ประกันภัยรถยนต์, เจาะลึกประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.) กับ Asn Broker (asnbroker)

 ประกันภัยรถยนต์, ประกันรถยนต์ ,ประกันชั้น1, โบรกเกอร์, ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส, ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส, ต่อประกันรถยนต์, broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ, ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ หรืิอ พ.ร.บ.

การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ

การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ หรือที่คนส่วนใหญ่เรียกกันว่า “ประกัน พ.ร.บ.” เป็นการประกันภัยที่กฏหมายบังคับให้รถทุกคัน ทุกประเภท ต้องทำประกันภัย (ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พศ. 2535) เพื่อให้ความคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนผู้ประสบภัยจากรถ ซึ่งได้รับความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย ให้ได้รับการชดใช้ค่าเสียหายและค่าเสียหายเบื้องต้นอย่างทันท่วงที และเป็นหลักประกันแก่สถานพยาบาลทุกแห่งว่าได้รับค่ารักษาพยาบาลในกรณีที่ให้การรักษาแก่ผู้ประสบภัยจากรถแน่นอน

ประเภทรถที่ต้องทำประกันภัยตาม พ.ร.บ. 

รถที่ต้องทำประกันภัยตาม พ.ร.บ. ได้แก่รถทุกชนิดทุกประเภทตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ กฎหมายว่าด้วย การขนส่งทางบก กฎหมายว่าด้วยรถยนต์ทหาร ที่เจ้าของมีไว้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ ไม่ว่ารถดังกล่าวจะเดินด้วย กำลังเครื่องยนต์ กำลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถสามล้อเครื่อง รถยนต์โดยสาร รถบรรทุก หัวรถลากจูง รถพ่วง รถบดถนน รถอีแต๋น ฯลฯ  ดังนั้น รถบางประเภทที่กรมการขนส่งทางบกไม่รับจดทะเบียน แต่หากเข้าข่ายว่ารถนั้นเดินด้วยกำลังเครื่องยนต์ กำลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น ให้จัดเป็นรถที่ต้องทำ ประกันภัยตาม พ.ร.บ. 

รถที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องทำประกันภัย พ.ร.บ.

พ.ร.บ. คุ้มครอง ฯ กำหนดประเภทรถที่ไม่ต้องทำประกันภัยตาม พ.ร.บ. ไว้ดังนี้ 

1. รถสำหรับเฉพาะองค์พระมหากษัตริย์ พระรัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ 
2. รถของสำนักพระราชวังที่จดทะเบียน และมีเครื่องหมายตามระเบียบที่เลขาธิการพระราชวังกำหนดรถของกระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการต่าง ๆ รถยนต์ทหาร 
3. รถของหน่วยงานธุรการขององค์กรที่จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญและ หน่วยงานธุรการ ที่เป็นอิสระขององค์กรใด ๆ ที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ 


ผู้มีหน้าที่ต้องทำประกันภัยรถภาคบังคับ (พ.ร.บ.) 

1. เจ้าของรถ (ผู้มีกรรมสิทธิ์ในรถ) 
2. ผู้เช่าซื้อรถ (ผู้ครอบครองรถในฐานะผู้เช่าซื้อรถ) 
3. เจ้าของรถซึ่งนำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศเข้ามาใช้ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว 


บทลงโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 

– เจ้าของรถหรือผู้เช่าซื้อรถผู้ใด ไม่จัดให้มีการประกันภัยตาม พ.ร.บ. นี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000.- บาท 

– ผู้ใดนำรถที่ไม่ได้จัดให้มีการประกันภัยตาม พ.ร.บ. นี้มาใช้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000.- บาท 

– เจ้าของรถหรือผู้เช่าซื้อรถผู้ใด ไม่ติดเครื่องหมายแสดงว่ามีการประกันภัยตาม พ.ร.บ. นี้ 
ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000.- บาท 

– ผู้ประสบภัยผู้ใดยื่นคำขอรับชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้น โดยทุจริตหรือแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จเพื่อขอรับค่าเสียหาย เบื้องต้นตามนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000.- บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 

– บริษัทประกันวินาศภัยซึ่งได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการรับประกันภัยรถบริษัทใดฝ่าฝืนไม่ยอมรับประกันภัยตามนี้  ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 50,000.- บาท ถึง 25,000.- บาท 

– เมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นแก่ผู้ประสบภัยจากรถที่บริษัทได้รับประกันภัยไว้ หากบริษัทใดไม่จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น ให้แก่ผู้ประสบภัย (หรือทายาท) ให้เสร็จสิ้นภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับการร้องขอจากผู้ประสบภัย ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 10,000.- บาท ถึง 50,000.- บาท 

– ผู้ใดปลอมเครื่องหมาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่ 10,000.- บาท ถึง 100,000.- บาท 

– ผู้ใดติดหรือแสดงเครื่องหมายอันเกิดจากการปลอมเครื่องหมายกับรถคันหนึ่งคันใด ต้องระวางโทษเช่นเดียว กับการปลอมเครื่องหมาย 

– เจ้าของรถผู้ใดติดเครื่องหมายหรือแสดงเครื่องหมายที่ต้องส่งคืนต่อนายทะเบียน หรือเครื่องหมายที่ใช้ต่อไปไม่ได้แล้ว ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000.- บาท 

ผู้ที่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ. 

1. ผู้ประสบภัยจากรถ อันได้แก่ประชาชนทุกคนที่ประสบภัยจากรถ ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร คนเดินเท้า หากได้รับความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย อันเนื่องมาจากอุบัติเหตุที่เกิดจากรถ ก็จะได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ. นี้ 
2. ทายาทของผู้ประสบภัยข้างต้นกรณีผู้ประสบภัยเสียชีวิต 

ความเสียหายที่ได้รับความคุ้มครอง 

ค่าเสียหายที่ผู้ประสบภัยหรือทายาทจะได้รับการชดใช้มีดังนี้ 

1.ค่าเสียหายเบื้องต้น 
ผู้ประสบภัยจะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นโดยไม่ต้องพิสูจน์ความผิดภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ยื่นคำขอให้มีการชดใช้ 
ค่าสินไหมทดแทนกับบริษัทประกันภัยโดยมีรายการดังนี้ 

กรณีบาดเจ็บโดยไม่ถึงกับสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพ จะได้รับค่ารักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับ 
การรักษาพยาบาลตามความเสียหายที่แท้จริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท ได้แก่ 
– ค่ายา ค่าอาการทางเส้นเลือด ค่าอ๊อกซิเจน และอื่น ๆ ทำนองเดียวกัน 
– ค่าอวัยวะเทียม อุปกรณ์ในการบำบัดรักษา รวมทั้งค่าซ่อมแซม 
– ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าตรวจ ค่าวิเคราะห์โรค ทั้งนี้ไม่รวมถึงค่าจ้างพยาบาลพิเศษ 
และค่าบริการอื่นทำนองเดียวกัน 
– ค่าห้องและค่าอาหารตลอดเวลาที่เข้ารับการรักษาพยาบาล 
– ค่าพาหนะนำผู้ประสบภัยไปโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล 

1.2 กรณีสูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพ จะได้รับการชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นจำนวน 30,000 บาท/คน 
จากกรณีใดกรณีหนึ่งหรือหลายกรณี ดังต่อไปนี้ 
– ตาบอด 
– หูหนวก 
– เป็นใบ้ หรือเสียความสามารถในการพูด หรือลิ้นขาด 
– สูญเสียอวัยวะสืบพันธุ์ 
– สูญเสียแขน ขา มือ เท้า นิ้ว หรืออวัยวะอื่นใด 
– จิตพิการอย่างติดตัว 
– ทุพพลภาพอย่างถาวร 

1.3 กรณีเสียชีวิต ทายาทโดยชอบธรรมจะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นเป็นค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับ 
การจัดการศพ โดยได้รับชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นจำนวน 30,000 บาท/คน 

1.4 กรณีเสียชีวิตหลังจากมีการรักษาพยาบาล จะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นสำหรับเป็นค่ารักษาพยาบาลและค่าปลงศพ 
รวมกันแล้วไม่เกิน 30,000 บาท 

ความเสียหายเบื้องต้นทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของการจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามพระราชบัญญัติฯ 

2.ค่าเสียหายส่วนที่เกินค่าเสียหายเบื้องต้น 
ค่าเสียหายส่วนที่เกินกว่าค่าเสียหายเบื้องต้นโดยต้องรอพิสูจน์ความผิดก่อน ผู้ประสบภัยจะได้รับการชดใช้ดังกล่าว 
เมื่อรวมกับค่าเสียหายเบื้องต้นในข้อ 1 แล้วดังนี้ 

กรณีบาดเจ็บ จ่ายตามความเสียหายที่แท้จริงแต่ไม่เกิน 50,000 บาท/คน 
กรณีสูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพ จะได้รับการชดใช้ 100,000 บาท/คน 
กรณีเสียชีวิต จะได้รับการชดใช้เป็นค่าปลงศพ 10,000 บาท/คน 
กรณีเสียชีวิตหลังจากมีการรักษาพยาบาล จะได้รับการชดใช้ค่าเสียหายรวมกันเป็นเงิน 100,000 บาท/คน
(เป็นค่ารักษาพยาบาล+ค่าปลงศพ) 

ในกรณีที่ผู้ประสบภัยเป็นผู้ขับขี่และเป็นฝ่ายที่ต้องรับผิดต่ออุบัติเหตุ หรือไม่มีผู้ใดต้องรับผิดตามกฎหมายต่อผู้ขับขี่ 
ที่ประสบภัย ผู้ขับขี่จะได้รับการชดใช้เฉพาะค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น 

ค่าเสียหายส่วนที่เกินกว่าที่พระราชบัญญัติฯ กำหนด ผู้ประสบภัยสามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้จากผู้กระทำ 
ละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 

วิธีการจัดทำประกันภัย 
1.ถ่ายสำเนาเอกสารคู่มือการจดทะเบียนรถและบัตรประจำตัวประชาชน 
2.นำเอกสารไปติดต่อบริษัทประกันภัยที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประกันภัยรถ รวมถึงสาขาของบริษัททั่วประเทศ 
แจ้งความประสงค์ขอทำประกันภัยรถ 
3.รับกรมธรรม์ประกันภัย ซึ่งจะเป็นใบเสร็จรับเงินด้วย 
4.รับเครื่องหมายแสดงว่ามีการประกันภัย พร้อมตรวจสอบข้อมูลบนเครื่องหมายให้ถูกต้อง เช่น ชื่อบริษัทประกันภัย ชื่อรถ 
หมายเลขทะเบียนรถ หมายเลขตัวถัง ระยะเวลาสิ้นสุด และนำไปติดไว้ที่กระจกรถด้านใน หรือหากเป็นรถประเภทอื่นที่ 
ไม่ใช่รถยนต์ต้องติดไว้ในที่ ๆ สามารถเห็นได้ชัดเจน

ตารางอัตราเบี้ยประกันภัย พ.ร.บ. รวมภาษี และอากร ประกันภัยรถยนต์, ประกันรถยนต์ ,ประกันชั้น1, โบรกเกอร์, ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส, ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส, ต่อประกันรถยนต์, broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ, ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

บริษัท กลางผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด 

บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด เป็นบริษัทประกันวินาศภัย ตั้งขึ้นโดยกฎหมาย คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2540 มีวัตถุประสงค์เพื่อทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับคำร้อง และจ่ายค่าสินไหมทดแทนตาม พ.ร.บ. แทนบริษัทประกันภัยมุ่งหมายเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ประสบภัย ที่ไม่สามารถเรียกร้องค่าเสียหายจากบริาทที่รับประกันภัยรถคันที่เกิด เหตุนอก จากนี้ บริษัท กลาง ฯ ยังรับประกันภัยตาม พ.ร.บ. เฉพาะรถจักรยานยนต์ โดยปัจจุบันมีสาขาให้บริการทุกจังหวัดแล้ว

กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยคืออะไร

กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535  มีหน้าที่ จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัย หากผู้ประสบภัยไม่ได้รับการชดใช้จากบริษัทประกันภัย/เจ้าของรถที่ไม่จัด ให้มีประกันภัย หรือไม่สามารถเรียกร้องจากที่ใดได้ เช่น รถชนแล้วหนี เจ้าของรถที่ไม่จัดให้มีประกันภัยไม่จ่ายค่าเสียหาย ฯลฯ การยื่นขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากกองทุน ฯ ผู้ประสบภัย / ทายาท ต้องยื่นภายใน 180 วัน นับแต่วันเกิดเหตุ

การยื่นขอรับค่าเสียหาย เบื้องต้นจากกองทุน 
ผู้ประสบภัย/ทายาท สามารถยื่นคำร้องขอรับเสียหายเบื้องต้น จากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ได้ที่

  1. สำนักงานประกันภัยจังหวัดทุกจังหวัด
  2. สำนักงานคุ้มครองผู้เอาประกันภัยเขต 4 เขต    

 

เรียบเรียงข้อมูลโดย Asn Broker

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง Asn Broker Blog , Asn Broker Blogspot , Asn Broker Exteen , Asn Broker Wikidot , Asn Broker on WordPress

ขอฝากกิจกรรม ไว้ด้วยนะครับ  กิจกรรม จับ แจก ฟรี ตั๋วหนัง !! 

ดูรายละเอียดกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่ Asn Broker Campaign

ประกันภัยรถยนต์, ประกันรถยนต์ ,ประกันชั้น1, โบรกเกอร์, ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส, ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส, ต่อประกันรถยนต์, broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ, ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

 

ประกันภัยรถยนต์, ความคุ้มครอง ประโยชน์ กับ Asn Broker (asnbroker)

ความคุ้มครอง ประโยชน์ การประกันภัยรถยนต์

การประกันภัยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

  • การประกันภัยภาคบังคับ หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า “พ.ร.บ.
  • การประกันภัยภาคสมัครใจ

การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ หรือ พ.ร.บ.
เป็นการประกันภัยภาคบังคับที่รถทุกคันจะต้องทำ โดย พ.ร.บ. มีชื่อเต็มว่า “พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบ ภัยจากรถ” ซึ่งรัฐบาลได้ออกกฎหมายนี้ขึ้นมาเพื่อบังคับให้รถทุกคันต้องทำประกันภัย โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อคุ้มครองผู้ใช้รถใช้ถนนทุกคนที่ประสบอุบัติภัยอันเกิดจากยวดยานพาหนะในท้องถนน โดยมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่ เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2535 เป็นต้นมา ดังนั้นรถทุกคันจึงจำเป็นต้องทำประกัน พ.ร.บ. ซึ่งรวมถึง รถจักรยานยนต์และรถรับจ้างต่างๆ ด้วย

ผู้ที่ได้รับความคุ้มครอง เจ้าของรถ และบุคคลทั่วไปที่ประสบภัยจากรถ

ความคุ้มครอง
1.ผู้ขับขี่

  • บาดเจ็บ วงเงินรักษาพยาบาลตามจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท
  • สูญเสียอวัยวะ ,ทุพพลภาพอย่างถาวร หรือ เสียชีวิต 35,000 บาท

รวมกันวงเงินคุ้มครองสูงสุดไม่เกิน 50,000 บาท

2.ผู้โดยสาร หรือ บุคคลภายนอก

  • บาดเจ็บ วงเงินรักษาพยาบาลตามจริงแต่ไม่เกิน 50,000 บาท
  • สูญเสียอวัยวะ ,ทุพพลภาพอย่างภาวร หรือ เสียชีวิต 200,000 บาท
  • ชดเชยรายวัน(กรณีนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาล) 200 บาท / วัน ไม่เกิน 20 วัน

รวมกันวงเงินคุ้มครองสูงสุดไม่เกิน 204,000 บาท

 ประกันภัยรถยนต์, ประกันรถยนต์ ,ประกันชั้น1, โบรกเกอร์, ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส, ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส, ต่อประกันรถยนต์, broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ, ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

 

ความคุ้มครอง ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ
ความคุ้มครองหลักของกรมธรรม์แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนที่เกี่ยวกับความสูญเสียหรือเสียหายต่อตัว รถยนต์คันที่เอาประกันภัย ตลอดจนอุปกรณีที่ติดประจำรถนั้น เช่น รถชนกับรถหรือวัตถุอื่นใดก็ตาม ถูกโจรกรรม ไฟไหม้ ระเบิด เป็นต้น) และอีกส่วนคือ การคุ้มครองความรับผิดตามกฎหมายของผู้เอาประกันภัยหรือผู้ขับขี่ ในความเสียหายต่อบุคคลที่สามจากการใช้รถ (เช่น กรณีการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตของบุคคลภายนอกทั่วไปและผู้โดยสารในรถหรือทรัพย์สินของบุคคลภายนอกได้รับความเสียหายจากความประมาทเลินเล่อของผู้ขับรถเอาประกัน ซึ่งอาจเป็นรถยนต์คู่กรณี สะพาน เสาไฟฟ้า บ้านเรือน เป็นต้น)
 
ผู้ซื้อประกันภัยมักประสบปัญหาในชื่อเรียกแบบ ความคุ้มครอง ชาวบ้านมักเรียกความคุ้มครองเป็นการประกันภัยชั้น 1 หรือประกันภัยชั้น 3 ซึ่งมักก่อให้เกิดความเข้าใจผิดเนือง ๆ เพราะไม่มีข้อกำหนดเป็นมาตรฐานว่าการประกันภัยชั้นไหนประกอบด้วยความคุ้มครองอะไรบ้างและที่สำคัญคือ ระดับวงเงินความคุ้มครองที่แตกต่างกันไปของแต่ละบริษัท
 
โดยทั่วไปการประกันภัยชั้นหนึ่ง หมายถึง การซื้อความคุ้มครองโดยครอบคลุมถึงความคุ้มครองหลักทั้งสองส่วนโดยมีวงเงินความคุ้มครองเพียงพอทั้งตัวรถที่เอาประกันภัย และโดยเฉพาะส่วนที่คุ้มครองความรับผิดชอบตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอก ต้องมีวงเงินชดค่าสินไหมทดแทนต่อการเสียชีวิตต่อคนต่อครั้งและความเสียหายต่อทรัพย์สินของคนอื่นต่ออุบัติเหตุต่อหนึ่งครั้งที่เพียงพอต่อความรับผิดชดใช้ที่อาจเกิดขึ้นได้ เพราะหากซื้อความคุ้มครองที่ต่ำกว่าระดับที่เหมาะสม ความเสียหายส่วนที่เกินวงเงินความคุ้มครองก็จะตกเป็นภาระของผู้เอาประกันภัยหรือคนขับผู้ละเมิดที่จะต้องรับผิดชดใช้ต่อไป
 
รายละเอียดความคุ้มครองประกันภัยรถยนต์
ความคุ้มครองต่อบุคคลภายนอก
บริษัทผู้รับประกันภัยจะเข้ารับผิดชอบ ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอก หากความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกนั้น ผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายที่ต้องรับผิดตามกฎหมาย ซึ่งความคุ้มครองในส่วนนี้จะแบ่งเป็นดังนี้ความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยซึ่งจะคุ้มครองความ รับผิดต่อความบาดเจ็บ มรณะ โดยบุคคลภายนอกที่ได้รับความคุ้มครองในส่วนนี้ จะรวมทั้งบุคคลที่อยู่ภายนอกรถยนต์คันเอาประกันภัย และบุคคลภายนอกที่โดยสารอยู่ในหรือกำลังขึ้น หรือกำลังลงจากรถยนต์คันเอาประกันภัย โดยจะคุ้มครองเฉพาะจำนวนเงินค่าเสียหายส่วนที่เกินกว่าจำนวนเงินสูงสุดตาม กรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (พรบ.) ยกเว้น ผู้ขับขี่รถยนต์คันเอาประกันภัยในขณะเกิดอุบัติเหตุ รวมทั้งคู่สมรส บิดา มารดา บุตร ลูกจ้างในขณะปฏิบัติงานของผู้ขับขี่ความเสียหายต่อรถยนต์และทรัพย์สินบริษัทประกันภัยจะ รับผิดชอบค่าสินไหมทดแทนความเสียหายต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอกตามความเสียหาย ที่แท้จริง แต่ไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัย ยกเว้น เป็นทรัพย์สินของผู้ขับขี่รถยนต์คันเอาประกันภัยในขณะเกิดอุบัติเหตุ รวมทั้งคู่สมรส บิดา มารดา บุตรของผู้ขับขี่
 
ความคุ้มครองต่อตัวรถของผู้เอาประกัน
ความเสียหายต่อรถยนต์ความคุ้มครองต่อความ เสียหายต่อรถยนต์ โดยบริษัทประกันภัยจะชดเชยค่าสินไหมทดแทนความเสียหายในระยะเวลาเอาประกันภัย รวมทั้งอุปกรณ์เครื่องตกแต่ง หรือสิ่งที่ติดประจำอยู่กับตัวรถยนต์ความเสียหายส่วนแรกเงื่อนไขของผู้เอา ประกันภัยจะเข้าร่วมรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นตามจำนวนเงินที่ระบุใน กรมธรรม์ สำหรับกรณีที่รถคันเอาประกันภัยเป็นฝ่ายก่อให้เกิดความเสียหายรถยนต์สูญหายไฟไหม้การสูญหายจะรวมถึง การสูญหายทั้งคัน สูญหายบางส่วน สูญหายจากการลักทรัพย์ของลูกจ้าง หรือบุคคลใดเป็นผู้ลักทรัพย์ก็ตาม การเสียหายของรถยนต์ที่เกิดจากไฟไหม้ ไม่ว่าจะเป็นการไหม้ด้วยตัวของมันเอง หรือเป็นการไหม้ที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากสาเหตุอื่นใดก็ตาม
 
ความคุ้มครองบุคคลภายในรถ (ตามอนุสัญญาแนบท้าย)
อุบัติเหตุส่วนบุคคลคุ้มครองความบาดเจ็บ จากอุบัติเหตุของผู้ขับขี่หรือผู้โดยสารรถยนต์คันเอาประกันภัย หากความบาดเจ็บที่ได้รับเป็นผลให้บุคคลนั้นเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพถาวร หรือทุพพลภาพชั่วคราว โดยบริษัทประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เป็นจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ระบุไว้ค่ารักษาพยาบาล คุ้มครองความบาดเจ็บ จากอุบัติเหตุของบุคคลที่อยู่ในรถยนต์คันเอาประกันภัย หากความบาดเจ็บเป็นผลให้ต้องเข้ารับการรักษาพยาบาล โดยบริษัทประกันภัยจะจ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าผ่าตัด ค่าโรงพยาบาล ตามจำนวนเงินที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ระบุไว้การประกันตัวผู้ขับขี่กรณีที่ผู้เอาประกัน ภัย หรือผู้ขับขี่ได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัย นำรถยนต์คันเอาประกันภัยไปใช้และเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งเป็นผลให้ถูกควบคุมตัวไว้ในคดีอาญา ทั้งในชั้นพนักงานสอบสวน พนักงาน อัยการ หรือศาล (จนถึงศาลฎีกา) โดยบริษัทต้องทำการประกันตัวผู้เอาประกันภัย หรือผู้ขับขี่โดยไม่ชักช้า ในวงเงินไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ระบุไว้
 
ตารางเปรียบเทียบความคุ้มครอง
 
 ประกันภัยรถยนต์, ประกันรถยนต์ ,ประกันชั้น1, โบรกเกอร์, ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส, ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส, ต่อประกันรถยนต์, broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ, ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

จบเรื่องความคุ้มครองแล้วนะครับ ต่อมาผมจะพูดถึงประโยชน์ของการประกันภัยรถยนต์

 

ประโยชน์ของการประกันภัยรถยนต์

มีการกล่าวไว้ว่า “การทำประกันภัยรถยนต์นับเป็นวิธีที่ชาญฉลาดในการบริหารทรัพย์สิน” เพราะเป็นทางเลือกหลักในการลดความสูญเสียอันเนื่องมาจากอุบัติภัยหรือการสูญหายที่อาจเกิดต่อรถยนต์ของผู้เอาประกัน การทำประกันรถยนต์นั้นไม่ได้ทำให้ความเสี่ยงต่อการสูญเสียลดลง แต่การประกันภัยรถยนต์จะช่วยชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้น และไม่ทำให้แผนการบริหารการเงินของผู้ทำประกันภัยต้องสะดุดหรือเสียหาย ผู้รับประกันภัยจะเป็นผู้จ่ายค่าชดเชยรวมถึงค่าใช้จ่ายต่างๆที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุตามความคุ้มครองที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ดังกล่าว ดังนั้นในการวางแผนและบริหารการเงินอย่างมีประสิทธิภาพนั้น การประกันความเสี่ยงของทรัพย์สินต่างๆด้วยการประกันภัยจัดว่าเป็นวิธีบริหารความเสี่ยงที่มีรูปแบบเป็นสากลและสามารถไว้วางใจได้”

อย่างไรก็ตามก่อนการทำประกันภัยทุกประเภท ผู้เอาประกันต้องศึกษารายละเอียดและเงื่อนไขในการทำประกันภัยอย่างถี่ถ้วนเพื่อให้การทำประกันภัยเป็นการลงทุนที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

ประกันภัยรถยนต์มีประโยชน์อย่างมากในด้านต่างๆ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านสังคมและประเทศชาติ ด้านบุคคล และด้านธุรกิจ

1. ต่อบุคคล ทำให้ผู้ที่มีเงินน้อยสามารถซื้อรถยนต์ใช้ได้ด้วยการผ่อนส่ง โดยผู้ขาย รถยนต์จะใช้วิธีให้ผู้ซื้อรถยนต์เอาประกันภัยรถยนต์คันนั้นกับผู้รับประกันภัย โดยผู้ขายรถยนต์เป็นผู้รับประโยชน์ และเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้เอาประกันภัยว่ารถยนต์คันที่เอาประกันภัยไว้นั้นหากเกิดอุบัติเหตุได้รับความเสียหายก็จะได้รับการชดใช้จากผู้รับประกันภัย รวมทั้งความเสียหายที่เกิดแก่ทรัพย์สิน การบาดเจ็บต่อร่างกายทั้งของผู้ขับขี่รถยนต์และแก่บุคคลภายนอกด้วย เป็นการบรรเทาความเสียหาย เนื่องจากการใช้รถยนต์ได้ทำให้ผู้เอาประกันภัยได้รับความสะดวกไม่ต้องเสียเวลากับการโต้แย้งถึงความผิดเมื่อรถยนต์ที่เอาประกันภัยไว้เป็นฝ่ายผิด ทางผู้รับประกันภัยก็จะเป็นผู้ชดใช้ค่าเสียหายแทนให้ หากเป็นฝ่ายถูกทางผู้รับประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้เอาประกันภัยหรือทำการซ่อมแซมให้รถยนต์ ผู้เอาประกันภัยก่อนจนสามารถนำไปประกอบธุรกิจได้โดยไม่ต้องเสียเวลา และผู้รับประกันภัยก็จะเข้า สวมสิทธิ์ผู้เอาประกันภัยในการเรียกร้องค่าเสียหายแทนผู้เอาประกันภัย จึงเป็นผลดีต่อผู้เอาประกันภัยโดยการดำเนินงานหรือการดำเนินธุรกิจไม่หยุดชะงักไปนาน

2. ต่อสังคมและประเทศชาติ
2.1 เป็นการสร้างความมั่นคงให้กับสังคมและสังคมประเทศชาติ ทำให้สังคมมี หลักประกันความปลอดภัย มีความมั่นใจว่าเมื่อเกิดความเสียหายขึ้นแล้วก็จะได้รับการชดใช้ เพราะในทุกวันนี้คนที่มีความเป็นอยู่พอกินพอใช้ไปวันหนึ่งๆ ก็สะสมเงินได้ทีละเล็กละน้อย เมื่อเกิดอุบัติเหตุหรือเกิดภัยขึ้นจะเดือดร้อนมาก แต่เมื่อมีการเอาประกันภัยไว้ก็ทำให้อุ่นใจได้ว่าจะมีผู้ชดใช้ความเสียหายให้

     2.2 เป็นการช่วยให้มีการระดมทุน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ และการระดมทุนนั้นจะสำเร็จได้ก็โดยการประหยัดของประชาชนในประเทศและนำเอาส่วนที่สะสมนั้นมาลงทุน การประกันภัยมีส่วนบังคับให้ประชาชนในชาติประหยัดทางอ้อม คือนำเอาเงินที่ทำมาหาได้ส่วนหนึ่งมาประกันภัยไว้กับผู้รับประกันภัยในรูปของเบี้ยประกันภัยเพื่อลดการเสี่ยงภัยที่จะเกิดหรือมีขึ้นในอนาคต แล้วผู้รับประกันภัยไปลงทุนหาดอกผลซึ่งเป็นการช่วยพัฒนาประเทศในการเพิ่มการ ลงทุนของประเทศ

     2.3 นอกจากที่กล่าวมาทั้งสองข้อแล้วนั้น การประกันภัยยังจะช่วยในการส่งเสริม การลงทุนให้มีมากขึ้น คือทำให้คนกล้าลงทุนในการพาณิชย์และการอุตสาหกรรม เนื่องจากไม่ต้องเกรงว่าทรัพย์สินที่ใช้ในการประกอบธุรกิจพาณิชย์และอุตสาหกรรมอยู่นั้นจะเสียหายทำให้สิ้นเนื้อประดาตัวเพราะได้ทำประกันภัยไว้แล้ว ผู้รับประกันภัยจะเป็นผู้รับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้น ทำให้อาชีพการค้าและ อุตสาหกรรมมากขึ้น ทำให้เศรษฐกิจของชาติเจริญขึ้นได้

3. ต่อธุรกิจ การเกิดอุบัติเหตุครั้งหนึ่งๆ ทำให้เสียหายทั้งทรัพย์สินทั้งตัวรถ หรือแก่ บุคคลอื่นๆนั้นสามารถทำให้ธุรกิจที่ประกอบการอยู่เกิดความเสียหายทั้งด้านเวลา ทรัพย์สิน และการติดต่อประสานงาน ทำให้เจ้าของธุรกิจต้องประสบกับความผิดพลาดในการดำเนินงาน ดังนั้น เมื่อมีการประกันภัยรถยนต์จะช่วยให้

     3.1 มีธุรกิจอีกประเภทหนึ่งเข้ามาดำเนินการในตลาด ซึ่งมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อน ไปกว่าธุรกิจอื่นๆ ซึ่งในบางประเทศ ธุรกิจประกันภัยรุ่งเรืองเท่าๆกับธนาคาร เมื่อมีธุรกิจประกันภัยมากขึ้นทำให้คนมีงานทำมากขึ้นและการครองชีพดีขึ้น

     3.2 เกิดเสถียรภาพในการประกอบธุรกิจ ความมุ่งหมายของการลงทุนประกอบธุรกิจคือ กำไรกำไรจะไม่แน่นอนหากต้นทุนการผลิตไม่แน่นอน แต่หากมีการโอนความเสี่ยงภัยไปให้ผู้รับประกันภัย โดยเสียเบี้ยประกันภัยจำนวนหนึ่งตามที่ตกลงกันไว้ก็จะทำให้ต้นทุนการผลิตแน่นอนขึ้น การลงทุนก็จะมีเสถียรภาพมากขึ้น

     3.3 ก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการประกอบธุรกิจ เมื่อผู้ลงทุนสามารถลดการ เสี่ยงภัย โดยการประกันภัยแล้วย่อมใช้ความสามารถและเวลาให้แก่การมุ่งหาผลกำไร ซึ่งวัตถุประสงค์ โดยตรงของการลงทุนเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่ธุรกิจนั้น

 

เรียบเรียงข้อมูลโดย Asn Broker

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง Asn Broker Blog , Asn Broker Blogspot , Asn Broker Exteen , Asn Broker Wikidot , Asn Broker on WordPress

ขอฝากกิจกรรม ไว้ด้วยนะครับ  กิจกรรม จับ แจก ฟรี ตั๋วหนัง !! 

ดูรายละเอียดกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่ Asn Broker Campaign

 ประกันภัยรถยนต์, ประกันรถยนต์ ,ประกันชั้น1, โบรกเกอร์, ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส, ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส, ต่อประกันรถยนต์, broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ, ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

 

ประกันภัยรถยนต์, ความหมายการประกันภัยรถยนต์ โดย Asn Broker (asnbroker)

การประกันภัย คือ การบริหารความเสี่ยงภัยวิธีหนึ่ง ซึ่งจะโอนความเสี่ยงภัยของผู้เอาประกันภัยไปสู่บริษัทประกันภัย เมื่อเกิดความเสียหายขึ้น บริษัทประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามที่ได้รับความคุ้มครองในกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัย โดยที่ผู้เอาประกันภัยจะต้องเสียเบี้ยประกันภัยให้แก่บริษัทประกันภัยตามที่ได้ตกลงกันไว้

การประกัน (Insurance) คือ การบริหารจัดการความเสี่ยงรูปแบบหนึ่ง โดยมีองค์ประกอบสามส่วน คือ
ผู้รับประกัน (Insurer)
ผู้เอาประกัน (Insured) หรือผู้ถือกรมธรรม์ (Policy Holder)
ผู้รับผลประโยชน์ (Beneficiary)

การประกันภัยรถยนต์ มีผู้ให้ความหมายไว้หลายความหมาย ดังนี้

1.การประกันภัยรถยนต์ หมายถึง การที่บุคคลหนึ่งซึ่งในที่นี้ซึ่งเรียกว่า “ผู้เอาประกันภัย”ได้โอนความเสี่ยงภัยเกี่ยวกับการใช้รถยนต์ไปให้บุคคลไปให้ อีกบุคคลหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า “ผู้รับประกันภัย” รับเสี่ยงภัยแทนโดยผู้เอาประกันภัยจะต้องจ่ายเงินจำนวนหนึ่งให้กับผู้ รับประกันภัยเป็นการตอบแทนในการที่ผู้รับประกันภัยยอมเสี่ยงภัยนั้น ซึ่งเงินจำนวนนี้ เรียกว่า “เบี้ยประกันภัย” เมื่อผู้รับประกันภัยยอมเสี่ยงภัยแทนผู้เอาประกันภัยแล้ว หากรถยนต์คัน ที่เอาประกันภัยไว้ได้เกิดอุบัติเหตุ ทำให้เกิดความเสียหายแก่ตัวรถยนต์หรือแก่ชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินของบุคคลทั้งภายนอกและที่โดยสารอยู่ในรถยนต์คันนั้นผู้ เอาประกันภัยจะได้รับการชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้น เรียกว่า “ค่าสินไหมทดแทน”โดยผู้รับประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้เท่ากับจำนวน ความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงแต่ไม่เกินจำนวนเงินที่ได้ตกลงทำสัญญาไว้ ซึ่งเงินจำนวนเงินที่ตกลงทำสัญญาไว้ เรียกว่า“จำนวนเงินเอาประกันภัย” (หนังสือของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย )

2.การประกันภัยรถยนต์ หมายถึง การประกันภัยเพื่อคุ้มครองความสูญเสียหรือเสียหายอันเกิดจากการใช้รถยนต์ไม่ว่าจะเป็นเก๋งส่วนบุคคล
รถ บรรทุก รถโดยสาร และรถจักรยานยนต์ ซึ่งได้แก่ ความสูญเสียหรือเสียหายที่เกิดแก่รถยนต์ได้แก่ ความเสียหาย บุบสลาย หรือสูญหายของตัวรถยนต์ นอกจากนี้ความสูญเสียหรือเสียหายที่รถยนต์ก่อให้เกิดขึ้นแก่ชีวิต ร่างกายละทรัพย์สินของบุคคลภายนอก รวมทั้งบุคคลที่โดยสารอยู่ในรถยนต์นั้นด้วยโดยบริษัทหรือผู้รับประกันภัยจะ ออกหนังสือให้แก่ผู้เอาประกันภัยแต่ละรายเรียกว่า “กรมธรรม์ประกันภัย” หรือหลักฐานของสัญญาประกันภัยซึ่งระบุว่าบริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ ผู้เอาประกันภัยเมื่อเกิดความเสียหายขึ้นตามเงื่อนไขที่ได้ระบุไว้ ขณะเดียวกันผู้เอาประกันภัยแต่ละรายก็จะต้องจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ บริษัทประกันภัยตามอัตราความเสี่ยงของตน (หนังสือการประกันภัย บุษรา อึ๊งภากรณ์ )

การประกันภัยรถยนต์ จำแนกออกเป็น 2 ประเภท คือ

1.การประกันภัยรถภาคบังคับ หรือ พ.ร.บ. หมายถึง การประกันภัยรถประเภทที่กฎหมายให้เจ้าของรถซึ่งใช้หรือมีรถไว้เพื่อใช้ ต้องจัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัยโดยประกันภัยกับบริษัท ตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัยที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการประเภทการ ประกันภัยรถ โดยรัฐบาลมีเจตจำนงเพื่อให้เกิดความคุ้มครองแก่ชีวิตร่างกายของประชาชนที่ ประสบภัยเป็นสำคัญ

2.การประกันภัยรถภาคสมัครใจ เป็นการประกันภัยรถที่ กฎหมายไม่ได้บังคับขึ้นอยู่กับความพอใจของผู้เอาประกันภัยที่เห็นถึงความ เสี่ยงภัยแห่งตนและมีความคิดที่จะกระจายความเสี่ยงภัยออกไปยังบุคคลอื่นคือ การประกันภัยไว้กับบริษัทผู้รับประกันภัยซึ่งผู้เอาประกันภัยสามารถเลือก ซื้อความคุ้มครองตามประเภทที่ผู้เอาประกันภัยประสงค์โดยบริษัทประกันภัยจะ ออกกรมธรรม์ประกันภัยให้ไว้เป็นหลักฐาน โดยมีความคุ้มครอง เงื่อนไขและข้อยกเว้นตามแบบที่นายทะเบียนให้ความเห็นชอบ

การประกันภัยภาคสมัครใจ สามารถแบ่งออกเป็นได้ทั้งหมด 5 ประเภท คือ

ประเภท 1 ให้ความคุ้มครองครอบคลุมมากที่สุด คือ
• ความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถ
• ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
• ความเสียหายของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย
• ความเสียหายต่อตัวรถยนต์เนื่องจากไฟไหม้ และการสูญหาย

ประเภท 2 ผู้เอาประกันภัยประเภทนี้ จะได้รับความคุ้มครอง คือ
• ความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถ
• ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
• ความเสียหายต่อตัวรถยนต์เนื่องจากไฟไหม้ และการสูญหาย

ประเภท 3 ซึ่งเป็นประเภทที่ให้ความคุ้มครองเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ดังนี้
• ความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถ
• ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก

ประเภท 4 ซึ่งเป็นประเภทที่ให้ความคุ้มครองเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินบุคคลภายนอก
• ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก ในวงเงินไม่เกิน 100,000 บาท/ครั้ง

ประเภท 5 ผู้เอาประกันภัยประเภทนี้ จะได้รับความคุ้มครอง
• ความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถ
• ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
• ความเสียหายของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย แต่ต้องแจ้งคู่กรณีได้เท่านั้น
• ความเสียหายต่อตัวรถยนต์เนื่องจากไฟไหม้ และการสูญหาย

ภาพแสดงความคุ้มครอง

t8ENy41Wed113517.JPG

แหล่งข้อมูล : vrmittare.com

เรียบเรียงโดย : Asn Broker

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง : Asn Broker Blog OK Nation , Asn Broker Exteen Asn Broker BlogSpot , Asn Broker Blog , Asn Broker Wikidot

asnbroker.gif