ชักช้า ทั้งนี้เพื่อบริษัทจะได้เข้าไปดูแลและรักษาสิทธิอันพึงมีพึงได้ของผู้เอาประกันภัยและบริษัท
– ส่งให้บริษัททันทีเมื่อได้รับหมายศาล หรือคำสั่ง หรือคำบังคับของศาล ทั้งนี้ เนื่องจากกระบวนพิจารณาความมักจะกำหนดเวลาในการดำเนินคดีไว้ เช่น เมื่อผู้เอาประกันภัยถูกฟ้อง จะต้องยื่นคำให้การแก้คดีภายใน 15 วัน มิฉะนั้น ศาลอาจสั่งขาดนัดยื่นคำให้การ ทำให้ไม่มีประเด็นจะต่อสู้ อาจแพ้คดีได้ ดังนั้น ผู้เอาประกันภัยจึงต้องส่งหมายศาล หรือคำสั่งศาลหรือคำบังคับให้แก่บริษัท โดยเร็ว เพื่อที่บริษัทจะได้หาแนวทางต่อสู้คดีได้ทันการณ์

แต่ถึงแม้ผู้เอาประกันภัยจะมิได้ปฏิบัติดังกล่าว ก็ไม่ทำให้บริษัทพ้นความรับผิด เพียงแต่บริษัทมีสิทธิเรียกค่าเสียหายอันเกิดจากการที่มิได้ปฏิบัติดังกล่าวนี้เท่านั้น โดยเป็นหน้าที่ของบริษัทที่จะต้องพิสูจน์ถึงความเสียหายที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม แม้ว่าความเสียหายจะเกิดแก่บริษัทก็ตาม ผู้เอาประกันภัยก็ไม่ต้องรับผิด หากพิสูจน์ได้ว่าตนไม่สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดนี้ได้

– มีหนังสือบอกกล่าวให้บริษัททราบทันทีเมื่อมีการดำเนินคดีแพ่งหรือคดีอาญาทางศาลอันอาจทำให้เกิดสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์นี้ ถ้าผู้เอาประกันภัยมิได้ปฏิบัติตามข้อนี้ บริษัทอาจเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากผู้เอาประกันภัย เพื่อความเสียหายใด ๆ อันเกิดจากการนั้น เว้นแต่ผู้เอาประกันภัยจะพิสูจน์ได้ว่าไม่สามารถปฏิบัติได้

– ผู้เอาประกันภัยจะต้องไม่ตกลงยินยอม เสนอ หรือให้สัญญาว่าจะชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บุคคลใด โดยไม่ได้รับความยินยอมจากบริษัทประกันภัย เว้นแต่ความเสียหายนั้น ผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายที่จะต้องรับผิดตามกฎหมาย และบริษัทไม่จัดการต่อการเรียกร้องนั้น ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้ผู้เอาประกันภัยไปตกลงยินยอมรับผิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ซึ่งอาจมีผลเสียหายต่อ ผู้เอาประกันเองได้ ถ้าหากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นมิได้เป็นความผิดของผู้เอาประกันภัย
แต่ถ้าเป็นความผิดของผู้เอาประกันภัยแล้ว แม้ผู้เอาประกันภัยจะไปตกลงว่าจะชดใช้ค่าเสียหายโดยไม่ได้รับความยินยอมจากบริษัทก็ตาม บริษัทก็ไม่สามารถยกเป็นข้อปฏิเสธความรับผิดได้ เพียงแต่บริษัทไม่ผูกพันรับผิดตามจำนวนที่ผู้เอาประกันไปตกลงไว้ คงรับผิดตามจำนวนค่าเสียหายที่แท้จริงเท่านั้น เช่น แดงขับรถชนขาวได้รับบาดเจ็บ และแดงเป็นฝ่ายที่ต้องรับผิดตามกฎหมาย แดงตกลงชดใช้ค่าเสียหายให้ขาวจำนวน 50,000 บาท โดยไม่รับความยินยอมจากบริษัท โดยความเสียหายที่แท้จริงมีเพียง 30,000 บาท ดังนี้ บริษัทปฏิเสธความรับผิดไม่ได้ เพียงแต่ไม่ต้องรับผิดจำนวน 50,000 บาท คงรับผิดเพียง 30,000 บาท ตามความเสียหายที่แท้จริงเท่านั้น สำหรับค่าเสียหายส่วนที่เกินอีก 20,000 บาท ขาวจะต้องไปเรียกร้องเอาจากแดงเอง

– เมื่อมีการกระทำความผิดในทางอาญาโดยบุคคลใด ซึ่งทำให้เกิดสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ ผู้เอาประกันภัยต้องแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยไม่ชักช้า แต่อย่างไรก็ตาม การที่ผู้เอาประกันภัยมิได้แจ้งความก็ไม่เป็นเหตุให้บริษัทปฏิเสธความรับผิดได้ หากปรากฏข้อเท็จจริงชัดเจนว่ามีความเสียหายที่อาจเรียกร้องจากบริษัทได้ตามสัญญานี้จริง4

6.การชดใช้ค่าเสียหาย

6.1 บริษัทประกันภัยต้องจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นแก่ ผู้ประสบภัยหรือทายาทภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ผู้ประสบภัยหรือทายาทร้องขอต่อบริษัทโดยไม่ต้องรอการพิสูจน์ความถูกผิดของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น

6.2 ในกรณีที่บริษัทประกันภัยไม่จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นหรือจ่ายให้ไม่ครบ ให้ผู้ประสบภัยหรือทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัยแล้วแต่กรณียื่นคำร้องขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นตามแบบฟอร์มของทางราชการ ต่อสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ซึ่งตั้งอยู่ที่กรมการประกันภัย กระทรวงพาณิชย์ เลขที่ 44/100 ถ.สนามบินน้ำ – นนทบุรี ต.บางกระสอ อ.เมือง จ.นนทบุรี และส่วนคุ้มครองผู้เอาประกันภัยเขตทั้ง 4 เขต เขต 1 พระโขนง เขต 2 บางเขน เขต 3 ธนบุรี เขต 4 ตลิ่งชัน สำหรับต่างจังหวัดสามารถติดต่อได้ที่ สำนักงานประกันภัยจังหวัดทุกจังหวัด

6.3 ผู้ประสบภัยที่เป็นผู้ขับขี่และเป็นฝ่ายผิดหรือไม่มีผู้ใดรับผิดตามกฎหมายจะได้รับการชดใช้เฉพาะค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น

6.4 ผู้ประสบภัยสามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในส่วนที่เกินกว่าความคุ้มครองตามกฎหมายนี้ได้จากผู้กระทำละเมิดและผู้กระทำความผิดต้องได้รับโทษทางอาญาด้วย

6.5 ในกรณีที่รถตั้งแต่สองคันขึ้นไปก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ประสบภัยซึ่งอยู่ในรถ ให้บริษัทที่รับประกันภัยรถแต่ละคันนั้นจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยที่อยู่ในรถคันที่เอาประกันกับบริษัท แต่ถ้าผู้ประสบภัยเป็นผู้ที่อยู่นอกรถ (อาจเดินอยู่บนถนน หรือในบ้าน ฯลฯ) ให้บริษัทที่รับประกันภัยรถที่ก่อเหตุแต่ละคันนั้นร่วมกันจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยทุกคนโดยเฉลี่ยจ่ายในอัตราส่วนที่เท่ากัน

6.6 ในกรณีที่บริษัท หรือเจ้าของรถ บอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยก่อนครบกำหนดความคุ้มครอง (ก่อนวันสิ้นสุดอายุสัญญา) ไม่ว่าด้วยเหตุใด บริษัทต้องแจ้งบอกการเลิกนั้นให้นายทะเบียนทราบและเจ้าของรถต้องส่งคืนเครื่องหมาย (สติกเกอร์) แสดงว่ามีการประกันภัยให้แก่นายทะเบียน (อธิบดีกรมการประกันภัย หรือผู้ซึ่งนายทะเบียนมอบหมาย) หรือทำให้เครื่องหมายนั้นใช้ต่อไปไม่ได้ 5

7.บทกำหนดโทษ
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ได้กำหนดโทษของการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายไว้หลายกรณี อาทิ

7.1 เจ้าของผู้ถือกรรมสิทธิ์ในรถ หรือผู้ครอบครองในฐานะผู้เช่าซื้อรถ ผู้ใดไม่จัดให้มีการประกันภัยตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท (มาตรา 37)

7.2 ผู้ใดนำรถที่ไม่ได้จัดให้มีการประกันภัยตามพระราชบัญญัตินี้ออกใช้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท (มาตรา 39)

7.3 เจ้าของผู้ถือกรรมสิทธิ์ในรถ หรือผู้ครอบครองในฐานะผู้เช่าซื้อรถ ผู้ใดไม่ติดเครื่องหมายแสดงว่ามีการประกันภัยตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท (มาตรา 40)

7.4 ผู้ประสบภัยผู้ใดยื่นคำขอรับชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นโดยทุจริตหรือแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จ เพื่อขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นตามกฎหมายนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 45)

7.5 ผู้ใดปลอมเครื่องหมายที่ระบุว่าได้มีการประกันภัยแล้ว หรือนำเครื่องหมายปลอมมาติด ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 10,000 บาท ถึง 100,000 บาท (มาตรา 41)

7.6 บริษัทประกันวินาศภัยใด ซึ่งได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการรับประกันภัยรถ ฝ่าฝืนไม่ยอมรับประกันภัยตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 50,000 บาท ถึง 250,000 บาท (มาตรา 38)

บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ที่มีโทษปรับสถานเดียว ให้นายทะเบียน (อธิบดีกรมการประกันภัยหรือผู้ที่อธิบดีกรมการประกันภัยมอบหมาย) มีอำนาจเปรียบเทียบปรับได้ และเมื่อได้ชำระค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบภายใน 30 วัน ให้ถือว่าคดีเลิกกัน

8.หน่วยงานให้คำปรึกษา

8.1 กรมการประกันภัย กระทรวงพาณิชย์

44/100 ถนนสนามบินน้ำ – นนทบุรี ตำบลบางกระสอ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี โทร.0-2547-4500-3

ประกันภัยรถยนต์, ประกันรถยนต์ ,ประกันชั้น1, โบรกเกอร์, ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส, ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส, ต่อประกันรถยนต์, broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ, ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

8.2 สำนักงานคุ้มครองผู้เอาประกันภัยเขตทั้ง 4 เขต

– เขต 1
446/3 อาคารปาร์ค อเวนิว ถนนสุขุมวิท 71 แขวงพระโขนงฝั่งเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 โทร.0-2711-0570-1
รับผิดชอบพื้นที่
คลองเตย บางนา พระโขนง ลาดกระบัง วัฒนา ประเวศ สวนหลวง สะพานสูง บางกะปิ วังทองหลาง ห้วยขวาง ดินแดง ราชเทวี ปทุมวัน

– เขต 2

8/8 ซอยวิภาวดี 44 ถนนวิภาวดี แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทร.0-2562-0751-4
รับผิดชอบพื้นที่
เขตพญาไท จตุจักร บางซื่อ ดุสิต ดอนเมือง สายไหม บางเขน มีนบุรี หนองจอก คลองสามวา คันนายาว บึงกุ่ม ลาดพร้าว หลักสี่

– เขต 3
287 ซอยรัชดาภิเษก 6 ถนนรัชดาภิเษก – ท่าพระ แขวงบุคคโล เขตธนบุรี กรุงเทพฯ 10600 โทร.0-2476-9940-3
รับผิดชอบพื้นที่
เขตคลองสาน จอมทอง บางบอน บางขุนเทียน ธนบุรี ราษฎร์บูรณะ ทุ่งครุ ยานนาวา สาธร บางรัก บางคอแหลม

– เขต 4
60/78-79 ถนนปิ่นเกล้า-นครชัยศรี แขวงตลิ่งชัน เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร.0-2880-8500, 0-2880-7990
รับผิดชอบพื้นที่
เขตบางกอกน้อย บางกอกใหญ่ บางพลัด บางแค ภาษีเจริญ ทวีวัฒนา ตลิ่งชัน หนองแขม พระนคร ป้อมปราบศัตรูพ่าย สัมพันธวงศ์

8.3 สำนักงานประกันภัยจังหวัดทุกจังหวัด 6

ประกันภัยรถยนต์, ประกันรถยนต์ ,ประกันชั้น1, โบรกเกอร์, ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส, ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส, ต่อประกันรถยนต์, broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ, ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

 

เรียบเรียงข้อมูลโดย Asn Broker

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง Asn Broker Blog , Asn Broker Blogspot , Asn Broker Exteen , Asn Broker Wikidot , Asn Broker on WordPress Asn Broker Journal Blog

ขอฝากกิจกรรม ไว้ด้วยนะครับ  กิจกรรม จับ แจก ฟรี ตั๋วหนัง !! 

ดูรายละเอียดกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่ Asn Broker Campaign

ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันชั้น1,โบรกเกอร์,ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส,ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส,ต่อประกันรถยนต์,broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ,ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

 

ประกันภัยรถยนต์,การเคลมประกัน,ต่อประกันรถยนต์ โดย Asn Broker (asnbroker)

ความหมายของการเคลมประกัน

เคลม หมายถึง เรียกร้อง,สิทธิเรียกร้อง,สิทธิ,สิทธิควรได้รับ 
การเคลมประกัน หมายถึง การเรียกร้องความเสียหายที่เกิดต่อทรัพย์สิน

ดังนั้น ผมขอสรุปความหมายของการเคลมประกันว่า คือ การเรียกร้องตามสัญญาประกันนั้นเอง กล่าวคือ สัญญากับประกันว่าอย่างไรก็เป็นไปตามนั้น ที่สำคัญ ต้องอ่านสัญญาให้หมดทุกข้อให้เข้าใจ (เสียเวลา ชั่งมัน! ) ไม่อย่างนั้นเมื่อรถมีปัญหาจากอุบัติเหตุอาจจะเคลมไม่ได้ ก็ได้ เพราะในสัญญาประกันไม่ระบุ หรือไม่มีในสัญญานั้นเอง แต่ถ้าท่านทั้งหลายอ่านในสัญญาเข้าใจแล้ว เราจะรู้หลักว่าต้องทำอะไร อย่างไร เช่น วันไหน ว่างๆ ก็เอารถเข้า เคลม ทำสีซะ แต่ต้องเคลมกับประกัน ก่อนน่ะ ต้องคุยกับทนายประกันดีๆ (ทนายประกัน คือ พวกที่ขับ มอไซร์ และวิ่งมารับหน้า ตอนเกิดอุบัติเหตุหล่ะครับ อิอิ)

การเคลมแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

  • เคลมสด
  • เคลมแห้ง

ต่อมาจะเป็นการถาม-ตอบคำถาม 20 ข้อเกี่ยวกับการเคลมประกัน(คัดลอกมาให้อ่านนะครับ)

1. การเคลมแบ่งเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง แตกต่างกันอย่างไร

แบ่งง่ายๆ เป็น 2 ประเภท ได้แก่เคลมสดและเคลมแห้ง

เคลมสด คือ เคลมที่ต้องการพนักงานออกตรวจสอบ ณ ที่เกิดเหตุ ได้แก่ เกิดเหตุมีคู่กรณี หรือมีผู้บาดเจ็บ หรือ รถประกันหรือรถคู่กรณีเสียหายมาก ซึ่งเคลมประเภทนี้ ผู้ขับขี่รถประกันหรือรถคู่กรณีจะได้รับใบหลักฐานในการติดต่อค่าเสียหายจากพนักงาน ตรวจสอบอุบัติเหตุ ซึ่งสามารถนำไปติดต่อซ่อมที่อู่ในเครือของบริษัทฯได้ทันที

เคลมแห้ง คือ เคลมที่ไม่ต้องการพนักงานตรวจสอบอุบัติเหตุออกตรวจสอบ ณ ที่เกิดเหตุ ได้แก่ รถประกันเสียหายเล็กน้อยและไม่มีคู่กรณี ซึ่งเคลมประเภทนี้ ผู้ขับขี่รถประกันสามารถนำรถประกันเข้าไปติดต่อซ่อมที่อู่ในเครือของบริษัทฯได้ตลอดเวลาที่ผู้ ขับขี่สะดวก แต่ทั้งนี้ต้องก่อนกรมธรรม์หมดอายุ

3พลัส, broker, ชั้น2พลัส, ต่อประกันรถยนต์, บริษัทประกันภัยรถยนต์, ประกันชั้น1, ประกันชั้น2, ประกันชั้น2พลัส, ประกันชั้น3, ประกันชั้น3พลัส, ประกันภัยรถยนต์, ประกันรถกระบะ, ประกันรถกะบะ, ประกันรถยนต์, ประกันรถยนต์ชั้น1, ประกันรถเก๋ง, พรบ.รถยนต์, โบรกเกอร์

2. กรณีเป็นเคลมสด จะมีขั้นตอนและเงื่อนไขอย่างไรบ้าง

กรณีเป็นเคลมสด สามารถนำรถประกันหรือรถคู่กรณีพร้อมกับใบหลักฐานในการติดต่อค่าเสียหายที่ได้รับจากพนักงานตรวจสอบอุบัติเหตุ พร้อมด้วยเอกสารอื่นๆ
ที่พนักงานตรวจสอบอุบัติเหตุร้องขอ เข้าซ่อมที่อู่ในเครือของบริษัทฯ ซึ่งอู่ในเครือฯจะทำการเสนอราคาเพื่อขออนุมัติค่าซ่อมได้ทันที

3. กรณีเป็นเคลมแห้ง จะมีขั้นตอนและเงื่อนไขอย่างไรบ้าง

กรณี เป็นเคลมแห้ง ผู้ขับขี่รถประกันสามารถนำรถประกันเข้าซ่อมที่อู่ในเครือของบริษัทฯได้ทันที โดยนำเอกสารดังต่อไปนี้ ติดต่อซ่อมที่อู่ในเครือของบริษัทฯ ได้แก่ ใบขับขี่ กรมธรรม์และสำเนาทะเบียนรถ ซึ่งอู่ในเครือจะขอเปิดเคลมและเสนอราคาเพื่อขออนุมัติค่าซ่อมได้ทันที

4. การนำรถเข้าซ่อม มีกำหนดระยะเวลาหรือไม่ อย่างไร

กรณีเป็นเคลมสด เพื่อความรวดเร็วในการอนุมัติซ่อมและการซ่อม จะต้องนำรถเข้าซ่อมภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันที่เกิดเหตุ
กรณีเป็นเคลมแห้งต้องนำรถเข้าซ่อมก่อนกรมธรรม์หมดอายุ

5. กรมธรรม์ซ่อมห้างแตกต่างจากกรมธรรม์ซ่อมอู่อย่างไร

โดยปกติกรมธรรม์รถยนต์ หากเกิดอุบัติเหตุก็สามารถนำรถซ่อมที่อู่ในเครือของบริษัทฯ ซึ่งจะได้รับความสะดวกในเรื่องการติดต่อ การอนุมัติราคาและเอกสาร ตลอดจนการรับประกัน คุณภาพการซ่อม โดยเรียกกรมธรรม์ประเภทนี้ว่า “กรมธรรม์ซ่อมอู่ในเครือ” ส่วนกรมธรรม์อีกประเภทหนึ่งคือ “กรมธรรม์ซ่อมห้าง” ซึ่งหากเกิดอุบัติเหตุ ทางผู้เอาประกันสามารถ นำรถเข้าซ่อมที่ศูนย์บริการ(ห้าง)ในเครือของบริษัทฯได้ ซึ่งกรมธรรม์ประเภทนี้ ก็จะมีเงื่อนไขและข้อจำกัดในการรับประกันภัยแตกต่างกันไป และจะมีค่าเบี้ยประกันสูงกว่ากรมธรรม์ปกติ 20-30%

กรณี เป็นกรมธรรม์ซ่อมอู่แล้วนำรถประกันไปซ่อมที่ศูนย์บริการ ผู้เอาประกันจะต้องรับผิดชอบส่วนต่างราคาค่าซ่อม จากการซ่อมอู่ในเครือของบริษัทฯ

6. การซ่อมรถประกัน จำเป็นต้องซ่อมอู่ในเครือหรือศูนย์บริการ(ห้าง)ในเครือหรือไม่ แตกต่างกันอย่างไร

ไม่จำเป็น แต่การเข้าซ่อมอู่หรือศูนย์บริการที่ไม่ใช่ในเครือ หรือเป็นคู่สัญญากับทางบริษัทฯ จะมีความแตกต่างใน 2 ส่วน ได้แก่

ส่วนที่หนึ่ง การอนุมัติราคาค่าซ่อม บริษัทฯจะอนุมัติราคาค่าซ่อมให้เท่ากับการซ่อมกับอู่หรือศูนย์บริการในเครือ ดังนั้นหากมีส่วนต่างค่าซ่อม ทางผู้เอาประกันจะต้องรับผิดชอบ ในส่วนแตกต่างดังกล่าวเอง และในกรณีต้องมีการเปลี่ยนอะไหล่ ทางอู่นอกเครือดังกล่าว จะต้องเป็นผู้จัดหาอะไหล่ตามที่บริษัทฯได้อนุมัติไปแล้วเอง โดยจะต้องคิดส่วนลดราคาอะไหล่ ให้เท่ากับร้านอะไหล่ในเครือของบริษัทฯ

ส่วนที่สอง ผู้เอาประกันหรือเจ้าของรถต้องนำเรื่องเข้ามาติดต่อหรือคุมราคาหรือตั้งเบิก ด้วยตนเอง แต่อย่างไรก็ตามสามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นมาดำเนินการแทนก็ได้ โดยมีขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้ กรณีเป็นเคลมสด ผู้เอาประกันฯหรือเจ้าของรถต้องนำรถประกันหรือรถคู่กรณีพร้อมใบเสนอราคาค่า ซ่อมเข้ามาติดต่อที่สำนักงานหรือสาขาของบริษัทฯ (ยกเว้นกรณีเป็นศูนย์ บริการ ทางบริษัทฯจะจัดเจ้าหน้าที่ออกอนุมัติราคาให้ที่ศูนย์ฯ ภายหลังจากที่ได้รับใบเสนอราคาค่าซ่อมจากทางศูนย์ฯ) แต่หากไม่สามารถเข้ามาติดต่อได้ด้วยตนเอง สามารถมอบอำนาจให ้ผู้อื่นมาทำแทนได้ กรณีเป็นเคลมแห้ง ผู้ขับขี่รถประกันต้องนำรถเข้ามาเปิดเคลมที่สำนักงานหรือสาขาของบริษัทฯพร้อมกับตกลงราคาค่าซ่อม

7. ค่า Excess หรือ Deductible และส่วนร่วมทำสี คืออะไร แตกต่างกันอย่างไร

ในส่วนของค่า Excess หรือ Deductible คือ ค่าเสียหายส่วนแรก เป็นการระบุจำนวนเงินที่ผู้เอาประกันต้องรับผิดชอบความเสียหายเอง โดยรับผิดชอบไม่เกินจำนวนเงินที่ระบุ
ในส่วนที่เกินกว่านั้น บริษัทประกันภัย จะเป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมด ทั้งนี้ไม่เกินวงเงินคุ้มครองตามกรมธรรม์ โดยค่าเสียหายส่วนแรกนี้ แบ่ง เป็น 2 กรณี

– ค่า Excess หรือ Deductible ที่ผู้เอาประกันระบุในกรมธรรม์ ในกรณีนี้จะเป็นข้อตกลงระหว่างผู้เอาประกันและบริษัทประกันภัย ตั้งแต่การเริ่มรับประกันภัยแล้ว และผู้เอาประกันจะได้รับส่วนลดค่าเบี้ยประกันจากการระบุค่า Excess หรือ Deductible นี้

– กรณีผิดเงื่อนไขของกรมธรรม์ เช่น กรณีไม่สามารถระบุคู่กรณีให้บริษัทฯทราบได้ หรือกรมธรรม์ระบุชื่อผู้ขับขี่ แต่ในขณะเกิดเหตุผู้ขับขี่ไม่ตรงตามชื่อที่ระบุในกรมธรรม์ ในส่วนของค่าส่วนร่วมทำสี โดยส่วนใหญ่จะเกิดขั้นจาก พนักงานฝ่ายราคาตรวจสอบรถประกันแล้วพบว่าเป็นความเสียหายใน 2 กรณี ดังนี้

ส่วนที่หนึ่ง รถ ประกันสีเสื่อมจึงต้องเรียกเก็บค่าส่วนร่วมทำสี เนื่องจากกรมธรรม์รถยนต์จะคุ้มครองความเสียหายจากอุบัติเหตุเท่านั้น ไม่ได้คุ้มครองการเสื่อมสภาพ จากการใช้งาน หรือความเสียหายที่คาดหมายได้อยู่แล้วว่ารถทุกคันก็จะมีความเสียหายลักษณะ นั้นๆ อย่างไรก็ตามบริษัทฯก็จะพิจารณาการร่วมรับผิดชอบระหว่างบริษัทฯและผู้เอาประกันตามความเหมาะสม โดยจะพิจารณาจากประวัติของผู้เอาประกันเป็นหลัก

ส่วนที่สอง กรณีที่ไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่า ความเสียหายเกิดจากอุบัติเหตุทั้งหมดหรือไม่ อย่างไร จึงต้องเป็นการประนีประนอมในการรับผิดชอบความเสียหาย ระหว่างบริษัทฯและผู้เอาประกัน โดยปกติจะเกิดร่วมกับกรณีสีเสื่อมสภาพ ในส่วนที่ว่าจะประนีประนอมกันเท่าไหร่ อย่างไร จะขึ้นอยู่กับลักษณะความเสียหาย และประวัติ การเคลมของผู้เอาประกันภัยแต่ละรายเป็นหลัก

8. การร่วมรับผิดชอบต่อส่วนเสื่อมสภาพหรือส่วนสึกหรอ คืออะไร มีอะไรบ้าง และร่วมรับผิดชอบอย่างไร

เนื่องจากกรมธรรม์รถยนต์ ไม่ได้คุ้มครองการเสื่อมสภาพและการสึกหรอจากการใช้งาน อย่างไรก็ตามยังมีรายละเอียดและข้อยกเว้นที่บริษัทฯ จะพิจารณาการร่วมรับผิดชอบ

ระหว่างบริษัทฯ และผู้เอาประกันตามความเหมาะสมและยุติธรรม เช่น

กรณี ชิ้นส่วนของรถประกันผุ แต่รถประกันเกิดอุบัติเหตุเป็นเคลมสด ในส่วนของการผุทางผู้เอาประกันต้องรับผิดชอบเอง โดยทางบริษัทจะรับผิดชอบค่าทำสีเท่านั้น

กรณี ชิ้นส่วนอะไหล่ที่มีการเสื่อมสภาพหรือสึกหรอจากการใช้งานอยู่แล้ว กล่าวคือ แม้ไม่ได้เกิดอุบัติเหตุทางผู้เอาประกันก็ต้องทำการเปลี่ยนอะไหล่ชิ้นดัง กล่าว ตามตารางบำรุงรักษารถโดยปกติ เช่น

– กรณี ชิ้นส่วนอะไหล่ที่มีส่วนประกอบเป็นยางต่างๆ เช่น ลูกยาง ลูกหมาก หากเป็นการเปลี่ยนอะไหล่ตามสภาพรถแล้ว ก็จะไม่ถูกเรียกเก็บส่วนเสื่อมหรือส่วนสึกหรอ จากผู้เอาประกันแต่อย่างใด แต่หากเป็นการเปลี่ยนอะไหล่แท้ใหม่ จะต้องทำการหักส่วนเสื่อมสภาพ ตามสภาพของอะไหล่แต่ละชิ้นตัวอย่างที่ชัดเจนได้แก่ ยางรถยนต์ ถ้าเกิดอุบัติเหตุแล้วยางแตก ถ้าบริษัทฯรับผิดชอบเป็นยางเปอร์เซ็นต์ ทางผู้เอาประกันก็ไม่ต้องร่วมรับผิดชอบในส่วนเสื่อมสภาพ แต่หากเป็นการเปลี่ยนยางใหม่ บริษัทฯจะรับผิดชอบค่ายาง 50% (กรณีรถประกันยางแตก กรมธรรม์รถยนต์ไม่ได้คุ้มครองต่อตัวยาง แต่หากยางแตกแล้วรถประกันเสียหลักเฉี่ยวชนกับรถคันอื่น กรมธรรม์คุ้มครองต่อความเสียที่ตามมาจากยางแตก)

– ส่วน ประกอบที่เป็นน้ำมันหล่อลื่นต่างๆ เช่น น้ำมันเครื่อง บริษัทฯไม่สามารถรับผิดชอบได้ เนื่องจากโดยวิธีปฏิบัติแล้ว สามารถถ่ายน้ำมันเครื่องเพื่อนำกลับมาเติมให้ใหม่ได้ แต่หากน้ำมันเครื่องเสียหายจากอุบัติเหตุครั้งนั้นๆ ไม่สามารถนำมาใช้ได้อีก บริษัทฯจะร่วมรับผิดชอบ 50%

9. กรณีรถประกันเสียหาย โดยไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ทำให้เสียหาย หรือคู่กรณีหลบหนี หรือจำรายละเอียดไม่ได้ จะต้องดำเนินการอย่างไร

หาก เกิดกรณีดังกล่าว ทางผู้ขับขี่หรือผู้เอาประกันต้องทำการแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อตรวจสอบ ติดตามและดำเนินคดีกับผู้ต้องสงสัย แต่หากยังไม่สามารถระบุให้บริษัทฯ ทราบถึงผู้ที่ทำให้รถประกันเสียหายได้ ทางผู้เอาประกันก็ต้องรับผิดชอบค่า Excess หรือ Deductible ตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ จำนวน 2,000 บาท ในทุกกรณีและทุกอุบัติเหตุแต่ละครั้ง

10. Excess หรือ Deductible และส่วนร่วมทำสี ตลอดจนส่วนเสื่อม สามารถลดหย่อนหรืออนุโลมได้ หรือไม่ อย่างไร

ในส่วนของค่า Excess หรือ Deductible คือ ค่าเสียหายส่วนแรก ที่ระบุอยู่ในกรมธรรม์และเป็นเงื่อนไขในกรมธรรม์ชัดเจน ประกอบกับผู้เอาประกันได้รับส่วนลดค่าเบี้ยประกันจาก

การระบุค่า Excess หรือ Deductible ไปแล้ว จึงไม่สามารถทำการลดหย่อนหรืออนุโลมได้แต่อย่างใด

ใน ส่วนของค่าส่วนร่วมทำสี เนื่องจากเป็นการพิจาณาร่วมรับผิดชอบระหว่างบริษัทฯและผู้เอาประกันตามความ เหมาะสม จากลักษณะความเสียหาย จากประวัติของผู้เอาประกัน และประวัติการเคลมของผู้เอาประกันภัยแต่ละรายเป็นหลัก ซึ่งพนักงานราคาได้พิจารณาจากปัจจัยแต่ละอย่างได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมและยุติธรรมแล้ว

 

3พลัส, broker, ชั้น2พลัส, ต่อประกันรถยนต์, บริษัทประกันภัยรถยนต์, ประกันชั้น1, ประกันชั้น2, ประกันชั้น2พลัส, ประกันชั้น3, ประกันชั้น3พลัส, ประกันภัยรถยนต์, ประกันรถกระบะ, ประกันรถกะบะ, ประกันรถยนต์, ประกันรถยนต์ชั้น1, ประกันรถเก๋ง, พรบ.รถยนต์, โบรกเกอร์

 

11. กรณีใดจึงจะทำการเปลี่ยนอะไหล่ และมีอะไหล่กี่ประเภท มีเงื่อนไขแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร
กรณีที่จะทำการเปลี่ยนอะไหล่ได้ ชิ้นส่วนดังกล่าวต้องมีความเสียหายมากกว่า 50% และหลักการทั่วไปในการพิจารณา คือ หากอะไหล่เดิมเป็นอะไหล่ประเภทไหน สภาพใด
ทางผู้เอาประกันก็จะได้รับการชดใช้ให้ในสถาพเดิม ดังนี้

ในส่วนของรถที่อายุไม่เกิน 2 ปี จะเป็นการเปลี่ยนอะไหล่ของแท้ใหม่ แต่หากเกิดเหตุหลายครั้ง ภายใน 2 ปี ก็อาจจะต้องพิจารณาเป็นรายการๆไป อย่างเช่นบังโคลนและฝากระโปรงหน้า อาจจะต้องพิจารณาเป็นอะไหล่แท้เก่า อย่างไรก็ตามในกรณีเป็นรถประกันเสียหายมากและเป็นการตกลงราคาเหมาซ่อมทั้ง ค่าแรงและค่าอะไหล่กับทางอู่ผู้รับงานซ่อม การพิจารณา เรื่องอะไหล่จะพิจารณาตามความเหมาะสมและยุติธรรม ทั้งนี้อู่จะเป็นผู้รับผิดชอบงานซ่อมจนเสร็จสมบูรณ์

อย่างไรในส่วนของอะไหล่ที่เกี่ยวเนื่องกับความปลอดภัย จะต้องเป็นการจัดอะไหล่แท้เท่านั้น เช่นระบบไฟส่องสว่าง ระบบเครื่องยนต์ ระบบช่วงล่าง แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณา จากสภาพรถประกอบด้วย

ใน ส่วนของการเปลี่ยนอะไหล่ที่เป็นอะไหล่นำเข้า บริษัทฯจะรับผิดชอบค่าขนส่งทางเรือเท่านั้น หากเป็นการนำเข้าด้วยวิธีอื่น ผู้เอาประกันต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นเอง

12. การรถประกันกระจกแตก กรมธรรม์รับผิดชอบและต้องดำเนินการอย่างไร
กรมธรรม์ รับผิดชอบกระจกและฟิลม์ ตามประเภทและรุ่นที่ติดตั้งไว้ก่อนทำประกัน ทั้งนี้ต้องมีเอกสารรับรองที่ถูกต้อง โดยสามารถนำรถเข้าซ่อมหรือเปลี่ยนกระจกที่ร้านในเครือของบริษัทฯได้ตลอดเวลา โดยดำเนินการเช่นเดียวกับกรณีเคลมแห้ง

13. กรมธรรม์ประเภท 1 สามารถทำสีรอบคันได้หรือไม่
กรมธรรม์รถยนต์ให้ความคุ้มครองกรณีเกิดอุบัติเหตุเท่านั้น ไม่รับผิดชอบการเสื่อมสภาพจากการใช้งานดังนั้นกรณีที่ลูกค้าแจ้งซ่อมทำสีรอบ คัน ต้องตรวจสอบที่ความเสียหาย เป็นหลักว่าเกิดจากอุบัติเหตุหรือไม่ เชื่อถือได้หรือไป

แต่ หากจะเป็นการประนีประนอม ต้องตรวจสอบว่าทำประกันมากี่ปี เคยเกิดทำเคลมมากี่ครั้ง พร้อมตรวจสอบบาดแผลที่ตัวรถประกันว่าเกิดจากเหตุจริง หรือเป็นการแจ้งซ่อมที่ ต้องการปรับปรุงสีใหม่หรือไม่ ถ้าเป็นการทำประกันปีแรกแล้วแจ้งซ่อม จะมีการเรียกเก็บส่วนร่วมอย่างน้อย 50% ของค่าซ่อมทั้งหมด แต่ถ้าทำประกันต่อเนื่องกับทางบริษัทฯ มาหลายปีแล้ว โดยปกติจะเป็นการประนีประนอมในการร่วมรับผิดชอบความเสียหายระหว่างบริษัทฯ และผู้เอาประกัน ในส่วนที่ว่าจะประนีประนอมกันเท่าไหร่ จะขึ้นอยู่กับลักษณะ ความเสียหายและประวัติการเคลมของผู้เอาประกันภัยแต่ละรายเป็นหลัก ซึ่งพนักงานราคาจะเป็นผู้แจ้งส่วนร่วมรับผิดชอบนี้ต่อผู้เอาประกัน โดยทำการพิจารณา จากปัจจัย แต่ละอย่างด้วยความเหมาะสมและยุติธรรม

14. กรมธรรม์รถยนต์ให้ความคุ้มครองอุปกรณ์ตกแต่งหรือไม่ อย่างไร
คุ้มครองอุปกรณ์ตกแต่งตามมาตรฐานที่ติดมากับตัวรถเท่านั้น แต่หากมีการตกแต่งเพิ่มเติม ต้องเจ้งให้ บริษัทฯทราบ หากไม่ได้ทำการแจ้ง ทางบริษัทฯก็จะสามารถชดใช้ได้ไม่เกินตามมาตรฐานที่ติดมากับตัวรถเท่านั้น อย่างไรก็ตามฝ่ายรับประกันภัย จะกำหนดความคุ้มครองไว้ไม่เกิน 10% ของทุนประกัน และสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท

15. กรณีรถประกันมีความเสียหายก่อนทำประกันหรือแผลเก่า สามารถเคลมได้หรือไม่อย่างไร
แผลเก่าที่เกิดก่อนทำประกัน ในกรณีนี้ถ้าเป็นการแจ้งซ่อมหรือเคลมแห้ง ไม่ได้เกิดจากอุบัติเหตุเคลมสดทางบริษัทฯไม่สามารถรับผิดชอบได้ เนื่องจากมีแผลก่อนทำประกัน
แต่ถ้าเกิดเหตุเป็นเคลมสดโดยซ้ำแผลเดิมและเสียหายมากกว่า ถ้าเสียหายไม่มากเห็นควรรับผิดชอบค่าซ่อมฝ่ายละ 50% แต่ถ้าความเสียหายชิ้นนั้นต้องเปลี่ยนอะไหล่
ทางบริษัทรับผิดชอบในส่วนของค่าอะไหล่ แต่ค่าทำสีทางผู้เอาประกันต้องรับผิดชอบเองหรือร่วมรับผิดชอบ 50% แล้วแต่ระดับความเสียหายของแต่ละกรณี

16. การเบิกเงินค่าซ่อม ต้องดำเนินการอย่างไร ระยะเวลาในการเบิกเป็นอย่างไร
โดยปกติการซ่อมกับอู่ในเครือของบริษัทฯ ทางอู่จะเป็นผู้ดำเนินการให้ทั้งหมด เนื่องจากอู่เป็นคู่สัญญากับบริษัทฯอยู่แล้ว แต่หากเป็นกรณีที่ผู้เอาประกันได้สำรองจ่ายค่าใช้จ่าย บางอย่างไป หรือการเข้าซ่อมอู่นอกเครือ ทางผู้เอาประกันสามารถเบิกค่าซ่อมคืน โดยการนำรถประกัน เอกสารรายละเอียดการซ่อม การอนุมัติราคา พร้อมเอกสารประจำตัว มาติดต่อที่สาขาของบริษัทฯ และหากเป็นการมอบอำนาจอำนาจให้ผู้อื่นมาดำเนินการ ต้องนำรถประกันพร้อมเอกสารต่อไปนี้ ติดต่อที่สำนักงานหรือสาขาของบริษัทฯ

– สำเนาบัตรประชาชนผู้เอาประกัน
– สำเนาใบอนุญาตขับขี่ ผู้ขับขี่รถประกัน
– หนังสือมอบอำนาจ
– สำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบอำนาจ
– สำเนาทะเบียนรถ
– สำเนากรมธรรม์(กรณีเป็นรถคู่กรณี)
– ภาพถ่ายความเสียหาย
– ภาพถ่ายขณะซ่อม
– ภาพถ่ภาพถ่ายซากอะไหล่
– ภาพถ่ายซ่อมเสร็จ

โดยระยะเวลาในการเบิก ค่าใช้จ่ายคืนเป็น ดังนี้
– ค่าซ่อม จ่ายคืนอู่ จ่ายคืนภายใน 35 วัน
– ค่าใช้จ่ายต่างๆ จ่ายคืนผู้เอาประกันหรือชื่อบุคคล จ่ายคืนภายใน 15 วันทำการ

ทั้งนี้ในกรณีค่าซ่อม น้อยกว่า 5,000 บาท ทางผู้เอาประกันภัยหรือเจ้าของรถสามารถเบิกค่าซ่อมหรือค่าใช้จ่ายคืนเป็น เงินสดได้ โดยดำเนินการเช่นเดียวกับข้างต้น แต่ทั้งนี้ต้องเป็น การจ่ายคืน ผู้เอาประกันหรือเจ้าของรถเท่านั้น และหากเป็นกรณีการมอบอำนาจ ต้องระบุให้ชัดเจนในหนังสือมอบอำนาจว่าให้รับเป็นเงินสดได้

17. ค่ายก-ลากรถประกัน
กรณีรถประกันเสียหายมาก ต้องทำการยกลากเข้าอู่ซ่อม ค่าใช้จ่ายในการยกลาก หากผู้ขับขี่ได้สำรองจ่ายไปก่อน สามารถเบิกคืนจากบริษัทฯได้ แต่ทั้งนี้จะไม่เกิน 20% ของค่าซ่อม สาเหตุที่ต้องกำหนดว่าไม่เกิน 20% เพื่อให้เกิดความชัดเจน กรณีมีการยกลากโดยไม่จำเป็น

18. ค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุ กรมธรรม์รถยนต์ให้ความคุ้มครองหรือไม่ อย่างไร
กรมธรรม์รถยนต์ให้ความคุ้มครองต่อค่ารักษาพยาบาลทั้งในส่วนของผู้บาดเจ็บใน รถประกันเองและบุคคลที่อยู่ภายนอกรถประกันด้วย กรณีรถประกันเป็นฝ่ายผิดในอุบัติเหตุครั้งนั้นๆ โดยคุ้มครองสูงสุดตามที่ระบุในกรมธรรม์ และทางผู้เสียหายใช้สิทธิ์ตามกฏหมายในการเรียกร้องค่าเสียหายอื่นๆเพิ่มเติม จากค่ารักษาพยาบาล ทางบริษัทฯจะจัดเจ้าหน้าที่ ตลอดจน ทนายความ เพื่อร่วมในการเจรจาค่าเสียหายและรับผิดชอบความเสียหายดังกล่าว ทั้งนี้ จะต้องเป็นค่าเสียหายที่สามารถพิสูจน์ได้และประเมินเป็นจำนวนเงินได้

19. การติดต่อเบิกค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุ จะต้องดำเนินการอย่างไร
การเบิกค่ารักษาพยาบาล จะแยกเป็น 2 ส่วน กล่าวคือ จำนวน 50,000 บาทแรก จะคุ้มครองด้วยกรมธรรม์ภาค
บังคับหรือ พ.ร.บ. และส่วนเกินจากนี้ จะคุ้มครองด้วยกรมธรรมภาคสมัครใจ

เมื่อมีการเข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลของผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุ และมีกรมธรรม์ พ.ร.บ.คุ้มครองอยู่ ทางโรงพยาบาลจะเบิกค่ารักษาฯ เบื้องต้น จำนวน 15,000 บาท จากบริษัทที่รับประกัน พ.ร.บ. ฉบับนั้นๆโดยอัตโนมัติ โดยส่วนที่เกินจากนี้ ทางผู้บาดเจ็บต้องรับผิดชอบค่ารักษาฯ เอง แต่หากผลคดีชัดเจน ทางฝ่ายผิดของอุบัติเหตุนั้นๆจะรับผิดชอบต่อค่ารักษาฯนี้ ไม่เกินวงเงินความคุ้มครองสูงสุดตามกรมธรรม์

กรณีที่ผู้เอาประกันหรือผู้บาดเจ็บได้ สำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลไป สามารถติดต่อเบิกคืน โดยแนบเอกสารดังนี้ไปนี้เพิ่มเติมจากกรณีเบิกค่าซ่อม ได้แก่ บันทึกประจำวัน และใบรับรองแพทย์

20. ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ หรือการนำรถเข้าซ่อมในอู่ สามารถเบิกได้หรือไม่ อย่างไร
กรมธรรม์รถยนต์ให้ความคุ้มครองมากมาย ไม่ว่าจะเป็นความเสียหายต่อตัวรถประกัน การสูญหาย การถูกไฟไหม้ ความรับผิดต่อบุคคลภายนอก และความคุ้มครองเพิ่มเติมตามเอกสาร แนบท้ายกรมธรรม์อีก แต่ไม่ได้คุ้มครองค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ อย่างไรก็ตามหากผู้เอาประกันเป็นฝ่ายถูกในอุบัติเหตุครั้งนั้นๆ สามารถใช้สิทธิ์ทางกฏหมายในการเรียกร้อง ค่าเสียหาย โดยตรงจากทางคู่กรณีได้ ทั้งนี้จะต้องเป็นค่าเสียหายที่สามารถพิสูจน์ได้และประเมินเป็นจำนวนเงินได้

ประกันภัยรถยนต์, ประกันรถยนต์ ,ประกันชั้น1, โบรกเกอร์, ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส, ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส, ต่อประกันรถยนต์, broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ, ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

เรียบเรียงข้อมูลโดย Asn Broker

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง Asn Broker Blog , Asn Broker Blogspot , Asn Broker Exteen , Asn Broker Wikidot , Asn Broker on WordPress

ขอฝากกิจกรรม ไว้ด้วยนะครับ  กิจกรรม จับ แจก ฟรี ตั๋วหนัง !! , ต่อประกันรถยนต์

ดูรายละเอียดกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่ Asn Broker Campaign

ประกันภัยรถยนต์, ประกันรถยนต์ ,ประกันชั้น1, โบรกเกอร์, ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส, ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส, ต่อประกันรถยนต์, broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ, ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

 

ประกันภัยรถยนต์,ประกันชั้น3 โดย Asn Broker (asnbroker)

ประกันภัยชั้น3 เป็น การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจชนิดหนึ่ง ที่จัดอยู่ในประกันรถยนต์ประเภทที่ 3  ซึ่งให้ความคุ้มครองต่อตัวรถยนต์และทรัพย์สินคู่กรณีเมื่อเกิดอุบัติเหตุ โดยยกเว้นไม่คุ้มครองตัวรถ และทรัพย์สินของผู้ขับขี่เอง

แต่ปัจจุบันมีการจัดแคมเปญพิเศษมากมาย เพื่อสามารถเลือกรับความคุ้มครองที่มากขึ้น เช่น ประกันชั้น3พลัส จึงทำให้ผู้ทำประกันสามารถเลือกวงเงินความคุ้มครองบุคคลภายในรถเพิ่มเติมได้ตามต้องการ อัตราเบี้ยสำหรับประกันภัยขึ้นอยู่กับความคุ้มครองหลักที่คุ้มครองฝ่ายคู่กรณี และความคุ้มครองเพิ่มเติมที่ผู้ทำประกันต้องการ

ดังนี้น ผู้ที่ต้องการทำประกันภัยประเภทนี้ควรศึกษาเงื่อนไข ความคุ้มครองหลัก และความคุ้มครองเพิ่มเติมต่างๆ อย่างถี่ถ้วน เพื่อให้ได้ความคุ้มครองตามที่ต้องการ เพราะการประกันภัยรถยนต์เป็นการตกลงกันระหว่างผู้ซื้อ (ผู้เอาประกัน) และผู้ขาย (บริษัทประกันภัย) โดยเป็นการเลือกซื้อความคุ้มครองประกันภัยตามความต้องการที่เหมาะสมของตัวผู้ซื้อ (ผู้เอาประกันภัย ) เอง

สรุปได้ว่า ประกันภัยชั้น3 คือประกันภัยที่คุ้มครองตัวรถยนต์ และทรัพย์สินคู่กรณี (ประกันซ่อมคู่กรณ๊ให้) แต่ไม่คุ้มครองตัวรถยนต์และทรัพย์สินคู่ของผู้ขับขี่ (เจ้าของรถ หรือตัวผู้ขับขี่ ซ่อมเอง)

หมายเหตุ การเคลมประกันภัยชั้น3 ต้องมีคู่กรณี

ประกันภัยรถยนต์, ประกันรถยนต์ ,ประกันชั้น1, โบรกเกอร์, ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส, ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส, ต่อประกันรถยนต์, broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ, ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

การประกันภัยรถยนต์ประเภท 3 แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

  • การประกันภัยประเภทไม่ระบุชื่อผู้ขับขี่ จะคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์ที่เกิดขึ้นจากการใช้หรือขับขี่โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัย
  • การประกันภัยประเภทระบุชื่อผู้ขับขี่ จะคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์ที่เกิดขึ้นในขณะที่บุคคลที่ระบุชื่อในกรมธรรม์เป็นผู้ขับขี่ แต่ถ้าไม่ใช้ผู้เอาประกันภัยต้องเข้าร่วมรับผิดชอบต่อ ความเสียหายส่วนแรก ด้วย

ความรับผิดชอบตามหลักกรมธรรม์ประเภทสมัครใจ ประเภท 3

1. ความคุ้มครองความรับผิดชอบต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก (Third Party Bodily Injury : TPBI) หมายถึง ความรับผิดต่อความบาดเจ็บหรือมรณะของบุคคลภายนอกและความรับผิดต่อความบาด เจ็บหรือมรณะของผู้โดยสารในรถคันเอาประกันภัย โดยมีจำนวนเงินขั้นต่ำที่บริษัทต้องรับประกันภัยจำนวน 100,000 บาทต่อหนึ่งคน และ 10,000,000 บาทต่อหนึ่งครั้ง ทั้งนี้จำนวนเงินจำกัดความรับผิดนี้ถือเป็นส่วนเกินจากความคุ้มครองตาม กรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ

2. ความคุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก (Third Party Property Damage : TPPD) หมายถึง ความรับผิดต่อความเสียหายใด ๆ อันเกิดแก่ทรัพย์สินของบุคคลภายนอก โดยมีจำนวนเงินขั้นต่ำที่บริษัทต้องรับประกันภัยจำนวน 200,000 บาทต่อหนึ่งครั้ง จำนวน เงินจำกัดความรับผิดสามารถเพิ่มให้สูงกว่าพื้นฐานได้ โดยเพิ่มเบี้ยประกันภัยตามอัตราเบี้ยประกันภัยเพิ่มตามความเสี่ยงภัย และอัตราเบี้ยประกันภัยเพิ่มความคุ้มครองตามที่ได้ระบุไว้ในพิกัดอัตราเบี้ย ประกันภัยรถยนต์

เงื่อนไขความคุ้มครองของประกันชั้น3

1. ความรับผิดต่อบุคคลภายนอก บริษัทผู้รับประกันภัยจะเข้ารับผิดชอบค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอก หากความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกนั้น ผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายที่ต้องรับผิดตามกฎหมาย ซึ่งความคุ้มครองในส่วนนี้จะแบ่งเป็น

1.1 ความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัย ซึ่งจะคุ้มครองความรับผิดต่อความบาดเจ็บ มรณะ โดยบุคคลภายนอกที่ได้รับความคุ้มครองในส่วนนี้ จะรวมทั้งบุคคลที่อยู่ภายนอกรถยนต์คันเอาประกันภัย และบุคคลภายนอกที่โดยสารอยู่ในหรือกำลังขึ้น หรือกำลังลงจากรถยนต์คันเอาประกันภัย โดยจะคุ้มครองเฉพาะจำนวนเงินค่าเสียหายส่วนที่เกินกว่าจำนวนเงินสูงสุดตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (พรบ.) ยกเว้น ผู้ขับขี่รถยนต์คันเอาประกันภัยในขณะเกิดอุบัติเหตุ รวมทั้งคู่สมรส บิดา มารดา บุตร ลูกจ้างในขณะปฏิบัติงานของผู้ขับขี่

1.2 ความเสียหายต่อทรัพย์สิน บริษัทประกันภัยจะรับผิดชอบค่าสินไหมทดแทนความเสียหายต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอกตามความเสียหายที่แท้จริง แต่ไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัย ยกเว้น เป็นทรัพย์สินของผู้ขับขี่รถยนต์คันเอาประกันภัยในขณะเกิดอุบัติเหตุ รวมทั้งคู่สมรส บิดา มารดา บุตรของผู้ขับขี่

2. รถยนต์เสียหาย สูญหาย ไฟไหม้

ไม่คุ้มครองตัวรถ และทรัพย์สินของผู้ขับขี่เอง

3. ความคุ้มครองตามเอกสารแนบท้าย (อนุสัญญาแนบท้าย)

3.1 อุบัติเหตุส่วนบุคคล คุ้มครองความบาดเจ็บจากอุบัติเหตุของผู้ขับขี่หรือผู้โดยสารรถยนต์คันเอาประกันภัย หากความบาดเจ็บที่ได้รับเป็นผลให้บุคคลนั้นเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพถาวร หรือทุพพลภาพชั่วคราว โดยบริษัทประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เป็นจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ระบุไว้

3.2 ค่ารักษาพยาบาล คุ้มครองความบาดเจ็บจากอุบัติเหตุของบุคคลที่อยู่ในรถยนต์คันเอาประกันภัย หากความบาดเจ็บเป็นผลให้ต้องเข้ารับการรักษาพยาบาล โดยบริษัทประกันภัยจะจ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าผ่าตัด ค่าโรงพยาบาล ตามจำนวนเงินที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ระบุไว้

3.3 การประกันตัวผู้ขับขี่ กรณีที่ผู้เอาประกันภัย หรือผู้ขับขี่ได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัย นำรถยนต์คันเอาประกันภัยไปใช้และเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งเป็นผลให้ถูกควบคุมตัวไว้ในคดีอาญา ทั้งในชั้นพนักงานสอบสวน พนักงาน อัยการ หรือศาล (จนถึงศาลฎีกา) โดยบริษัทต้องทำการประกันตัวผู้เอาประกันภัย หรือผู้ขับขี่โดยไม่ชักช้า ในวงเงินไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ระบุไว้

ตารางความคุ้มครอง ประกันชั้น3พลัส

ประกันภัยรถยนต์, ประกันรถยนต์ ,ประกันชั้น1, โบรกเกอร์, ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส, ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส, ต่อประกันรถยนต์, broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ, ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

รายละเอียดส่วนลดต่างๆ ของ ประกันชั้น3

ส่วนลดระบุอายุผู้ขับขี่ เป็นการคุ้มครองความรับผิดหรือความเสียหายต่อรถยนต์คันเอาประกันกันภัย ในกรณีที่บุคคลที่ระบุชื่อเป็นผู้ขับขี่ (กรณีถ้าไม่ใช่ผู้เอาประกันภัยต้องเข้าร่วมรับผิดต่อความเสียหาย) เฉพาะรถยนต์ที่ใช้ส่วนบุคคลเท่านั้น โดยแบ่งเป็น 4 ระดับอายุ คือ ช่วงอายุ 18 – 24 ปี ส่วนลด 5% ช่วงอายุ 25 – 35 ปี ส่วนลด 10% ช่วงอายุ 36 – 50 ปี ส่วนลด 15% ช่วงอายุเกิน 50 ปีขึ้นไป ส่วนลด 20%

ส่วนลดความเสียหายส่วนแรก เป็นข้อตกลงระหว่างบริษัทประกันภัยกับผู้เอาประกันภัย สำหรับค่าความเสียหายส่วนแรกของทรัพย์สินบุคคลภายนอก และ/หรือความเสียหายส่วนแรกของความเสียหายต่อรถยนต์

ส่วนลดกลุ่ม กรณีที่ผู้เอาประกันภัยมีรถยนต์ที่เอาประกันภัยไว้กับบริษัทประกันภัยตั้งแต่ 3 คันขึ้นไป จะได้รับส่วนลดเบี้ยประกันภัยกลุ่ม 10%

ส่วนลดประวัติดี ส่วนลดตามหลักเกณฑ์ส่วนลดเบี้ยประกันภัยประวัติดี ซึ่งคำนวณจากประวัติปีที่ผ่านมา

กลุ่มรถยนต์ที่เหมาะสมสำหรับประกันภัยประเภทนี้

รถยนต์ประเภทเก๋ง กระบะบรรทุก และรถตู้โดยสารส่วนบุคคล รถรับจ้าง และรถจักรยานยนต์ โดยไม่จำกัดอายุรถ

สำหรับผู้สนใจทำประกันชั้น3 ให้เตรียมเอกสารดังนี้

  • สำเนารายการจดทะเบียนรถยนต์
  • สำเนาบัตรประชาชนของผู้เอาประกัน (กรณีต้องการเปลี่ยผู้ดูแลสำหรับกรมธรรม์แบบต่ออายุ หรือ ชื่อผู้เอาประกันไม่ตรงกับรายการจดทะเบียน)
  • สำเนาเอกสารซื้อขายรถ (กรณีรถจดทะเบียนใหม่ หรือรถเปลี่ยนมือ)

ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันชั้น1,โบรกเกอร์,ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส,ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส,ต่อประกันรถยนต์,broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ,ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

เรียบเรียงข้อมูลโดย Asn Broker

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง Asn Broker Blog , Asn Broker Blogspot , Asn Broker Exteen , Asn Broker Wikidot , Asn Broker on WordPress

ขอฝากกิจกรรม ไว้ด้วยนะครับ  กิจกรรม จับ แจก ฟรี ตั๋วหนัง !! 

ดูรายละเอียดกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่ Asn Broker Campaign

ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันชั้น1,โบรกเกอร์,ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส,ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส,ต่อประกันรถยนต์,broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ,ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

ประกันภัยรถยนต์,ประกันชั้น3พลัส,3พลัส โดย Asn Broker (asnbroker)

ประกันชั้น3พลัส เป็น การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจชนิดหนึ่ง ที่จัดอยู่ในประกันรถยนต์ประเภทที่ 5 หรือเรียกอีกอย่างว่า ชั้น3พิเศษ

ประกันภัยรถยนต์, ประกันรถยนต์ ,ประกันชั้น1, โบรกเกอร์, ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส, ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส, ต่อประกันรถยนต์, broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ, ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

ความหมายประกันชั้น3พลัส 

ประกันชั้น3พลัส คือ ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจประเภท 3 แบบปกติ แต่มีความคุ้มครองเพิ่มเติมในส่วนของสัญญาประกันภัยเบ็ดเตล็ด แยกต่างหากออกจากสัญญาหลักที่ให้ความคุ้มครองความรับผิดต่อความเสียหาย ทรัพย์สิน และชีวิต ร่างกายของบุคคลภายนอก โดยให้ความคุ้มครองในความเสียหายต่อตัวรถคันเอาประกันภัยในวงเงินจำนวนหนึ่ง โดยมีเงื่อนไขความรับผิดชอบความเสียหายต่อทรัพย์สิน (รถยนต์คันทำประกันภัย) เมื่อ

  • เมื่อเกิดอุบัติเหตุรถผู้เอาประกันชนกับยานพาหนะทางบก
  • ในกรณีผู้เอาประกันเป็นฝ่ายผิดต้องรับผิดชอบความเสียหายส่วนแรก 2,000 บาท/ครั้ง

ดังนั้น จากเงื่อนไขดังกล่าว ดูเหมือนว่าประกันชั้น3พลัส นั้น จะมีความคุ้มครองเหมือนกับการประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 (ประกันชั้น1) แต่หากวิเคราะห์จริงๆ แล้ว มีความเหมือนที่แตกต่างในสาระสำคัญดังนี้

1. ประกันชั้น3พลัส ให้ความคุ้มครองทรัพย์สิน ชีวิต ร่างกาย และอนามัยของบุคคลภายนอกเหมือนกับประเภท 3 ธรรมดา แต่คุ้มครองรถยนต์คันเอาประกันภัยในวงเงินจำกัดแต่มีวงเงินน้อยกว่าประเภท 1 คืออยู่ระหว่าง 100,000 – 150,000 บาท แต่มีเงื่อนไข(ตัวอักษรเล็กๆ)ว่า “รับผิดชอบต่อเมื่อเกิดอุบัติเหตุรถผู้เอาประกันชนกับยานพาหนะทางบก” เท่านั้น ดังนั้นหากรถยนต์คันเอาประกันชั้น3พลัส ไปชนกำแพง ชนรั้ว ชนสุนัข ชนเสา ชนประตู ชนคน ฯลฯ ที่มิใช่ยานพาหนะทางบก รวมถึงกระจกหน้าถูกก้อนหินแตกร้าว จะไม่ได้รับความคุ้มครองตัวรถทั้งสิ้น ทั้งนี้การคว่ำ การสูญหาย การถูกไฟไหม้ ล้วนเป็นข้อยกเว้นที่ไม่ได้รับความคุ้มครอง

2. นอกจากนี้ ในการชนยานพาหนะทางบกนั้น ผู้เอาประกัน(หมายความรวมถึงผู้ขับขี่ที่ได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยให้ใช้รถด้วยด้วย) เป็นฝ่ายผิดแล้ว ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบความเสียหายส่วนแรก (เคยกล่าวไว้ในประกันชั้น2พลัส) จำนวน 2,000 บาท/ครั้ง ด้วย ซึ่งหมายความว่าเบี้ยประกันภัยที่แท้จริงมิใช่ราคาที่เรียกเก็บ แต่เป็นราคาที่เรียกเก็บหักเงื่อนไขค่าเสียหายส่วนแรกจำนวน 2000 บาทไว้แล้ว ดังนั้นเบี้ยประกันที่แท้จริงจึงอยู่ที่ประมาณ 6,800 + 2,000 บาท รวมเป็น 8,800 บาท ใกล้เคียงกับเบี้ยประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 ที่บางคันมีเบี้ยประกันภัย 12,000 – 15,000 บาท แล้วมี ค่าเสียหายส่วนแรก 2,000 บาท ก็จะคงเหลือ 10,000 – 13,000 บาท แต่ได้รับความคุ้มครองสูงกว่า

การประกันภัยรถยนต์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

1.การประกันภัยประเภทไม่ระบุชื่อผู้ขับขี่ จะคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์ที่เกิดขึ้นจากการใช้หรือขับขี่โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัย

2.การประกันภัยประเภทระบุชื่อผู้ขับขี่ จะคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์ที่เกิดขึ้นในขณะที่บุคคลที่ระบุชื่อในกรมธรรม์เป็นผู้ขับขี่ แต่ถ้าไม่ใช้ผู้เอาประกันภัยต้องเข้าร่วมรับผิดชอบต่อ ความเสียหายส่วนแรก ด้วย

ความรับผิดชอบตามกรมธรรม์ และความคุ้มครองต่างๆ จะมีลักษณะเหมือนประกันประเภทอื่นๆ โดยเฉพาะประกันชั้น2พลัส เพียงแต่ต่างตรงที่ประกันชั้น3พลัส จะไม่คุ้มครองกรณีสูญหาย ไฟไหม้

ความรับผิดชอบกรมธรรม์ประเภทสมัครใจ ประกันชั้น3พลัส

  • ความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถ
  • ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
  • ความรับผิดต่อความเสียหายของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย กรณีชนกับยานพาหนะทางบก (กรณีชนกับยานพาหนะทางบกและเป็นฝ่ายผิด จะต้องรับผิดชอบความเสียหายส่วนแรกต่อความเสียของตัวรถยนต์ผู้เอาประกันภัยไม่เกิน 2,000 บาท)

ความคุ้มครองต่างๆ สำหรับประกันภัยรถยนต์

1. ความรับผิดต่อบุคคลภายนอก

บริษัทผู้รับประกันภัยจะเข้ารับผิดชอบค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอก หากความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกนั้น ผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายที่ต้องรับผิดตามกฎหมาย ซึ่งความคุ้มครองในส่วนนี้จะแบ่งเป็น

1.1 ความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัย

ซึ่งจะคุ้มครองความรับผิดต่อความบาดเจ็บ มรณะ โดยบุคคลภายนอกที่ได้รับความคุ้มครองในส่วนนี้ จะรวมทั้งบุคคลที่อยู่ภายนอกรถยนต์คันเอาประกันภัย และบุคคลภายนอกที่โดยสารอยู่ในหรือกำลังขึ้น หรือกำลังลงจากรถยนต์คันเอาประกันภัย โดยจะคุ้มครองเฉพาะจำนวนเงินค่าเสียหายส่วนที่เกินกว่าจำนวนเงินสูงสุดตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (พ.ร.บ.) ยกเว้น ผู้ขับขี่รถยนต์คันเอาประกันภัยในขณะเกิดอุบัติเหตุ รวมทั้งคู่สมรส บิดา มารดา บุตร ลูกจ้างในขณะปฏิบัติงานของผู้ขับขี่

1.2 ความเสียหายต่อทรัพย์สิน

บริษัทประกันภัยจะรับผิดชอบค่าสินไหมทดแทนความเสียหายต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอกตามความเสียหายที่แท้จริง แต่ไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัย ยกเว้น เป็นทรัพย์สินของผู้ขับขี่รถยนต์คันเอาประกันภัยในขณะเกิดอุบัติเหตุ รวมทั้งคู่สมรส บิดา มารดา บุตรของผู้ขับขี่

2. รถยนต์เสียหาย สูญหาย ไฟไหม้

2.1 ความเสียหายต่อรถยนต์

ความคุ้มครองต่อความเสียหายต่อรถยนต์ โดยบริษัทประกันภัยจะชดเชยค่าสินไหมทดแทนความเสียหายในระยะเวลาเอาประกันภัย รวมทั้งอุปกรณ์เครื่องตกแต่ง หรือสิ่งที่ติดประจำอยู่กับตัวรถยนต์

2.2 ความเสียหายส่วนแรก

เงื่อนไขของผู้เอาประกันภัยจะเข้าร่วมรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นตามจำนวนเงินที่ระบุในกรมธรรม์ สำหรับกรณีที่รถคันเอาประกันภัยเป็นฝ่ายก่อให้เกิดความเสียหาย

2.3 รถยนต์สูญหายไฟไหม้

การสูญหายจะรวมถึงการสูญหายทั้งคัน สูญหายบางส่วน สูญหายจากการลักทรัพย์ของลูกจ้าง หรือบุคคลใดเป็นผู้ลักทรัพย์ก็ตาม การเสียหายของรถยนต์ที่เกิดจากไฟไหม้ ไม่ว่าจะเป็นการไหม้ด้วยตัวของมันเอง หรือเป็นการไหม้ที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากสาเหตุอื่นใดก็ตาม ไม่คุ้มครอง

3. ความคุ้มครองตามเอกสารแนบท้าย (อนุสัญญา)

3.1 อุบัติเหตุส่วนบุคคล

คุ้มครองความบาดเจ็บจากอุบัติเหตุของผู้ขับขี่หรือผู้โดยสารรถยนต์คันเอาประกันภัย หากความบาดเจ็บที่ได้รับเป็นผลให้บุคคลนั้นเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพถาวร หรือทุพพลภาพชั่วคราว โดยบริษัทประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เป็นจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ระบุไว้

3.2 ค่ารักษาพยาบาล

คุ้มครองความบาดเจ็บจากอุบัติเหตุของบุคคลที่อยู่ในรถยนต์คันเอาประกันภัย หากความบาดเจ็บเป็นผลให้ต้องเข้ารับการรักษาพยาบาล โดยบริษัทประกันภัยจะจ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าผ่าตัด ค่าโรงพยาบาล ตามจำนวนเงินที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ระบุไว้

3.3 การประกันตัวผู้ขับขี่

กรณีที่ผู้เอาประกันภัย หรือผู้ขับขี่ได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัย นำรถยนต์คันเอาประกันภัยไปใช้และเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งเป็นผลให้ถูกควบคุมตัวไว้ในคดีอาญา ทั้งในชั้นพนักงานสอบสวน พนักงาน อัยการ หรือศาล (จนถึงศาลฎีกา) โดยบริษัทต้องทำการประกันตัวผู้เอาประกันภัย หรือผู้ขับขี่โดยไม่ชักช้า ในวงเงินไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ระบุไว้

ตารางความคุ้มครอง ประกันชั้น3พลัส

ประกันภัยรถยนต์, ประกันรถยนต์ ,ประกันชั้น1, โบรกเกอร์, ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส, ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส, ต่อประกันรถยนต์, broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ, ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

รายละเอียดเงื่อนไขอื่นๆ ส่วนลด ของประกันชั้น3พลัส

ส่วนลดระบุอายุผู้ขับขี่

เป็นการคุ้มครองความรับผิดหรือความเสียหายต่อรถยนต์คันเอาประกันกันภัย ในกรณีที่บุคคลที่ระบุชื่อเป็นผู้ขับขี่ (กรณีถ้าไม่ใช่ผู้เอาประกันภัยต้องเข้าร่วมรับผิดต่อความเสียหาย) เฉพาะรถยนต์ที่ใช้ส่วนบุคคลเท่านั้น โดยแบ่งเป็น 4 ระดับอายุ คือ

  • ช่วงอายุ 18 – 24 ปี ส่วนลด 5%
  • ช่วงอายุ 25 – 35 ปี ส่วนลด 10%
  • ช่วงอายุ 36 – 50 ปี ส่วนลด 15%
  • ช่วงอายุเกิน 50 ปีขึ้นไป ส่วนลด 20%

ส่วนลดความเสียหายส่วนแรก

เป็นข้อตกลงระหว่างบริษัทประกันภัย กับผู้เอาประกันภัย สำหรับค่าความเสียหายส่วนแรกของทรัพย์สินบุคคลภายนอก และ/หรือความเสียหายส่วนแรกของความเสียหายต่อรถยนต์ ซึ่งบางที่อาจไม่ต้องเสียค่าความเสียหายส่วนแรก แต่อาจจะถูกเพิ่มเข้าไปในเบี้ยประกันภัยแทน

ส่วนลดกลุ่ม

กรณีที่ผู้เอาประกันภัยมีรถยนต์ที่เอาประกันภัยไว้กับบริษัทประกันภัยตั้งแต่ 3 คันขึ้นไป จะได้รับส่วนลดเบี้ยประกันภัยกลุ่ม 10%

ส่วนลดประวัติดี

ส่วนลดตามหลักเกณฑ์ส่วนลดเบี้ยประกันภัยประวัติดี ซึ่งคำนวณจากประวัติปีที่ผ่านมา

ตารางแสดงเบี้ยประกัน ความคุ้มครองต่างๆ เบื้องต้น (ตามมาตรฐานประกันชั้น3พลัส ทั่วไป)

ประกันภัยรถยนต์, ประกันรถยนต์ ,ประกันชั้น1, โบรกเกอร์, ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส, ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส, ต่อประกันรถยนต์, broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ, ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

 

เรียบเรียงข้อมูลโดย Asn Broker

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง Asn Broker Blog , Asn Broker Blogspot , Asn Broker Exteen , Asn Broker Wikidot , Asn Broker on WordPress

ขอฝากกิจกรรม ไว้ด้วยนะครับ  กิจกรรม จับ แจก ฟรี ตั๋วหนัง !! 

ดูรายละเอียดกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่ Asn Broker Campaign

ประกันภัยรถยนต์, ประกันรถยนต์ ,ประกันชั้น1, โบรกเกอร์, ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส, ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส, ต่อประกันรถยนต์, broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ, ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

ประกันภัยรถยนต์,ประกันชั้น2พลัส,ชั้น2พลัส โดย Asn Broker (asnbroker)

ประกันชั้น2พลัส เป็น การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจชนิดหนึ่ง ที่จัดอยู่ในประกันรถยนต์ประเภทที่ 5 หรือเรียกอีกอย่างว่า ชั้น2พิเศษ

การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ คือ การประกันภัยที่เกิดขึ้นโดยความสมัครใจของ เจ้าของรถยนต์ ผู้ครอบครองรถยนต์ หรือผู้ขับขี่รถยนต์โดยไม่ได้เกิดจากการถูกบังคับโดยกฎหมาย แต่อย่างใด การประกันภัยรถยนต์ ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในตลาดประกันภัยในปัจจุบันนี้เป็นการประกันภัยในภาคสมัครใจทั้งสิ้น ซึ่งเจ้าของรถยนต์ซื้อเพิ่มเติมจากประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.)

ดังนั้น ประกันชั้น2พลัส เป็นการประกันภัยรถยนต์ซึ่งเป็นการตกลงกันระหว่างผู้ซื้อ เรียกว่า “ผู้เอาประกัน” และผู้ขาย เรียกว่า “บริษัทประกันภัย” โดยเป็นการเลือกซื้อความคุ้มครองประกันภัยตามความต้องการที่เหมาะสมของผู้ซื้อ

ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันชั้น1,โบรกเกอร์,ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส,ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส,ต่อประกันรถยนต์,broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ,ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

การประกันภัยรถยนต์ชั้น2พลัส แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

1.การประกันภัยประเภทไม่ระบุชื่อผู้ขับขี่ จะคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์ที่เกิดขึ้นจากการใช้หรือขับขี่โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัย

2.การประกันภัยประเภทระบุชื่อผู้ขับขี่ จะคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์ที่เกิดขึ้นในขณะที่บุคคลที่ระบุชื่อในกรมธรรม์เป็นผู้ขับขี่ แต่ถ้าไม่ใช้ผู้เอาประกันภัยต้องเข้าร่วมรับผิดชอบต่อ “ค่าความเสียหายส่วนแรก” ด้วย

ความเสียหายส่วนแรก (Deductible/Excess) หมายถึง จำนวนเงินค่าความเสียหายในแต่ละครั้งที่ผู้เอาประกันภัยตกลงรับ ผิดชอบเองในกรณีที่เกิดความเสียหายขึ้นจากอุบัติเหตุจากรถ

ค่าเสียหายส่วนแรกแบ่งได้ 2 ประเภท ดังนี้

1. ความเสียหายส่วนแรกโดยสมัครใจ
สำหรับเจ้าของรถที่มีความเชื่อมั่นในตนเอง และมีความระมัดระวังในการขับรถอาจเลือกรับผิดชอบความเสียหายส่วนแรกเอง ซึ่งสามารถเลือกได้ 2 ประเภทความคุ้มครอง คือ คุ้มครองความเสียหายต่อตัวรถยนต์ (รถเราเอง) และคุ้มครองความเสียหายต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอก (รถหรือทรัพย์ สินของบุคคลภายนอก) โดยบริษัทประกันภัยจะลดเบี้ยประกันภัยให้เป็นจำนวนเงินตามเงื่อนไขในสัญญา ความเสียหายโดยสมัครใจนี้ เช่น ประกันชั้น3พลัส หรือประกันชั้น2พลัส ถือเป็นตัวอย่างของความเสียหายส่วนแรกโดยสมัครใจ เพราะกรมธรรมธ์ทั้ง 2 ประเภทนี้หากผู้เอาประกันเป็นฝ่ายผิดจะต้องรับผิดชอบเองส่วนหนึ่งปกติค่าความเสียหายส่วนแรก คือ 2,000 บาท

2. ความเสียหายส่วนแรกในกรณีผิดสัญญา
เป็นความเสียหายที่ไม่ได้เป็นไปตามสัญญากรมธรรมธ์ กล่าวคือกรมธรรม์ระบุอีกแบบหนึ่ง แต่ในความเป็นจริงเป็นอีกแบบหนึ่ง กรณีเช่นนี้บริษัทประกันยังคงรับผิดในความเสียหาย แต่อาจจะเรียกเก็บเบี้ยเพิ่มกับผู้เอาประกัน เบี้ยเพิ่มส่วนนี้อาจเรียกได้ว่าค่าเสียหายส่วนแรก หรือค่าธรรมเนียมกรณีผิดเงื่อนไขการรับประกัน ซึ่งมีดังนี้

2.1 กรณีกรมธรรม์แบบระบุชื่อ
โดยปกติเราสามารถระบุผู้ขับขี่ได้ 2 คนเผื่อทำให้เบี้ยถูกลง แต่ตอนเกิดอุบัติเหตุ ปรากฎว่ามีบุคคลอื่นขับขี่ ไม่ใช่ 2 คนที่ระบุไว้ในกรมธรรมธ์แถมเป็นฝ่ายผิดด้วย หากเกิดกรณีนี้ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายส่วนแรกต่อความเสียหายดังนี้
  • 6,000 บาทแรก สำหรับความเสียหายต่อตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย
  • 2,000 บาทแรก สำหรับความเสียหายต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอก

2.2 กรณีใช้รถผิดประเภท
จะเกิดขึ้นในกรณีผู้ซื้อประกัน ซื้อประกันภัยรถยนต์ โดยระบุไว้ว่ารถยนตืดังกล่าวเป็นรถยนต์ส่วนบุคคล แต่ตอนเกิดอุบัติเหตุพบว่าเอารถไปรับจ้าง ซึ่งมีความเสี่ยงสูงกว่ารถยนต์ส่วนบุคคล กรณีเช่นนี้ หากบริษัทพิสูจน์ได้ว่ามีการใช้รถยนต์ผิดประเภท ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบเอง ดังนี้ 2,000 บาทแรก สำหรับความเสียหายต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอก

หมายเหตุ ตามแนวทางปฎิบัตินี้ อาจจะมีการเปลี่ยนแปลง ถ้ามีความชัดเจนจากคู่มือตีความของ คปภ.กรณีกรมธรรม์ของลูกค้ายังเป็นฉบับเดิม ให้ใช้เงื่อนไขการเก็บส่วนร่วมเหมือนเดิม

ความรับผิดชอบกรมธรรม์ประเภทสมัครใจ ประกันชั้น2พลัส

  • ความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถ
  • ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
  • ความรับผิดต่อความสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย
  • ความรับผิดต่อความเสียหายของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย กรณีชนกับยานพาหนะทางบก (กรณีชนกับยานพาหนะทางบกและเป็นฝ่ายผิด จะต้องรับผิดชอบความเสียหายส่วนแรกต่อความเสียของตัวรถยนต์ผู้เอาประกันภัยไม่เกิน 2,000 บาท)

ความคุ้มครองต่างๆ สำหรับประกันภัยรถยนต์

1. ความรับผิดต่อบุคคลภายนอก บริษัทผู้รับประกันภัยจะเข้ารับผิดชอบค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอก หากความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกนั้น ผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายที่ต้องรับผิดตามกฎหมาย ซึ่งความคุ้มครองในส่วนนี้จะแบ่งเป็น 1.1 ความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัย ซึ่งจะคุ้มครองความรับผิดต่อความบาดเจ็บ มรณะ โดยบุคคลภายนอกที่ได้รับความคุ้มครองในส่วนนี้ จะรวมทั้งบุคคลที่อยู่ภายนอกรถยนต์คันเอาประกันภัย และบุคคลภายนอกที่โดยสารอยู่ในหรือกำลังขึ้น หรือกำลังลงจากรถยนต์คันเอาประกันภัย โดยจะคุ้มครองเฉพาะจำนวนเงินค่าเสียหายส่วนที่เกินกว่าจำนวนเงินสูงสุดตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (พรบ.) ยกเว้น ผู้ขับขี่รถยนต์คันเอาประกันภัยในขณะเกิดอุบัติเหตุ รวมทั้งคู่สมรส บิดา มารดา บุตร ลูกจ้างในขณะปฏิบัติงานของผู้ขับขี่ 1.2 ความเสียหายต่อทรัพย์สิน บริษัทประกันภัยจะรับผิดชอบค่าสินไหมทดแทนความเสียหายต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอกตามความเสียหายที่แท้จริง แต่ไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัย ยกเว้น เป็นทรัพย์สินของผู้ขับขี่รถยนต์คันเอาประกันภัยในขณะเกิดอุบัติเหตุ รวมทั้งคู่สมรส บิดา มารดา บุตรของผู้ขับขี่

2. รถยนต์เสียหาย สูญหาย และไฟไหม้

2.1 ความเสียหายต่อรถยนต์ ความคุ้มครองต่อความเสียหายต่อรถยนต์ โดยบริษัทประกันภัยจะชดเชยค่าสินไหมทดแทนความเสียหายในระยะเวลาเอาประกันภัย รวมทั้งอุปกรณ์เครื่องตกแต่ง หรือสิ่งที่ติดประจำอยู่กับตัวรถยนต์

2.2 ความเสียหายส่วนแรก เงื่อนไขของผู้เอาประกันภัยจะเข้าร่วมรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นตามจำนวนเงินที่ระบุในกรมธรรม์ สำหรับกรณีที่รถคันเอาประกันภัยเป็นฝ่ายก่อให้เกิดความเสียหาย

2.3 รถยนต์สูญหายไฟไหม้ การสูญหายจะรวมถึงการสูญหายทั้งคัน สูญหายบางส่วน สูญหายจากการลักทรัพย์ของลูกจ้าง หรือบุคคลใดเป็นผู้ลักทรัพย์ก็ตาม การเสียหายของรถยนต์ที่เกิดจากไฟไหม้ ไม่ว่าจะเป็นการไหม้ด้วยตัวของมันเอง หรือเป็นการไหม้ที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากสาเหตุอื่นใดก็ตาม

3. ความคุ้มครองตามเอกสารแนบท้าย (อนุสัญญาแนบท้าย)

3.1 อุบัติเหตุส่วนบุคคล คุ้มครองความบาดเจ็บจากอุบัติเหตุของผู้ขับขี่หรือผู้โดยสารรถยนต์คันเอาประกันภัย หากความบาดเจ็บที่ได้รับเป็นผลให้บุคคลนั้นเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพถาวร หรือทุพพลภาพชั่วคราว โดยบริษัทประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เป็นจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ระบุไว้

3.2 ค่ารักษาพยาบาล คุ้มครองความบาดเจ็บจากอุบัติเหตุของบุคคลที่อยู่ในรถยนต์คันเอาประกันภัย หากความบาดเจ็บเป็นผลให้ต้องเข้ารับการรักษาพยาบาล โดยบริษัทประกันภัยจะจ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าผ่าตัด ค่าโรงพยาบาล ตามจำนวนเงินที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ระบุไว้

3.3 การประกันตัวผู้ขับขี่ กรณีที่ผู้เอาประกันภัย หรือผู้ขับขี่ได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัย นำรถยนต์คันเอาประกันภัยไปใช้และเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งเป็นผลให้ถูกควบคุมตัวไว้ในคดีอาญา ทั้งในชั้นพนักงานสอบสวน พนักงาน อัยการ หรือศาล (จนถึงศาลฎีกา) โดยบริษัทต้องทำการประกันตัวผู้เอาประกันภัย หรือผู้ขับขี่โดยไม่ชักช้า ในวงเงินไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ระบุไว้

รูปตารางความคุ้มครอง ประกันรถยนต์ชั้น2พลัส

ประกันภัยรถยนต์, ประกันรถยนต์ ,ประกันชั้น1, โบรกเกอร์, ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส, ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส, ต่อประกันรถยนต์, broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ, ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

รายละเอียดเงื่อนไข-ส่วนลดของประกันชั้น2พลัส

ส่วนลดระบุอายุผู้ขับขี่ เป็นการคุ้มครองความรับผิดหรือความเสียหายต่อรถยนต์คันเอาประกันกันภัย ในกรณีที่บุคคลที่ระบุชื่อเป็นผู้ขับขี่ (กรณีถ้าไม่ใช่ผู้เอาประกันภัยต้องเข้าร่วมรับผิดต่อความเสียหาย) เฉพาะรถยนต์ที่ใช้ส่วนบุคคลเท่านั้น โดยปกติจะแบ่งเป็น 4 ระดับอายุ คือ

  • ช่วงอายุ 18 – 24 ปี ส่วนลด 5%
  • ช่วงอายุ 25 – 35 ปี ส่วนลด 10%
  • ช่วงอายุ 36 – 50 ปี ส่วนลด 15%
  • ช่วงอายุเกิน 50 ปีขึ้นไป ส่วนลด 20%

ส่วนลดความเสียหายส่วนแรก เป็นข้อตกลงระหว่างบริษัทประกันภัย กับผู้เอาประกันภัย สำหรับค่าความเสียหายส่วนแรกของทรัพย์สินบุคคลภายนอก และ/หรือความเสียหายส่วนแรกของความเสียหายต่อรถยนต์ ซึ่งบางที่อาจไม่ต้องเสียค่าความเสียหายส่วนแรก

ส่วนลดประวัติดี ส่วนลดตามหลักเกณฑ์ส่วนลดเบี้ยประกันภัยประวัติดี ซึ่งคำนวณจากประวัติปีที่ผ่านมา ขึ้นอยู่กับบริษัทประกันภัยแต่ละที่ ให้ส่วนลดไม่เท่ากัน และมีเงื่อนไขแตกต่างกัน

ประกันภัยรถยนต์, ประกันรถยนต์ ,ประกันชั้น1, โบรกเกอร์, ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส, ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส, ต่อประกันรถยนต์, broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ, ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

เรียบเรียงข้อมูลโดย Asn Broker

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง Asn Broker Blog , Asn Broker Blogspot , Asn Broker Exteen , Asn Broker Wikidot , Asn Broker on WordPress

ขอฝากกิจกรรม ไว้ด้วยนะครับ  กิจกรรม จับ แจก ฟรี ตั๋วหนัง !! 

ดูรายละเอียดกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่ Asn Broker Campaign

ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันชั้น1,โบรกเกอร์,ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส,ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส,ต่อประกันรถยนต์,broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ,ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

ประกันภัยรถยนต์,ประกันชั้น1,ประกันรถยนต์ชั้น1 โดย Asn Broker (asnbroker)

ประกันภัยรถยนต์ชั้น1 คือ การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจประเภท 1 ที่มีความคุ้มครองต่างๆ สูงกว่า ประเภท 2 3 4 และ 5

การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ คือ การประกันภัยที่เกิดขึ้น โดยความสมัครใจของ เจ้าของรถยนต์  ผู้ครอบครองรถยนต์หรือผู้ขับขี่รถยนต์โดยไม่ได้เกิดจากการถูกบังคับโดกฎหมาย แต่อย่างใด การประกันภัยรถยนต์ ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในตลาดประกันภัยในปัจจุบันนี้เป็นการประกันภัยในภาคสมัครใจ

ประกันภัยรถยนต์ชั้น1 เป็น การตกลงกันระหว่างผู้ซื้อ (ผู้เอาประกัน) และผู้ขาย (บริษัทประกันภัย) โดยเป็นการเลือกซื้อความคุ้มครองประกันภัยตามความต้องการที่เหมาะสมของผู้ซื้อ (ผู้เอาประกันภัย )

 ประกันภัยรถยนต์, ประกันรถยนต์ ,ประกันชั้น1, โบรกเกอร์, ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส, ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส, ต่อประกันรถยนต์, broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ, ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจแบ่งออกเป็น 2 ประเภท

  •  การประกันภัยประเภทไม่ระบุชื่อผู้ขับขี่ จะคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์ที่เกิดขึ้นจากการใช้หรือขับขี่โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัย
  •  การประกันภัยประเภทระบุชื่อผู้ขับขี่ จะคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์ที่เกิดขึ้นในขณะที่บุคคลที่ระบุชื่อในกรมธรรม์เป็นผู้ขับขี่ แต่ถ้าไม่ใช้ผู้เอาประกันภัยต้องเข้าร่วมรับผิดชอบต่อ  ความเสียหายส่วนแรก   ด้วย
ความรับผิดชอบ กรมธรรม์ประเภทสมัครใจ ประเภท 1
  •   ความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถ
  •   ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
  •   ความรับผิดต่อความเสียหายของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย
  •   ความรับผิดต่อความสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย
ประกันภัยรถยนต์, ประกันรถยนต์ ,ประกันชั้น1, โบรกเกอร์, ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส, ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส, ต่อประกันรถยนต์, broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ, ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์
ความคุ้มครองต่างๆ สำหรับประกันภัยรถยนต์

1. ความรับผิดต่อบุคคลภายนอก
บริษัทผู้รับประกันภัยจะเข้ารับผิดชอบค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอก หากความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกนั้น ผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายที่ต้องรับผิดตามกฎหมาย ซึ่งความคุ้มครองในส่วนนี้จะแบ่งเป็น

1.1 ความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัย

 ซึ่งจะคุ้มครองความรับผิดต่อความบาดเจ็บ มรณะ โดยบุคคลภายนอกที่ได้รับความคุ้มครองในส่วนนี้ จะรวมทั้งบุคคลที่อยู่ภายนอกรถยนต์คันเอาประกันภัย และบุคคลภายนอกที่โดยสารอยู่ในหรือกำลังขึ้น หรือกำลังลงจากรถยนต์คันเอาประกันภัย โดยจะคุ้มครองเฉพาะจำนวนเงินค่าเสียหายส่วนที่เกินกว่าจำนวนเงินสูงสุดตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (พรบ.) ยกเว้น ผู้ขับขี่รถยนต์คันเอาประกันภัยในขณะเกิดอุบัติเหตุ รวมทั้งคู่สมรส บิดา มารดา บุตร ลูกจ้างในขณะปฏิบัติงานของผู้ขับขี่
1.2 ความเสียหายต่อทรัพย์สิน 

 บริษัทประกันภัยจะรับผิดชอบค่าสินไหมทดแทนความเสียหายต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอกตามความเสียหายที่แท้จริง แต่ไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัย ยกเว้น เป็นทรัพย์สินของผู้ขับขี่รถยนต์คันเอาประกันภัยในขณะเกิดอุบัติเหตุ รวมทั้งคู่สมรส บิดา มารดา บุตรของผู้ขับขี่

2. รถยนต์เสียหาย สูญหาย ไฟไหม้
2.1 ความเสียหายต่อรถยนต์ ความคุ้มครองต่อความเสียหายต่อรถยนต์ โดยบริษัทประกันภัยจะชดเชยค่าสินไหมทดแทนความเสียหายในระยะเวลาเอาประกันภัย รวมทั้งอุปกรณ์เครื่องตกแต่ง หรือสิ่งที่ติดประจำอยู่กับตัวรถยนต์
2.2 ความเสียหายส่วนแรก เงื่อนไขของผู้เอาประกันภัยจะเข้าร่วมรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นตามจำนวนเงินที่ระบุในกรมธรรม์ สำหรับกรณีที่รถคันเอาประกันภัยเป็นฝ่ายก่อให้เกิดความเสียหาย
2.3 รถยนต์สูญหายไฟไหม้ การสูญหายจะรวมถึงการสูญหายทั้งคัน สูญหายบางส่วน สูญหายจากการลักทรัพย์ของลูกจ้าง หรือบุคคลใดเป็นผู้ลักทรัพย์ก็ตาม การเสียหายของรถยนต์ที่เกิดจากไฟไหม้ ไม่ว่าจะเป็นการไหม้ด้วยตัวของมันเอง หรือเป็นการไหม้ที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากสาเหตุอื่นใดก็ตาม

3. ความคุ้มครองตามเอกสารแนบท้าย (อนุสัญญาแนบท้าย)

3.1 อุบัติเหตุส่วนบุคคล คุ้มครองความบาดเจ็บจากอุบัติเหตุของผู้ขับขี่หรือผู้โดยสารรถยนต์คันเอาประกันภัย หากความบาดเจ็บที่ได้รับเป็นผลให้บุคคลนั้นเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพถาวร หรือทุพพลภาพชั่วคราว โดยบริษัทประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เป็นจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ระบุไว้
3.2 ค่ารักษาพยาบาล คุ้มครองความบาดเจ็บจากอุบัติเหตุของบุคคลที่อยู่ในรถยนต์คันเอาประกันภัย หากความบาดเจ็บเป็นผลให้ต้องเข้ารับการรักษาพยาบาล โดยบริษัทประกันภัยจะจ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าผ่าตัด ค่าโรงพยาบาล ตามจำนวนเงินที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ระบุไว้
3.3 การประกันตัวผู้ขับขี่  กรณีที่ผู้เอาประกันภัย หรือผู้ขับขี่ได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัย นำรถยนต์คันเอาประกันภัยไปใช้และเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งเป็นผลให้ถูกควบคุมตัวไว้ในคดีอาญา ทั้งในชั้นพนักงานสอบสวน พนักงาน อัยการ หรือศาล (จนถึงศาลฎีกา) โดยบริษัทต้องทำการประกันตัวผู้เอาประกันภัย หรือผู้ขับขี่โดยไม่ชักช้า ในวงเงินไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ระบุไว้

เงื่อนไขส่วนลดต่าง ของประกันภัยรถยนต์ชั้น1

ส่วนลดระบุอายุผู้ขับขี่  เป็นการคุ้มครองความรับผิดหรือความเสียหายต่อรถยนต์คันเอาประกันกันภัย ในกรณีที่บุคคลที่ระบุชื่อเป็นผู้ขับขี่ (กรณีถ้าไม่ใช่ผู้เอาประกันภัยต้องเข้าร่วมรับผิดต่อความเสียหาย) เฉพาะรถยนต์ที่ใช้ส่วนบุคคลเท่านั้น โดยแบ่งเป็น 4 ระดับอายุ คือ

  •     ช่วงอายุ 18 – 24 ปี ส่วนลด 5%
  •     ช่วงอายุ 25 – 35 ปี ส่วนลด 10%
  •     ช่วงอายุ 36 – 50 ปี ส่วนลด 15%
  •     ช่วงอายุเกิน 50 ปีขึ้นไป ส่วนลด 20%

ส่วนลดความเสียหายส่วนแรก  เป็นข้อตกลงระหว่างบริษัทประกันภัยกับผู้เอาประกันภัย สำหรับค่าความเสียหายส่วนแรกของทรัพย์สินบุคคลภายนอก และ/หรือความเสียหายส่วนแรกของความเสียหายต่อรถยนต์

ส่วนลดกลุ่ม  กรณีที่ผู้เอาประกันภัยมีรถยนต์ที่เอาประกันภัยไว้กับบริษัทประกันภัยตั้งแต่ 3 คันขึ้นไป จะได้รับส่วนลดเบี้ยประกันภัยกลุ่ม 10%

ส่วนลดประวัติดี  ส่วนลดตามหลักเกณฑ์ส่วนลดเบี้ยประกันภัยประวัติดี ซึ่งคำนวณจากประวัติปีที่ผ่านมา

ตัวอย่างเงื่อนไข ประกันรถยนต์ชั้น1 ของแต่ละบริษัทฯ

ประกันภัยรถยนต์, ประกันรถยนต์ ,ประกันชั้น1, โบรกเกอร์, ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส, ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส, ต่อประกันรถยนต์, broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ, ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันชั้น1,โบรกเกอร์,ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส,ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส,ต่อประกันรถยนต์,broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ,ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

เรียบเรียงข้อมูลโดย Asn Broker

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง Asn Broker Blog , Asn Broker Blogspot , Asn Broker Exteen , Asn Broker Wikidot , Asn Broker on WordPress

ขอฝากกิจกรรม ไว้ด้วยนะครับ  กิจกรรม จับ แจก ฟรี ตั๋วหนัง !! 

ดูรายละเอียดกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่ Asn Broker Campaign

ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันชั้น1,โบรกเกอร์,ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส,ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส,ต่อประกันรถยนต์,broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ,ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

ประกันภัยรถยนต์,ต่อประกันรถยนต์,ความเสียหายส่วนแรก โดย Asn Broker (asnbroker)

ความเสียหายส่วนแรก (Deductible/Excess) หมายถึง จำนวนเงินค่าความเสียหายในแต่ละครั้งที่ผู้เอาประกันภัยตกลงรับ ผิดชอบเองในกรณีที่เกิดความเสียหายขึ้นจากอุบัติเหตุจากรถ

ประกันภัยรถยนต์, ประกันรถยนต์ ,ประกันชั้น1, โบรกเกอร์, ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส, ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส, ต่อประกันรถยนต์, broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ, ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

ค่าเสียหายส่วนแรกแบ่งได้ 2 ประเภท ดังนี้

1. ความเสียหายส่วนแรกโดยสมัครใจ
สำหรับเจ้าของรถที่มีความเชื่อมั่นในตนเอง และมีความระมัดระวังในการขับรถอาจเลือกรับผิดชอบความเสียหายส่วนแรกเอง ซึ่งสามารถเลือกได้ 2 ประเภทความคุ้มครอง คือ คุ้มครองความเสียหายต่อตัวรถยนต์ (รถเราเอง) และคุ้มครองความเสียหายต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอก (รถหรือทรัพย์ สินของบุคคลภายนอก) โดยบริษัทประกันภัยจะลดเบี้ยประกันภัยให้เป็นจำนวนเงินตามเงื่อนไขในสัญญา ความเสียหายโดยสมัครใจนี้ เช่น ประกันชั้น3พลัส หรือประกันชั้น2พลัส ถือเป็นตัวอย่างของความเสียหายส่วนแรกโดยสมัครใจ เพราะกรมธรรมธ์ทั้ง 2 ประเภทนี้หากผู้เอาประกันเป็นฝ่ายผิดจะต้องรับผิดชอบเองส่วนหนึ่งปกติค่าความเสียหายส่วนแรก คือ 2,000 บาท
2. ความเสียหายส่วนแรกในกรณีผิดสัญญา
เป็นความเสียหายที่ไม่ได้เป็นไปตามสัญญากรมธรรมธ์ กล่าวคือกรมธรรม์ระบุอีกแบบหนึ่ง แต่ในความเป็นจริงเป็นอีกแบบหนึ่ง กรณีเช่นนี้บริษัทประกันยังคงรับผิดในความเสียหาย แต่อาจจะเรียกเก็บเบี้ยเพิ่มกับผู้เอาประกัน เบี้ยเพิ่มส่วนนี้อาจเรียกได้ว่าค่าเสียหายส่วนแรก หรือค่าธรรมเนียมกรณีผิดเงื่อนไขการรับประกัน ซึ่งมีดังนี้
2.1 กรณีกรมธรรม์แบบระบุชื่อ
โดยปกติเราสามารถระบุผู้ขับขี่ได้ 2 คนเผื่อทำให้เบี้ยถูกลง แต่ตอนเกิดอุบัติเหตุ ปรากฎว่ามีบุคคลอื่นขับขี่ ไม่ใช่ 2 คนที่ระบุไว้ในกรมธรรมธ์แถมเป็นฝ่ายผิดด้วย หากเกิดกรณีนี้ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายส่วนแรกต่อความเสียหายดังนี้
  • 6,000 บาทแรก สำหรับความเสียหายต่อตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย
  • 2,000 บาทแรก สำหรับความเสียหายต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอก

2.2 กรณีใช้รถผิดประเภท
จะเกิดขึ้นในกรณีผู้ซื้อประกัน ซื้อประกันภัยรถยนต์ โดยระบุไว้ว่ารถยนตืดังกล่าวเป็นรถยนต์ส่วนบุคคล แต่ตอนเกิดอุบัติเหตุพบว่าเอารถไปรับจ้าง ซึ่งมีความเสี่ยงสูงกว่ารถยนต์ส่วนบุคคล กรณีเช่นนี้ หากบริษัทพิสูจน์ได้ว่ามีการใช้รถยนต์ผิดประเภท ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบเอง ดังนี้ 2,000 บาทแรก สำหรับความเสียหายต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอก

ตัวอย่างการเกิดเหตุที่เรียกเก็บและไม่เรียกเก็บค่าความเสียหายส่วนแรก

กรณีไม่เก็บค่าความเสียหายส่วนแรก

1. รถชนกับพาหนะอื่นและแจ้งรายละเอียดคู่กรณีได้

2. รถชนเสา/ชนประตู

3. รถชนต้นไม้ยืนต้น/ชนเสาไฟฟ้า

4. รถชนกำแพง

5. ชนคน

6. ชนสุนัข/ชนสัตว์

7. ชนฟุตบาธ

8. รถพลิกคว่ำ

9. รถชนราวสะพาน

10. รถชนกองดิน หรือชนหน้าผา

11. รถชนป้ายจราจร

12. รถชนทรัพย์สินอื่นใดที่ยึดแน่นตรึงตรากับพื้นดิน

 

กรณีเรียกเก็บค่าความความเสียหายส่วนแรก

1. รถถูกขีดข่วน/กลั่นแกล้ง

2. หินหรือวัสดุใดกระเด็นใส่

3. เฉี่ยวกิ่งไม้/สายไฟ/ลวดหนาม

4. รถตกหลุม/ครูดพื้นถนน

5. เหยียบตะปู/วัสดุมีคม/ยางฉีก

6. รถถูกละอองสี/หรือวัสดุใดหล่นมาโดน

7. กระจกรถแตก

8. ไถลตกข้างทางไม่พลิกคว่ำ

9. ถูกวัสดุในตัวรถกระแทกหรือกรีดโดน

10. ภัยธรรมชาติ/น้ำท่วม (สามารถซื้อความคุ้มครองเพิ่มเติมได้ในบางประเภท โดยไม่ต้องเสียค่าความเสียหายส่วนแรก)

11. รถถูกสัตว์กัดแทะหรือขีดข่วน

12. กรณีอื่นๆ แจ้งเหตุไม่ชัดเจน

หมายเหตุ ตามแนวทางปฎิบัตินี้ อาจจะมีการเปลี่ยนแปลง ถ้ามีความชัดเจนจากคู่มือตีความของ คปภ.กรณีกรมธรรม์ของลูกค้ายังเป็นฉบับเดิม ให้ใช้เงื่อนไขการเก็บส่วนร่วมเหมือนเดิม

ประกันภัยรถยนต์, ประกันรถยนต์ ,ประกันชั้น1, โบรกเกอร์, ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส, ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส, ต่อประกันรถยนต์, broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ, ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

กรณีตัวอย่่าง ค่าความเสียหายส่วนแรก

ประกันชั้น2พลัสประกันชั้น3พลัสประักันชั้น3 นั้นจะถูกระบุความเสียหายสวนแรกสำหรับความเสียหายต่อตัวรถยนต์ (รถของเราเอง) ไว้ที่ 2,000 บาท  จะจ่าย 2,000 นี้ก็ต่อเมื่อเราเป็นฝ่ายผิดและต้องการซ่อมรถตัวเองเท่านั้น

แต่ในปัจจุบันนี้บริษัทประกันภัยได้ออกแผนใหม่ คือ ประกันภัยชั้น 1 ประหยัดซึ่งความคุ้มครองจะเหมือนชั้น 1 ทุกประการพร้อมทั้งยังสามารถเคลมได้ทุกกรณี  แต่จะมีค่าเสียหายส่วนแรก ตั้งแต่ 3500-5000 บาท  ทั้งนี้ทั้งนั้นก็แล้วแต่แผนและบริษัทประกันภัย

กรณีใช้รถผิดประเภท   จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อผู้ซื้อประกัน  ซื้อรถยนต์โดยระบุไว้ว่ารถยนต์คันดังกล่าวเป็นรถยนต์ส่วนบุคคล  แต่ตอนเกิดอุบัติเหตุพบว่าเอารถไปรับจ้าง  ซึ่งนั่นจะมีผลที่ทำให้เกิดความเสี่ยงสูงกว่าการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล  กรณีเช่นนี้  หากบริษัทประกันพิสูจน์ได้ว่ามีการใช้รถยนต์คันดังกล่าวผิดประเภท  ผู้เอาประกันจะต้องรับผิดชอบเอง  คือ 2000 บาทแรก  สำหรับความเสียหายต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอก

ประกันภัยรถยนต์, ประกันรถยนต์ ,ประกันชั้น1, โบรกเกอร์, ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส, ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส, ต่อประกันรถยนต์, broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ, ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

อธิบายเพิ่มเติม คำว่า Deductible และ Excess ทั้งสองคำนี้ดัดแปลงมาให้หมายความว่า “ค่าเสียหายส่วนแรก” เหมือนกัน Deductible จะมีระบุในกรมธรรม์ แต่คำว่า Excess จะใช้สำหรับการแจ้งเคลม และกรณีมี หรือระบุคู่กรณีชัดเจนไม่ได้

 

เรียบเรียงข้อมูลโดย Asn Broker

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง Asn Broker Blog , Asn Broker Blogspot , Asn Broker Exteen , Asn Broker Wikidot , Asn Broker on WordPress

ขอฝากกิจกรรม ไว้ด้วยนะครับ  กิจกรรม จับ แจก ฟรี ตั๋วหนัง !! 

ดูรายละเอียดกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่ Asn Broker Campaign

ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันชั้น1,โบรกเกอร์,ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส,ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส,ต่อประกันรถยนต์,broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ,ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

ประกันภัยรถยนต์,วิธีปฏิบัติตัวเมื่อเกิดอุบัติเหตุ โดย Asn Broker (asnbroker)

วิธีปฏิบัติตัวเมื่อเกิดอุบัติเหตุ

นิยาม ความหมายของคำว่า อุบัติเหตุ

คำว่า “อุบัติเหตุ”  ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้คำนิยามไว้ว่า

อุบัติเหตุ หมายถึง เหตุที่เกิดขึ้นโดยไม่ทันคิด ความบังเอิญเป็น 

อุบัติเหตุ หมายถึง  เหตุการณ์ใด ก็ตามที่เกิดขึ้นมิได้ตั้งใจ หรือมิได้คาดคิดมาก่อน และเป็นผลให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกายหรือทรัพย์สินของคนเรา

อุบัติเหตุ หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ และเหตุการณ์นั้นต้องทำให้คนอื่นถึงแก่ความตาย บาดเจ็บ หรือทรัพย์สินเสียหาย 

อุบัติเหตุ คือ เหตุการณ์ซึ่งเกิด (อุบัติ) ขึ้น อาจจะเป็นเหตุการณ์ดี หรือเหตุการณ์ร้ายก็ได้   

อุบัติเหตุ คือ เหตุการณ์ซึ่งเกิดขึ้น โดยไม่คาดฝันมาก่อน โดยไม่เจตนา เป็นผลให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สิน เป็นอันตรายแก่ร่างกายและจิตใจ และอาจทำให้สูญเสียชีวิตได้ด้วย

สาเหตุของอุบัติเหตุในการจราจรทางบก

อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในการจราจรทางบกนั้น เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน จากสถิติของกรมทางหลวง พบว่า สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุทางหลวงมากที่สุด คือการขับรถเร็ว รองลงมาคือการขับรถระยะกระชั้นชิด อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในการจราจรทางบกนั้น มักเกิดขึ้นจากสาเหตุที่สำคัญ 3 ประการดังนี้
1. บุคคล
2. สิ่งแวดล้อม
3. กฎหมาย

สาเหตุเกิดจากผู้ขับขี่ยวดยานพาหนะ ผู้โดยสาร คนเดินทาง หรือสัตว์เลี้ยงต่างๆ ซึ่งมีสาเหตุดังนี้
1. สาเหตุจากผู้ขับยวดยานพาหนะ
1.1 มีความบกพร่องทางด้านร่างกาย เช่น ร่างกายอ่อนเพลีย ง่วงนอน หรือหลับในสุขภาพไม่ดี มีโรคประจำตัว โรคลมชัก ตาบอดสี ตาพร่า น้ำตาลในเลือดต่ำ
1.2 มีความบกพร่องทางด้านจิตใจและอารมณ์ เช่น มีความกลัดกลุ้มใจ วิตกกังวล อารมณ์หงุดหงิด ฉุนเฉียว มีความตึงเครียดทางอารมณ์
1.3 ขาดความรู้ความชำนาญ และประสบการณ์ในการใช้ถนน เช่น ขาดความรู้เรื่องความเร็วกับรถ คาดคะเนความเร็ว หรือกะระยะทางไม่ถูกต้อง ไม่มีความรู้ความชำนาญ ในเรื่องลักษณะของยวดยานที่ใช้ขับ ไม่รู้กฎจราจร เป็นต้น
1.4 ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบหรือข้อบังคับ เช่น ขับรถเร็ว ขับรถตัดหน้ารถอื่นระยะกระชั้นชิด ขับรถล้ำช่องทางเดินรถ ขับรถแซงซ้าย หรือแซงขวาในที่คับขัน ขับรถตามหลังคนอื่นอย่างกระชั้นชิด ฝ่าฝืนป้ายหยุดขณะออกจากทางร่วม ขับรถย้อนศรทางเดินรถ ขับรถฝ่าฝืนเครื่องหมายจราจร หยุดรถโดยกระชั้นชิด ฯลฯ
1.5 ไม่รู้จักป้องกันตนเอง เช่น ขับรถด้วยความประมาท ขาดความระมัดระวัง ความเร่งรีบในการเดินทาง เสพยากระตุ้นประสาท ดื่มสุราขณะขับรถ ฯลฯ สำหรับเรื่องการดื่มสุรานั้น จากสถิติของสถาบันนิติเวชวิทยา กรมตำรวจ ปี พ.ศ. 2532 พบว่าผู้เสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุจากการจราจร มีประวัติการดื่มสุราจำนวน 288 คน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 77.12

2. สาเหตุจากผู้โดยสาร คนเดินเท้า หรือสัตว์เลี้ยง
2.1 การขาดความระมัดระวัง เช่น ผู้โดยสารขึ้นหรือลงรถโดยไม่ระมัดระวัง ในการปิด-เปิดประตูรถ เดินถนนโดยไม่ระมัดระวังยวดยาน วิ่งตัดหน้ารถ การวิ่งเล่นบนถนน ลื่นหกล้ม ลังเลใจในการข้ามถนน ฯลฯ
2.2 การไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร เช่น ห้อยโหนรถโดยสารรถประจำทาง ไม่ขึ้นหรือลงขณะรถหยุด หรือที่ป้ายจอด ไม่ข้ามถนนตรงทางข้าม, สัญญาณ หรือสะพานลอย ไม่เดินถนนตามบาทวิถีหรือทางเท้า
2.3 ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เช่น ข้ามถนนโดยออกจากหน้า หรือท้ายรถขณะที่รถยังจอดอยู่ สัตว์เลี้ยงเดินข้ามถนนหรือวิ่งตัดหน้ารถ ฯลฯ
2.4 ความไม่สมบูรณ์ของร่างกายและจิตใจ เช่น สภาพร่างกายที่อ่อนเพลียการดื่มสุราขณะเดินถนน เป็นต้น

สาเหตุจากสิ่งแวดล้อม ที่เป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติเหตุ ได้แก่ สภาพของรถ สภาพถนนและดินฟ้าอากาศ
1. สาเหตุจากสภาพของรถ
1.1 ยางระเบิดหรือยางแตก ทำให้รถเสียการทรงตัว พลิกคว่ำได้ง่าย โดยเฉพาะรถที่กำลังแล่นด้วยความเร็วสูง และถนนลื่น 1.2 เบรกแตก เบรกลื่น ทำให้รถไม่สามารถหยุดหรือชะลอความเร็วลงได้ตามความต้องการ
1.3 เพลาหลุดหรือเพลาขาด ทำให้รถหมดกำลังในการขับเคลื่อน รถจะไม่แล่น แม้ว่าจะเหยียบคันเร่งอย่างไรก็ตาม ทำให้ยากแก่การควบคุมความเร็ว และง่ายต่อการเกิดอุบัติเหตุ
1.4 คันส่งหลุด ทำให้พวงมาลัยใช้การไม่ได้ ไม่สามารถควบคุมรถได้
1.5 อุปกรณ์ประจำรถชำรุดหรือขัดข้อง เช่น ไม่มีไฟหน้า-หลัง ไฟใหญ่มีข้างเดียว หรือไม่มีเลย ไฟเลี้ยวชำรุด ไม่ได้ซ่อมแซมหรือแก้ไข พวงมาลัยสั่นขณะขับ เป็นต้น
1.6 การเปลี่ยนแปลงสภาพรถ เช่น การเพิ่มแรงเครื่อง ทำให้ผู้ขับขี่เกิดความคะนองและขับรถเร็ว การแปลงสภาพรถตามความพอใจ โดยไม่คำนึงถึงสภาพรถที่ได้รับการออกแบบมา

2. สาเหตุจากบริเวณที่เกิดอุบัติเหตุ สภาพถนนและสภาพแสงสว่าง
2.1 บริเวณที่เกิดอุบัติเหตุ ได้แก่ ทางแยก ทางโค้ง ทางตรง ทางเบี่ยงสะพาน วงเวียน ทางตัดทางรถไฟ ทางลาดชัน/เนินเขา ทางเข้าออกทางด่วน ทางเชื่อมโยงทางแยก ทางเชื่อมอาคารที่พักอาศัย ฯลฯ ซึ่งบริเวณที่มักเกิดเหตุบ่อยที่สุดคือ ทางตรง โดยสภาพเส้นที่ดีเรียบ มักทำให้ผู้ขับขี่ขาดความระมัดระวังและขับรถด้วยความเร็วสูง นอกจากนี้จะพบว่าถนน 3 ช่องทางจะเกิดอุบัติเหตุมากกว่าถนน 2 ช่องทาง และถนน 4 ช่องทาง และถนนสี่แยกจะอันตรายกว่าสามแยก
2.2 สภาพถนนที่เป็นหลุมเป็นบ่อ มีโคลนตม มีเครื่องกีดขวางมากๆ หรือถนนที่แคบ ถนนที่ลื่น มีส่วนทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้
2.3 สภาพแสงสว่างบนถนน เช่น แสงสว่างที่ส่องจากรถคันที่สวนมาโดยการเปิดไฟสูงและมีความสว่างสูง ทำให้ตามัวมองไม่ชัดเจน หรือไม่มีไฟส่องสัญญาณทางแยก บนท้องถนนมืดไม่มีไฟฟ้า ไม่มีแสงสว่าง ทำให้มองไม่เห็นทาง หรือมองไกลไม่ได้ ย่อมเป็นอันตรายต่อการขับรถ อย่างไรก็ตามแสงสว่างในเวลากลางวัน หรือความสว่างของ ถนนก็มักทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงกว่าเวลากลางคืน แต่ความรุนแรงจะเกิดในเวลากลางคืนมากกว่า

3. สาเหตุจากดินฟ้าอากาศ
3.1 ฝนตกหนัก น้ำท่วม ทำให้ถนนเป็นหลุมเป็นบ่อ เป็นหล่มโคลน ถนนลื่น ทำให้รถตกถนน พลิกคว่ำ
3.2 การเกิดพายุหรือหมอกลงจัด ทำให้มีควันปกคลุมมองไม่เห็นทาง เกิดอุบัติเหติได้ง่าย
3.3 พายุหิมะ ในต่างประเทศอาจมีพายุหิมะ ทำให้ถนนลื่นมองไม่เห็นทาง
3.4 สภาพดินฟ้าอากาศที่ดี อุบัติเหตุมักเกิดจากสภาพดินฟ้าอากาศที่ดีเสมอ ทั้งนี้เพราะผู้ขับขี่ขับรถด้วยความเร็วสูง และขาดความระมัดระวังอันตราย

สาเหตุจากกฎหมาย กฎหมายมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดอุบัติเหตุ ดังนี้
1. การขาดการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนทุกคนทราบกฎระเบียบ ข้อบังคับ และบทลงโทษ ในการฝ่าฝืนกฎต่างๆ ทำให้ประชาชนขาดจิตสำนักและฝ่าฝืนกฎระเบียบต่างๆ ซึ่งมีผลให้เกิดอุบัติเหตุได้
2. บทลงโทษหรือค่าปรับยังไม่เหมาะสม ทำให้มีการฝ่าฝืนกำจราจร หรือกฎระเบียบต่างๆ อยู่เสมอ
3. การที่กฎหมายมิได้กำหนดเพศ อายุสูงสุดของผู้ขับขี่ รวมทั้งการศึกษาขั้นต่ำของผู้ขับขี่ยวดยานพาหนะ ถึงแม้ว่าผู้ขับขี่จะสอบผ่าน และได้รับใบอนุญาตขับขี่มาแล้ว ก็อาจทำผิดกฎจราจร และทำให้เกิดอุบัติเหตุได้
4. การขากการกวดขัน จับกุม หรือยังไม่จริงจังหรือเข้มงวดในการพิจารณาดำเนินคดีหรือจับกุม ผู้กระทำผิด เป็นสาเหตุให้ขับรถหรือใช้รถใช้ถนนอย่างเสรี ตามอำเภอใจ ซึ่งมักทำให้เกิดอุบัติเหตุ

ประกันภัยรถยนต์, ประกันรถยนต์ ,ประกันชั้น1, โบรกเกอร์, ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส, ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส, ต่อประกันรถยนต์, broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ, ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

อุบัติเหตุทางรถยนต์ สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา แต่ก็มีข้อควรปฏิบัติในการป้องกัน และลดอุบัติเหตุลงได้ดังนี้

หลักปฏิบัติป้องกันอุบัติเหตุ

  • อย่าประมาท
  • อย่าขับรถเร็ว
  • อย่าขับขี่ยานพาหนะขณะเหนื่อยล้า
  • งดสารเสพติดและสิ่งมึนเมา
  • สวมหมวกกันน็อก
  • คาดเข็มนิรภัย
  • ปฏิบัติตามกฎจราจร
  • สัญญาณจราจรที่สำคัญ ควรจดจำ
  • ตรวจเช็คสภาพยานพาหนะ
  • เปิดไฟที่ยานพาหนะบอกสัญญาณ เมื่อต้องเปลี่ยนทิศทาง
  • พยายามหยุดพักบ่อย เมื่อต้องเดินทางไกล
  • หลีกเลี่ยงเส้นทางที่อาจเกิดอุบัติเหตุ
  • มีจิตสำนึกที่ดีในการขับขี่ยานพาหนะ
  • เห็นอกเห็นใจผู้ใช้รถใช้ถนนด้วยกัน
  • เพิ่มความระมัดระวังให้มากขึ้น ขณะขับรถ

แต่เมื่อเราเลี่ยงไมไ่ด้แล้วเกิดอุบัติเหตุขึ้นละ ต้องทำอย่างไร ลองอ่านดูเรามีวิธีมาบอก

ทำอย่างไรเมื่อเกิดอุบัติเหตุ

1. ตั้งสติให้มั่น โทรศัพท์แจ้งบริษัท ประกันภัยรถยนต์ พร้อมจดชื่อผู้รับแจ้ง วัน เวลาทุกครั้ง
2. ขอชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ และทะเบียนรถคู่กรณีทุกครั้ง
3. ท่านควรใช้โทรศัพท์เท่าที่จำเป็นเท่านั้น เพราะเจ้าหน้าที่สำรวจอุบัติเหตุอาจจำเป็นต้องโทรศัพท์หาท่านเพื่อสอบถามราย ละเอียดเส้นทางจากท่าน
4. ถ้าลักษณะอุบัติเหตุไม่แน่ชัด ไม่มีฝ่ายใดยอมรับผิด อย่าเคลื่อนย้ายรถออกจากที่เกิดเหตุ ให้แจ้งเหตุต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจมาตรวจทำเครื่องหมายแสดงตำแหน่งรถทั้งสอง ฝ่ายก่อน หรือเจ้าหน้าที่ตำรวจสั่งแยกถึงจะเคลื่อนรถออกจากที่เกิดเหตุ และไม่ควรยินยอมหรือทำการตกลงใด ๆ ก่อนได้รับคำยินยอมจากเจ้าหน้าที่ของบริษัทประกันภัยรถยนต์
5. รอพนักงานสำรวจอุบัติเหตุหรือเจ้าหน้าที่ตำรวจไปดำเนินการตรวจสอบความเสีย หาย ณ ที่เกิดเหตุ และพนักงานของบริษัท ประกันภัยรถยนต์ จะออกหลักฐานการ จัดซ่อมให้ หรือปฏิบัติตามคำแนะนำของพนักงานรับแจ้งอุบัติเหตุ โดยทุกครั้งจะได้รับเลขที่และชื่อผู้รับแจ้งเหตุเพื่อไว้อ้างอิงในการติดต่อ คราวต่อไป หากมีผู้บาดเจ็บควรนำส่งโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลใกล้เคียงโดยเร็ว
6. เมื่อตรวจสอบแล้วผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายผิด บริษัท ประกันภัยรถยนต์ จะชดใช้ความเสียหายสำหรับรถยนต์ที่เอาประกันภัยและรถยนต์ของคู่กรณี รวมถึงหากมีความบาดเจ็บหรือการสูญเสียชีวิตภายใต้ความคุ้มครองที่ซื้อไว้ หากผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายถูกบริษัทจะชดใช้ความเสียหายของรถยนต์ของผู้เอา ประกันภัยรวมถึงค่ารักษาพยาบาลภายใต้ความคุ้มครองของพระราชบัญญัติคุ้มครอง ผู้ประสบภัยจากรถ ส่วนที่เกินผู้เอาประกันภัยสามารถเรียกร้องได้จากคู่กรณีโดยตรง
7. การซ่อมรถ ก่อนทำการซ่อมผู้เอาประกันภัยจะต้องนำรถไปให้บริษัท ประกันภัยรถยนต์ ตรวจสอบความเสียหาย พร้อมประเมินราคาก่อนซ่อม หากมีอู่ประจำสามารถให้อู่นั้นเสนอราคาพร้อมนำใบเสนอราคามาตกลงค่าซ่อมด้วย การซ่อมอู่นอก ผู้เอาประกันภัยต้องเป็นผู้สำรองจ่ายค่าซ่อมไปก่อน แล้วนำใบเสร็จรับเงินมาแสดงต่อบริษัทเพื่อทำการจ่ายคืนให้ ยกเว้นกรณีอู่นอกนั้นยินยอมรับค่าซ่อมจากบริษัทโดยตรง และให้นำรถมาตรวจสอบ การซ่อมทั้ง 2 กรณี

กรณีเป็นผู้เห็นเหตุการณ์
ผู้เห็นเหตุการณ์ขอให้รีบนำผู้ที่ได้รับบาดเจ็บส่งโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล ที่ใกล้และสะดวกที่สุด เพื่อรับการรักษาโดยเร็ว และไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายโดยแจ้งว่าเป็นผู้บาดเจ็บโดยอุบัติเหตุจาก รถควรตรวจดูว่ารถคันที่ก่อให้เกิดเหตุ มีการ ประกันภัยรถยนต์ หรือไม่มี ประกันภัยรถยนต์ กับบริษัทอะไร เลขที่เท่าใด จำทะเบียนรถ เพื่อที่จะแจ้งกับโรงพยาบาลและบริษัท ประกันภัยรถยนต์ ได้ถูกต้อง

กรณีมีผู้บาดเจ็บ หรือเสียชีวิต
1. ต้องแจ้งบริษัท ประกันภัยรถยนต์ ให้ทราบรายละเอียดและไม่ควรเจรจาตกลงใด ๆ จนกว่าจะได้รับความยินยอมจากบริษัทฯ
2. หากท่านจะต้องถูกควบคุมตัวและซื้อความคุ้มครองประกันตัวในคดีอาญา บริษัท ประกันภัยรถยนต์ จะนำหลักทรัพย์มาประกันตัวท่านโดยเร็ว
3. พนักงานสอบสวนไม่มีสิทธิ์ควบคุมตัวหากไม่มีผู้บาดเจ็บสาหัสต้องรักษาเกิน 20 วัน
4. ช่วยเหลือนำส่งผู้ประสบภัยหรือแจ้งหน่วยกู้ภัยหรือโรงพยาบาล
5. ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามความเหมาะสม

กรณีถูกชนแล้วคู่กรณีหลบหนี
1. จดหมายเลขทะเบียนรถคู่กรณี และบันทึกวัน เวลา และสถานที่เกิดเหตุไว้
2. แจ้งความร้องทุกข์ต่อสถานีตำรวจท้องที่เกิดเหตุ โดยระบุในใบแจ้งความว่า เพื่อดำเนินคดี
3. แจ้งบริษัทประกันภัยรถยนต์ตามปกติ

ข้อมูลสำหรับแจ้ง บริษัทประกันภัยรถยนต์
ควรจัดเตรียมรายละเอียดได้แจ้งเจ้าหน้าที่ของบริษัท ประกันภัยรถยนต์ เพื่อมิให้เกิดความล่าช้า หรือขลุกขลัก ดังต่อไปนี้
1. ชื่อผู้เอาประกันภัย และหมายเลขกรมธรรม์
2. เลขทะเบียน ยี่ห้อ และสีของรถประกัน
3. ชื่อคนขับ และสาเหตุการเกิดโดยย่อ
4. สถานที่เกิดเหตุ จุดที่สังเกตุเห็นได้ชัด และจุดนัดหมาย (กรณีต้องรอเจ้าหน้าที่บริษัท ประกันภัยรถยนต์ )
5. ถามชื่อผู้รับแจ้ง พร้อมเวลาที่แจ้ง

กรณีรถสูญหาย
1. รีบแจ้งให้บริษัท ประกันภัยรถยนต์ ทราบทันที
2. แจ้งศูนย์ป้องกันและปราบปรามการโจรกรรมรถ โทร. 0-2245-9059, 0-2245-6951
3. แจ้ง จส.100 โทร. 1137 หรือแจ้ง ร่วมด้วยช่วยกัน โทร. 1677

อุบัติเหตุเป็นสิ่งที่เกิดขึ้น และสร้างความเสียหายต่อตัวเรา และคนรอบข้างได้มากมาย จนเรานั้นคาดไม่ถึง แต่เราก็สามารถป้องกัน และลดอุบัติเหตุลงได้ โดยใช้คำว่า “ความไม่ประมาท” โดยเริ่มจากตัวเราก่อน แค่นี้อุบัติเหตุบนท้องถนน ก็จะลดลงอย่างมาก แต่เมื่อมันเลี่ยงไม่ได้ และเกิดขึ้นมาแล้ว อีกคำที่ควรท่องไว้ คือ “สติ” เพราะสติสามารถช่วยเราแก้ปัญหา และเอาตัวรอดได้ในที่สุด ด้วยความปราถนาดี จาก asnbroker

ขอขอบคุณ : พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ,บ.เอเอสเอ็น โบรกเกอร์ จำกัด ,PSI ที่เอื้อเฟื้อข้อมูล และภาพมา ณ ที่นี้

เรียบเรียงข้อมูลโดย Asn Broker

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง Asn Broker Blog , Asn Broker Blogspot , Asn Broker Exteen , Asn Broker Wikidot , Asn Broker on WordPress

ขอฝากกิจกรรม ไว้ด้วยนะครับ  กิจกรรม จับ แจก ฟรี ตั๋วหนัง !! 

ดูรายละเอียดกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่ Asn Broker Campaign

ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันชั้น1,โบรกเกอร์,ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส,ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส,ต่อประกันรถยนต์,broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ,ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์