ประกันภัยรถยนต์,วิธีปฏิบัติตัวเมื่อเกิดอุบัติเหตุ โดย Asn Broker (asnbroker)

วิธีปฏิบัติตัวเมื่อเกิดอุบัติเหตุ

นิยาม ความหมายของคำว่า อุบัติเหตุ

คำว่า “อุบัติเหตุ”  ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้คำนิยามไว้ว่า

อุบัติเหตุ หมายถึง เหตุที่เกิดขึ้นโดยไม่ทันคิด ความบังเอิญเป็น 

อุบัติเหตุ หมายถึง  เหตุการณ์ใด ก็ตามที่เกิดขึ้นมิได้ตั้งใจ หรือมิได้คาดคิดมาก่อน และเป็นผลให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกายหรือทรัพย์สินของคนเรา

อุบัติเหตุ หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ และเหตุการณ์นั้นต้องทำให้คนอื่นถึงแก่ความตาย บาดเจ็บ หรือทรัพย์สินเสียหาย 

อุบัติเหตุ คือ เหตุการณ์ซึ่งเกิด (อุบัติ) ขึ้น อาจจะเป็นเหตุการณ์ดี หรือเหตุการณ์ร้ายก็ได้   

อุบัติเหตุ คือ เหตุการณ์ซึ่งเกิดขึ้น โดยไม่คาดฝันมาก่อน โดยไม่เจตนา เป็นผลให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สิน เป็นอันตรายแก่ร่างกายและจิตใจ และอาจทำให้สูญเสียชีวิตได้ด้วย

สาเหตุของอุบัติเหตุในการจราจรทางบก

อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในการจราจรทางบกนั้น เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน จากสถิติของกรมทางหลวง พบว่า สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุทางหลวงมากที่สุด คือการขับรถเร็ว รองลงมาคือการขับรถระยะกระชั้นชิด อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในการจราจรทางบกนั้น มักเกิดขึ้นจากสาเหตุที่สำคัญ 3 ประการดังนี้
1. บุคคล
2. สิ่งแวดล้อม
3. กฎหมาย

สาเหตุเกิดจากผู้ขับขี่ยวดยานพาหนะ ผู้โดยสาร คนเดินทาง หรือสัตว์เลี้ยงต่างๆ ซึ่งมีสาเหตุดังนี้
1. สาเหตุจากผู้ขับยวดยานพาหนะ
1.1 มีความบกพร่องทางด้านร่างกาย เช่น ร่างกายอ่อนเพลีย ง่วงนอน หรือหลับในสุขภาพไม่ดี มีโรคประจำตัว โรคลมชัก ตาบอดสี ตาพร่า น้ำตาลในเลือดต่ำ
1.2 มีความบกพร่องทางด้านจิตใจและอารมณ์ เช่น มีความกลัดกลุ้มใจ วิตกกังวล อารมณ์หงุดหงิด ฉุนเฉียว มีความตึงเครียดทางอารมณ์
1.3 ขาดความรู้ความชำนาญ และประสบการณ์ในการใช้ถนน เช่น ขาดความรู้เรื่องความเร็วกับรถ คาดคะเนความเร็ว หรือกะระยะทางไม่ถูกต้อง ไม่มีความรู้ความชำนาญ ในเรื่องลักษณะของยวดยานที่ใช้ขับ ไม่รู้กฎจราจร เป็นต้น
1.4 ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบหรือข้อบังคับ เช่น ขับรถเร็ว ขับรถตัดหน้ารถอื่นระยะกระชั้นชิด ขับรถล้ำช่องทางเดินรถ ขับรถแซงซ้าย หรือแซงขวาในที่คับขัน ขับรถตามหลังคนอื่นอย่างกระชั้นชิด ฝ่าฝืนป้ายหยุดขณะออกจากทางร่วม ขับรถย้อนศรทางเดินรถ ขับรถฝ่าฝืนเครื่องหมายจราจร หยุดรถโดยกระชั้นชิด ฯลฯ
1.5 ไม่รู้จักป้องกันตนเอง เช่น ขับรถด้วยความประมาท ขาดความระมัดระวัง ความเร่งรีบในการเดินทาง เสพยากระตุ้นประสาท ดื่มสุราขณะขับรถ ฯลฯ สำหรับเรื่องการดื่มสุรานั้น จากสถิติของสถาบันนิติเวชวิทยา กรมตำรวจ ปี พ.ศ. 2532 พบว่าผู้เสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุจากการจราจร มีประวัติการดื่มสุราจำนวน 288 คน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 77.12

2. สาเหตุจากผู้โดยสาร คนเดินเท้า หรือสัตว์เลี้ยง
2.1 การขาดความระมัดระวัง เช่น ผู้โดยสารขึ้นหรือลงรถโดยไม่ระมัดระวัง ในการปิด-เปิดประตูรถ เดินถนนโดยไม่ระมัดระวังยวดยาน วิ่งตัดหน้ารถ การวิ่งเล่นบนถนน ลื่นหกล้ม ลังเลใจในการข้ามถนน ฯลฯ
2.2 การไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร เช่น ห้อยโหนรถโดยสารรถประจำทาง ไม่ขึ้นหรือลงขณะรถหยุด หรือที่ป้ายจอด ไม่ข้ามถนนตรงทางข้าม, สัญญาณ หรือสะพานลอย ไม่เดินถนนตามบาทวิถีหรือทางเท้า
2.3 ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เช่น ข้ามถนนโดยออกจากหน้า หรือท้ายรถขณะที่รถยังจอดอยู่ สัตว์เลี้ยงเดินข้ามถนนหรือวิ่งตัดหน้ารถ ฯลฯ
2.4 ความไม่สมบูรณ์ของร่างกายและจิตใจ เช่น สภาพร่างกายที่อ่อนเพลียการดื่มสุราขณะเดินถนน เป็นต้น

สาเหตุจากสิ่งแวดล้อม ที่เป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติเหตุ ได้แก่ สภาพของรถ สภาพถนนและดินฟ้าอากาศ
1. สาเหตุจากสภาพของรถ
1.1 ยางระเบิดหรือยางแตก ทำให้รถเสียการทรงตัว พลิกคว่ำได้ง่าย โดยเฉพาะรถที่กำลังแล่นด้วยความเร็วสูง และถนนลื่น 1.2 เบรกแตก เบรกลื่น ทำให้รถไม่สามารถหยุดหรือชะลอความเร็วลงได้ตามความต้องการ
1.3 เพลาหลุดหรือเพลาขาด ทำให้รถหมดกำลังในการขับเคลื่อน รถจะไม่แล่น แม้ว่าจะเหยียบคันเร่งอย่างไรก็ตาม ทำให้ยากแก่การควบคุมความเร็ว และง่ายต่อการเกิดอุบัติเหตุ
1.4 คันส่งหลุด ทำให้พวงมาลัยใช้การไม่ได้ ไม่สามารถควบคุมรถได้
1.5 อุปกรณ์ประจำรถชำรุดหรือขัดข้อง เช่น ไม่มีไฟหน้า-หลัง ไฟใหญ่มีข้างเดียว หรือไม่มีเลย ไฟเลี้ยวชำรุด ไม่ได้ซ่อมแซมหรือแก้ไข พวงมาลัยสั่นขณะขับ เป็นต้น
1.6 การเปลี่ยนแปลงสภาพรถ เช่น การเพิ่มแรงเครื่อง ทำให้ผู้ขับขี่เกิดความคะนองและขับรถเร็ว การแปลงสภาพรถตามความพอใจ โดยไม่คำนึงถึงสภาพรถที่ได้รับการออกแบบมา

2. สาเหตุจากบริเวณที่เกิดอุบัติเหตุ สภาพถนนและสภาพแสงสว่าง
2.1 บริเวณที่เกิดอุบัติเหตุ ได้แก่ ทางแยก ทางโค้ง ทางตรง ทางเบี่ยงสะพาน วงเวียน ทางตัดทางรถไฟ ทางลาดชัน/เนินเขา ทางเข้าออกทางด่วน ทางเชื่อมโยงทางแยก ทางเชื่อมอาคารที่พักอาศัย ฯลฯ ซึ่งบริเวณที่มักเกิดเหตุบ่อยที่สุดคือ ทางตรง โดยสภาพเส้นที่ดีเรียบ มักทำให้ผู้ขับขี่ขาดความระมัดระวังและขับรถด้วยความเร็วสูง นอกจากนี้จะพบว่าถนน 3 ช่องทางจะเกิดอุบัติเหตุมากกว่าถนน 2 ช่องทาง และถนน 4 ช่องทาง และถนนสี่แยกจะอันตรายกว่าสามแยก
2.2 สภาพถนนที่เป็นหลุมเป็นบ่อ มีโคลนตม มีเครื่องกีดขวางมากๆ หรือถนนที่แคบ ถนนที่ลื่น มีส่วนทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้
2.3 สภาพแสงสว่างบนถนน เช่น แสงสว่างที่ส่องจากรถคันที่สวนมาโดยการเปิดไฟสูงและมีความสว่างสูง ทำให้ตามัวมองไม่ชัดเจน หรือไม่มีไฟส่องสัญญาณทางแยก บนท้องถนนมืดไม่มีไฟฟ้า ไม่มีแสงสว่าง ทำให้มองไม่เห็นทาง หรือมองไกลไม่ได้ ย่อมเป็นอันตรายต่อการขับรถ อย่างไรก็ตามแสงสว่างในเวลากลางวัน หรือความสว่างของ ถนนก็มักทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงกว่าเวลากลางคืน แต่ความรุนแรงจะเกิดในเวลากลางคืนมากกว่า

3. สาเหตุจากดินฟ้าอากาศ
3.1 ฝนตกหนัก น้ำท่วม ทำให้ถนนเป็นหลุมเป็นบ่อ เป็นหล่มโคลน ถนนลื่น ทำให้รถตกถนน พลิกคว่ำ
3.2 การเกิดพายุหรือหมอกลงจัด ทำให้มีควันปกคลุมมองไม่เห็นทาง เกิดอุบัติเหติได้ง่าย
3.3 พายุหิมะ ในต่างประเทศอาจมีพายุหิมะ ทำให้ถนนลื่นมองไม่เห็นทาง
3.4 สภาพดินฟ้าอากาศที่ดี อุบัติเหตุมักเกิดจากสภาพดินฟ้าอากาศที่ดีเสมอ ทั้งนี้เพราะผู้ขับขี่ขับรถด้วยความเร็วสูง และขาดความระมัดระวังอันตราย

สาเหตุจากกฎหมาย กฎหมายมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดอุบัติเหตุ ดังนี้
1. การขาดการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนทุกคนทราบกฎระเบียบ ข้อบังคับ และบทลงโทษ ในการฝ่าฝืนกฎต่างๆ ทำให้ประชาชนขาดจิตสำนักและฝ่าฝืนกฎระเบียบต่างๆ ซึ่งมีผลให้เกิดอุบัติเหตุได้
2. บทลงโทษหรือค่าปรับยังไม่เหมาะสม ทำให้มีการฝ่าฝืนกำจราจร หรือกฎระเบียบต่างๆ อยู่เสมอ
3. การที่กฎหมายมิได้กำหนดเพศ อายุสูงสุดของผู้ขับขี่ รวมทั้งการศึกษาขั้นต่ำของผู้ขับขี่ยวดยานพาหนะ ถึงแม้ว่าผู้ขับขี่จะสอบผ่าน และได้รับใบอนุญาตขับขี่มาแล้ว ก็อาจทำผิดกฎจราจร และทำให้เกิดอุบัติเหตุได้
4. การขากการกวดขัน จับกุม หรือยังไม่จริงจังหรือเข้มงวดในการพิจารณาดำเนินคดีหรือจับกุม ผู้กระทำผิด เป็นสาเหตุให้ขับรถหรือใช้รถใช้ถนนอย่างเสรี ตามอำเภอใจ ซึ่งมักทำให้เกิดอุบัติเหตุ

ประกันภัยรถยนต์, ประกันรถยนต์ ,ประกันชั้น1, โบรกเกอร์, ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส, ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส, ต่อประกันรถยนต์, broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ, ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

อุบัติเหตุทางรถยนต์ สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา แต่ก็มีข้อควรปฏิบัติในการป้องกัน และลดอุบัติเหตุลงได้ดังนี้

หลักปฏิบัติป้องกันอุบัติเหตุ

  • อย่าประมาท
  • อย่าขับรถเร็ว
  • อย่าขับขี่ยานพาหนะขณะเหนื่อยล้า
  • งดสารเสพติดและสิ่งมึนเมา
  • สวมหมวกกันน็อก
  • คาดเข็มนิรภัย
  • ปฏิบัติตามกฎจราจร
  • สัญญาณจราจรที่สำคัญ ควรจดจำ
  • ตรวจเช็คสภาพยานพาหนะ
  • เปิดไฟที่ยานพาหนะบอกสัญญาณ เมื่อต้องเปลี่ยนทิศทาง
  • พยายามหยุดพักบ่อย เมื่อต้องเดินทางไกล
  • หลีกเลี่ยงเส้นทางที่อาจเกิดอุบัติเหตุ
  • มีจิตสำนึกที่ดีในการขับขี่ยานพาหนะ
  • เห็นอกเห็นใจผู้ใช้รถใช้ถนนด้วยกัน
  • เพิ่มความระมัดระวังให้มากขึ้น ขณะขับรถ

แต่เมื่อเราเลี่ยงไมไ่ด้แล้วเกิดอุบัติเหตุขึ้นละ ต้องทำอย่างไร ลองอ่านดูเรามีวิธีมาบอก

ทำอย่างไรเมื่อเกิดอุบัติเหตุ

1. ตั้งสติให้มั่น โทรศัพท์แจ้งบริษัท ประกันภัยรถยนต์ พร้อมจดชื่อผู้รับแจ้ง วัน เวลาทุกครั้ง
2. ขอชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ และทะเบียนรถคู่กรณีทุกครั้ง
3. ท่านควรใช้โทรศัพท์เท่าที่จำเป็นเท่านั้น เพราะเจ้าหน้าที่สำรวจอุบัติเหตุอาจจำเป็นต้องโทรศัพท์หาท่านเพื่อสอบถามราย ละเอียดเส้นทางจากท่าน
4. ถ้าลักษณะอุบัติเหตุไม่แน่ชัด ไม่มีฝ่ายใดยอมรับผิด อย่าเคลื่อนย้ายรถออกจากที่เกิดเหตุ ให้แจ้งเหตุต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจมาตรวจทำเครื่องหมายแสดงตำแหน่งรถทั้งสอง ฝ่ายก่อน หรือเจ้าหน้าที่ตำรวจสั่งแยกถึงจะเคลื่อนรถออกจากที่เกิดเหตุ และไม่ควรยินยอมหรือทำการตกลงใด ๆ ก่อนได้รับคำยินยอมจากเจ้าหน้าที่ของบริษัทประกันภัยรถยนต์
5. รอพนักงานสำรวจอุบัติเหตุหรือเจ้าหน้าที่ตำรวจไปดำเนินการตรวจสอบความเสีย หาย ณ ที่เกิดเหตุ และพนักงานของบริษัท ประกันภัยรถยนต์ จะออกหลักฐานการ จัดซ่อมให้ หรือปฏิบัติตามคำแนะนำของพนักงานรับแจ้งอุบัติเหตุ โดยทุกครั้งจะได้รับเลขที่และชื่อผู้รับแจ้งเหตุเพื่อไว้อ้างอิงในการติดต่อ คราวต่อไป หากมีผู้บาดเจ็บควรนำส่งโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลใกล้เคียงโดยเร็ว
6. เมื่อตรวจสอบแล้วผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายผิด บริษัท ประกันภัยรถยนต์ จะชดใช้ความเสียหายสำหรับรถยนต์ที่เอาประกันภัยและรถยนต์ของคู่กรณี รวมถึงหากมีความบาดเจ็บหรือการสูญเสียชีวิตภายใต้ความคุ้มครองที่ซื้อไว้ หากผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายถูกบริษัทจะชดใช้ความเสียหายของรถยนต์ของผู้เอา ประกันภัยรวมถึงค่ารักษาพยาบาลภายใต้ความคุ้มครองของพระราชบัญญัติคุ้มครอง ผู้ประสบภัยจากรถ ส่วนที่เกินผู้เอาประกันภัยสามารถเรียกร้องได้จากคู่กรณีโดยตรง
7. การซ่อมรถ ก่อนทำการซ่อมผู้เอาประกันภัยจะต้องนำรถไปให้บริษัท ประกันภัยรถยนต์ ตรวจสอบความเสียหาย พร้อมประเมินราคาก่อนซ่อม หากมีอู่ประจำสามารถให้อู่นั้นเสนอราคาพร้อมนำใบเสนอราคามาตกลงค่าซ่อมด้วย การซ่อมอู่นอก ผู้เอาประกันภัยต้องเป็นผู้สำรองจ่ายค่าซ่อมไปก่อน แล้วนำใบเสร็จรับเงินมาแสดงต่อบริษัทเพื่อทำการจ่ายคืนให้ ยกเว้นกรณีอู่นอกนั้นยินยอมรับค่าซ่อมจากบริษัทโดยตรง และให้นำรถมาตรวจสอบ การซ่อมทั้ง 2 กรณี

กรณีเป็นผู้เห็นเหตุการณ์
ผู้เห็นเหตุการณ์ขอให้รีบนำผู้ที่ได้รับบาดเจ็บส่งโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล ที่ใกล้และสะดวกที่สุด เพื่อรับการรักษาโดยเร็ว และไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายโดยแจ้งว่าเป็นผู้บาดเจ็บโดยอุบัติเหตุจาก รถควรตรวจดูว่ารถคันที่ก่อให้เกิดเหตุ มีการ ประกันภัยรถยนต์ หรือไม่มี ประกันภัยรถยนต์ กับบริษัทอะไร เลขที่เท่าใด จำทะเบียนรถ เพื่อที่จะแจ้งกับโรงพยาบาลและบริษัท ประกันภัยรถยนต์ ได้ถูกต้อง

กรณีมีผู้บาดเจ็บ หรือเสียชีวิต
1. ต้องแจ้งบริษัท ประกันภัยรถยนต์ ให้ทราบรายละเอียดและไม่ควรเจรจาตกลงใด ๆ จนกว่าจะได้รับความยินยอมจากบริษัทฯ
2. หากท่านจะต้องถูกควบคุมตัวและซื้อความคุ้มครองประกันตัวในคดีอาญา บริษัท ประกันภัยรถยนต์ จะนำหลักทรัพย์มาประกันตัวท่านโดยเร็ว
3. พนักงานสอบสวนไม่มีสิทธิ์ควบคุมตัวหากไม่มีผู้บาดเจ็บสาหัสต้องรักษาเกิน 20 วัน
4. ช่วยเหลือนำส่งผู้ประสบภัยหรือแจ้งหน่วยกู้ภัยหรือโรงพยาบาล
5. ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามความเหมาะสม

กรณีถูกชนแล้วคู่กรณีหลบหนี
1. จดหมายเลขทะเบียนรถคู่กรณี และบันทึกวัน เวลา และสถานที่เกิดเหตุไว้
2. แจ้งความร้องทุกข์ต่อสถานีตำรวจท้องที่เกิดเหตุ โดยระบุในใบแจ้งความว่า เพื่อดำเนินคดี
3. แจ้งบริษัทประกันภัยรถยนต์ตามปกติ

ข้อมูลสำหรับแจ้ง บริษัทประกันภัยรถยนต์
ควรจัดเตรียมรายละเอียดได้แจ้งเจ้าหน้าที่ของบริษัท ประกันภัยรถยนต์ เพื่อมิให้เกิดความล่าช้า หรือขลุกขลัก ดังต่อไปนี้
1. ชื่อผู้เอาประกันภัย และหมายเลขกรมธรรม์
2. เลขทะเบียน ยี่ห้อ และสีของรถประกัน
3. ชื่อคนขับ และสาเหตุการเกิดโดยย่อ
4. สถานที่เกิดเหตุ จุดที่สังเกตุเห็นได้ชัด และจุดนัดหมาย (กรณีต้องรอเจ้าหน้าที่บริษัท ประกันภัยรถยนต์ )
5. ถามชื่อผู้รับแจ้ง พร้อมเวลาที่แจ้ง

กรณีรถสูญหาย
1. รีบแจ้งให้บริษัท ประกันภัยรถยนต์ ทราบทันที
2. แจ้งศูนย์ป้องกันและปราบปรามการโจรกรรมรถ โทร. 0-2245-9059, 0-2245-6951
3. แจ้ง จส.100 โทร. 1137 หรือแจ้ง ร่วมด้วยช่วยกัน โทร. 1677

อุบัติเหตุเป็นสิ่งที่เกิดขึ้น และสร้างความเสียหายต่อตัวเรา และคนรอบข้างได้มากมาย จนเรานั้นคาดไม่ถึง แต่เราก็สามารถป้องกัน และลดอุบัติเหตุลงได้ โดยใช้คำว่า “ความไม่ประมาท” โดยเริ่มจากตัวเราก่อน แค่นี้อุบัติเหตุบนท้องถนน ก็จะลดลงอย่างมาก แต่เมื่อมันเลี่ยงไม่ได้ และเกิดขึ้นมาแล้ว อีกคำที่ควรท่องไว้ คือ “สติ” เพราะสติสามารถช่วยเราแก้ปัญหา และเอาตัวรอดได้ในที่สุด ด้วยความปราถนาดี จาก asnbroker

ขอขอบคุณ : พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ,บ.เอเอสเอ็น โบรกเกอร์ จำกัด ,PSI ที่เอื้อเฟื้อข้อมูล และภาพมา ณ ที่นี้

เรียบเรียงข้อมูลโดย Asn Broker

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง Asn Broker Blog , Asn Broker Blogspot , Asn Broker Exteen , Asn Broker Wikidot , Asn Broker on WordPress

ขอฝากกิจกรรม ไว้ด้วยนะครับ  กิจกรรม จับ แจก ฟรี ตั๋วหนัง !! 

ดูรายละเอียดกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่ Asn Broker Campaign

ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันชั้น1,โบรกเกอร์,ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส,ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส,ต่อประกันรถยนต์,broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ,ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

 

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s